ฝีหมอบ (EBENACEAE)
ฝีหมอบเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบดกหนาทึบ ลักษณะคล้ายใบ
มะม่วง แต่ใบแคบกว่าแต่ยาว ปลายใบโตค่อนข้างมนเล็กน้อย เปลือกต้นดำ เนื้อไม้สีขาว
เสี้ยนตรงผ่าง่าย คล้ายไม้สัก ไม่สู้แข็ง มีขึ้นตามป่าโปร่ง
ประโยชน์ทางยา
ใบสดโขลกพอกปิดฝี แก้ปวด และอัดเสบถอนพิษ
เนื้อไม้ฝนกับน้ำปูใสทาเกลื่อนฝี ภายในใช้ปรุงเป็นยารับประทาน แก้วัณโรคในลำใส้
และในปอด เป็นยาที่นับถือกันมาแต่โบราณ
เนื้อไม้ แก่นต้มเคี่ยวเอกน้ำจนข้นเป็นยางเหนียวเป็นสีดำ ใส่กระบอกไม้ไผ่ไว้จนเย็น
แห้งแข็ง แล้วผ่ากระบอกเอาเนื้อยามาหั่นเป็นแว่นๆ ใช้ชงกับน้ำร้อนรับประทานมีรสขม
เล็กน้อยและหอมน่ารับประทาน แก้ปวดเมื่อย เจ็บหลัง เจ็บเอว
แก้ปัสสาวะพิการ แก้ไตพิการ แก้กษัย ทำให้รับประทานอาหารมีรส บำรุงธาตุ
สมุนไพรชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว มีชื่อเรียกแตกต่างกัน ดังนี้ ฝีหมอบ ภาคกลาง
ดงคำ ดำดง ดีหมี ภาคเหนือ พญารากดำ ไม้ชายแดน เวียงจันทร์ พญารากเดียว เพชรบุรี