ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 27' 18.1433"
17.4550398
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 28' 6.5096"
104.4684749
เลขที่ : 181545
ประวัติพระธาตุจำปาบ้านเสาเล้า
เสนอโดย nawaculture8 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556
อนุมัติโดย นครพนม วันที่ 2 มีนาคม 2556
จังหวัด : นครพนม
2 3737
รายละเอียด

วัดพระธาตุจำปา ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่๒ บ้านเสาเล้า ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม วัดพระธาตุจำปา พบว่าสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๕๓ โดยการนำของพระดี กตปุญโญ และนายกัญญา ดวงดูสัน พร้อมด้วยชาวบ้านเสาเล้า และหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมกันสร้าง ส่วนองค์พระธาตุจำปานั้น มีหลักฐานการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๘ โดยการนำของพระเม้า ปญฺญาวโร ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ ๗ ปี จึงแล้วเสร็จ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุจำปา จัดเป็นพระธาตุแบบอีสานสมัยรัตนโกสินทร์ องค์พระธาตุก่อด้วยอิฐถือปูน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ฐานกว้างยาวด้านละ ๔.๔๐ เมตร สูงประมาณ ๒๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ทำซุ้มประตูทั้ง ๔ ด้าน ลักษณะพระธาตุเป็นแบบกลุ่มฐานสูง ที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจาก องค์พระธาตุพนม และมีรูปทรงคล้ายกับพระธาตุท่าอุเทนมากที่สุด ต่างกันตรงที่มีขนาดเล็กกว่า ลักษณะของเรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง เรือนธาตุชั้นแรกและชั้นที่ ๒ ประดับด้วยซุ้มประตูหลอกและลายปูนปั้นลงสีอย่างสวยงามทั้ง ๔ ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆัง ทำทรงบัวเหลี่ยมประดับด้วยกระจกสีและลายดอกจอกปูนปั้น ถัดขึ้นไปเป็นแอวขันรองรับส่วนตีนหีบ ที่ยืดสูงคอดเรียวขึ้นไปเป็นลักษณะคล้ายคอขวด โดยระหว่าง ปลียอดและส่วนตีนหีบ คั่นกลางด้วยแอวขัน จากนั้นจึงเป็นส่วนของยอดพระธาตุที่ทำเป็นบัวเหลี่ยมเรียวขึ้นไปสู่ยอดสุดติดกับฉัตร ซึ่งแต่เดิมฉัตรทำด้วยทองเหลือง แต่ถูกฟ้าผ่าเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงได้นำฉัตรเหล็กขึ้นไปใส่ไว้แทน

พระธาตุจำปาเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญกับชุมชนในแถบจังหวัด นครพนม โดยเฉพาะในเขตอำเภอโพนสวรรค์ โดยถือว่าเป็นพระธาตุที่มีความศักดิ์สิทธิ์และ เป็นที่เคารพบูชาเช่นเดียวกับวัดพระธาตุพนม พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณูนคร และพระธาตุประสิทธิ์ วัดธาตุจำปา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๖๙ ง ลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๘ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๘๐ ตรว. องค์พระธาตุจำปา ได้รับการบูรณะซ่อมแซม และเสริมความมั่นคง สง่างาม ตามรูปแบบ เดิม ขององค์พระธาตุ โดยสำนักศิลปากรที่๑๐ ร้อยเอ็ด กระทรวงวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๑ และแล้วเสร็จวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ในปีต่อมา เหตุแห่งการซ่อมแซม เนื่องจากพระธาตุจำปาองค์เดิม มีลักษณะการเอียงตามการทรุดตัวของพื้นดิน และเกิดความเสี่ยงต่อการหักพังลงมา

สำหรับงานนมัสการพระธาตุจำปา ได้ถูกกำหนดจัดให้มีขึ้น ในช่วงระหว่างวันแรม ๓ ค่ำ ถึง แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี รวม ๓ วัน ๒ คืน ซึ่งเดิมนั้นได้มีการจัดงานในลักษณะเช่นนี้ ต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี ในรูปแบบ ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่น และใช้ชื่อว่า“งานสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีนมัสการพระธาตุจำปา”ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ จนถึงปัจจุบัน เพื่อ อนุรักษ์ สืบสาน และดำรงไว้ซึ่ง ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอำเภอโพนสวรรค์ ที่สืบทอด กันมา ที่แสดงออกถึงความรัก สมัครสมานสามัคคี และความศรัทธาของพี่น้อง ชาวอำเภอโพนสวรรค์ ที่มีต่อองค์พระธาตุจำปา ที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมือง ของอำเภอโพนสวรรค์ให้คงอยู่ตลอดไป อีกทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์องค์พระธาตุจำปา ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

หมวดหมู่
เอกสารหนังสือ
สถานที่ตั้ง
วัดธาตุจำปา
หมู่ที่/หมู่บ้าน ๒ เสาเล้า
ตำบล โพนสวรรค์ อำเภอ โพนสวรรค์ จังหวัด นครพนม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
คำกล่าวรายงาน งานนมัสการพระธาตุจำปา
บุคคลอ้างอิง นายสุริยา ธำรงวงศ์วิทย์ อีเมล์ nawaculture8@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครพนม จังหวัด นครพนม รหัสไปรษณีย์ 48000
โทรศัพท์ 0818748304
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่