ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 52' 13.0001"
18.8702778
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 8' 12.0001"
99.1366667
เลขที่ : 181127
หญ้าสาบเสือ
เสนอโดย arporn_v วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 1 มีนาคม 2556
จังหวัด : เชียงใหม่
0 769
รายละเอียด

หญ้าสาบเสือ

สาบเสือ เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่หาง่ายมากมีอยู่ทั่วไป จัดว่าเป็นวัชพืชที่มีสรรพคุณทางยาที่ใช้ประโยชน์ได้ดีที่เดียว เราใช้" ต้นสาบเสือ" เป็นดรรชีชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ เพราะหากอากาศไม่แล้งต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอก สาเหตุที่ได้ชื่อว่า สาบเสือ ก็เพราะว่าดอกของมันไม่มีกลิ่นหอมเลยแต่กลับมีกลิ่นสาบ คนโบราณเวลาหนีสัตว์ร้ายอื่นเข้าดงสาบเสือจะปลอดภัย เพราะสัตว์อื่นนั้นจะไม่ได้กลิ่นคน

สาบเสือ เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายสาบเสือ มีลำต้น สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม

สรรพคุณ

สาบเสือมีสรรพคุณทางยามากมายทั้งจากต้น ใบ ดอก ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

ต้นเป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง แล้วนอกจากนี้ ใบสาบเสือ ยังมีฤทธิ์ พิชิตปลวกได้อีกด้วย

ดอกของสาบเสือ เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้

ทั้งต้น เป็นยาแก้บาดทะยัก และซอยที่ แผล

ปัจจุบันหญ้าสาบเสือเป็นพืชที่ปลูกกันโดยทั่วไป ปลูกได้ทุกพื้นที่ มีประโยชน์ เป็นพืชสมุนไพร
ที่มีประโยชน์ และมีคุณภาพ

นายสัมภาษณ์ ปัญญาวุฒิ อยู่บ้านเลขที่ 192 หมู่ที่ 4 ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นำองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์ของหญ้าสาบเสือเผยแพร่ และใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

หญ้าสาบเสือ

สาบเสือ เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่หาง่ายมากมีอยู่ทั่วไป จัดว่าเป็นวัชพืชที่มีสรรพคุณทางยาที่ใช้ประโยชน์ได้ดีที่เดียว เราใช้" ต้นสาบเสือ" เป็นดรรชีชี้วัดอุณหภูมิความแห้งแล้งของอากาศ เพราะหากอากาศไม่แล้งต้นสาบเสือก็จะไม่ออกดอก สาเหตุที่ได้ชื่อว่า สาบเสือ ก็เพราะว่าดอกของมันไม่มีกลิ่นหอมเลยแต่กลับมีกลิ่นสาบ คนโบราณเวลาหนีสัตว์ร้ายอื่นเข้าดงสาบเสือจะปลอดภัย เพราะสัตว์อื่นนั้นจะไม่ได้กลิ่นคน

สาบเสือ เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขามากมายจนดูเป็นทรงพุ่ม ลำต้นและกิ่งก้านปกคลุม ด้วยขนอ่อนนุ่ม ก้านและใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นแรงคล้ายสาบเสือ มีลำต้น สูง 1-2 เมตร ใบเดี่ยวออกจากลำต้น ที่ข้อ แบบตรงกันข้าม รูปรีค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยมขอบใบ หยัก ปลายใบแหลม ฐานใบกว้าง เรียวสอบเข้าหากัน สีเขียวอ่อน เส้นใบเห็นชัดเจน 3 เส้น มีขนปกคลุม ผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นช่อ สีขาวหรือฟ้าอมม่วง ดอกย่อย 10-35 ดอก ดอกวงนอกบานก่อน กลีบดอก หลอมรวมกันเป็นหลอด ผลขนาดเล็ก รูปร่างเป็น ห้า เหลี่ยมสีน้ำตาลหรือดำ มีหนามแข็งบนเส้นของผล ส่วน ปลายผลมีขนสีขาว ช่วยพยุงให้ผลและเมล็ดปลิวตามลม

สรรพคุณ

สาบเสือมีสรรพคุณทางยามากมายทั้งจากต้น ใบ ดอก ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

ต้นเป็นยาแก้ ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ แก้บวม ดูดหนอง แล้วนอกจากนี้ ใบสาบเสือ ยังมีฤทธิ์ พิชิตปลวกได้อีกด้วย

ดอกของสาบเสือ เป็นยาแก้ร้อนใน กระหายน้ำ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงหัวใจ แก้ไข้

ทั้งต้น เป็นยาแก้บาดทะยัก และซอยที่ แผล

ปัจจุบันหญ้าสาบเสือเป็นพืชที่ปลูกกันโดยทั่วไป ปลูกได้ทุกพื้นที่ มีประโยชน์ เป็นพืชสมุนไพร
ที่มีประโยชน์ และมีคุณภาพ

นายสัมภาษณ์ ปัญญาวุฒิ อยู่บ้านเลขที่ 192 หมู่ที่ 4 ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ นำองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์ของหญ้าสาบเสือเผยแพร่ และใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

คำสำคัญ
หญ้าสาบเสือ
สถานที่ตั้ง
บ้านเลขที่ 192 หมู่ที่ 4 ตำบลเชิ+งดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4 บ้านป่าคา
อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายสัมภาษณ์ ปัญญาวุฒิ
บุคคลอ้างอิง arporn vanispatanagun อีเมล์ arporn_vanis@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน culture office doi saket
เลขที่ 130 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 บ้านเชิงดอย ถนน ดอยสะเก็ด-บ่อสร้าง
อำเภอ ดอยสะเก็ด จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50220
โทรศัพท์ 0818741304
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่