ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 18' 16.3472"
17.3045409
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 52' 40.2701"
103.8778528
เลขที่ : 183672
พิธีแห่งความตายของชาวบรู
เสนอโดย parichattt วันที่ 12 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย สกลนคร วันที่ 12 มีนาคม 2556
จังหวัด : สกลนคร
0 444
รายละเอียด
ความเชื่อ พิธีกรรม ชาติพันธุ์บรู(2)

บทนำ

น.ส.ระวีวรรณ เขมชาติ เป็นนักเรียนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้สนใจค้นคว้าเรื่อง พิธีแห่งความตายของชาวบรู ในรายวิชาวิชาวัฒนธรรมแอ่งสกลนคร ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่หาดูยากแล้วในปัจจุบัน

การตาย

ชาวบรู มีฮีตประเพณีที่เป็นแบบแผนถือปฏิบัติติดต่อกันมาแต่โบราณเป็นของตนเอง คือพิธีน๋ชองอะร่วายหรือพิธีกรรมศพนายเยี่ยม ฮุงหวล อายุ ๕๑ ปี ผู้ใหญ่บ้านหนองไฮใหญ่เป็นบุคคลหนึ่งที่ยังนับถือผีบรรพบุรุษอยู่ และมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพิธีกรรมศพของชาวบรูได้เล่าความเป็นมาของพิธีกรรมศพนี้ว่าบรรพบุรุษชาวบรู ได้พบเห็นลิงฝูงหนึ่ง กำลังทำพิธีส่งวิญญาณของลิงในฝูงที่ตาย โดยการนำขึ้นไปวางไว้บนจอมปลวก แล้วพากันเดินรอบ ๆ ลิงที่ตายนั้น ชาวบรูจึงได้นำพิธีกรรมนี้ถือปฏิบัติติดต่อกันมา

พิธีกรรมศพของชาวบรู เมื่อมีญาติเสียชีวิตลงในครอบครัว จะไม่นิมนต์พระสงฆ์ขึ้นบ้านนิยมประกอบพิธีกรรมของชาวบรูเฉพาะ เรียกตามภาษาถิ่นว่า “เลียบ” เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วจะนำศพไปฝัง ชาวบรูมีการประกอบพิธีกรรม ๓ วัน ๓ คืน และผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมนั้น จะต้องเป็นลูกเขยห่าง ๆ ในครอบครัว ไม่นิยมนำเอาเขยที่มีความใกล้ชิดมาประกอบพิธี ถ้าหากเขยคนใดไม่กล้าที่จะร่วมพิธีกรรมนี้ก็สามารถว่าจ้างคนอื่นลงประกอบพิธีกรรมแทนตนเองได้ และจะต้องประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วายจนแล้วเสร็จ

การประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วายชาวบรู มีอยู่ ๒ แบบ คือ

แบบที่ ๑ การประกอบพิธีกรรมเสียชีวิตจากสาเหตุป่วย-ไข้ตามปกติ

แบบที่ ๒ การประกอบพิธีกรรมเสียชีวิตสาเหตุการตายจากอุบัติเหตุ

การประกอบพิธีกรรมศพ หรือ น๋ชองอะร่าย ซึ่งเรียกตามภาษาถิ่นบรูว่า “การเลียบ” มีดังนี้

ดอกไม้ เทียน ขันธ์ห้า ขันธ์แปด หอก ตุ๊กแก ฟาน ไข่ฟาน นกสะไหล่ ผมส้มป่อย กระหยัง ใช้บรรจุอุปกรณ์ เช่น ข้าวสาร เป็นต้น กระหย่อง เพื่อนำมาใส่ดอกไม้ เทียน กระบวยตักน้ำ ผ้าขาว โลงศพ รังผึ้ง บั้งทีง (กระบอกไม้ไผ่ใช้บรรจุน้ำดื่ม) น้ำเต้าปุง (ใช้บรรจุน้ำดื่ม) เหล้าไห หรือ เหล้าขาว พังฮาด เสียม ๑ คู่ กระบอกไม้ไผ่ ๑ คู่ มีความยาวประมาณ ๓๐ ซม. ตูบหรือเพิงหญ้า สำหรับที่พักศพในการประกอบพิธีกรรม ไพหญ้าคา ๕ ก้าน

ชาวบรู มีความเชื่อว่า เมื่อมีตุ๊กแกมาจับที่บ้าน ฟานฟักไข่ (กกไข่) ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนและนกสะไหล่บินมาจับหลังคาเรือน ถือว่าไม่เป็นมงคล อาจมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้น และทรัพย์สินในครอบครัวตนเอง

ขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วาย

แบบที่ ๑จะนำศพบรรจุไว้ในโลงศพที่ทำด้วยไม้ นำผ้าฝ้ายด้ายดิบสีขาวนำมาปกปิดไว้บนฝาโลงศพ เสร็จแล้วจ้ำจะทำพิธีขอขมา เมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะเคลื่อนย้ายโลงศพที่อยู่บนบ้านลงมาวางไว้ที่พักศพ บริเวณชายคาใต้ถุนบ้านที่สร้างเป็นที่พักศพไว้แล้ว โดยการวางโลงศพผู้เสียชีวิตให้ขวางทางโคจรของดวงอาทิตย์ ภาษาถิ่นเรียกว่า “ขวางตะเว็น” เมื่อเรียบร้อยแล้วก็จะเริ่มประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วาย (การเลียบศพ) ด้วยการใช้บทสวดเป็นสำเนียงภาษาบรู คือ ก่ำจ็อมน๋ชองอะร่วาย และเรียกการสวดนี้ว่า “การจิเนิด”

ขั้นตอนการเลียบศพ

การเลียบศพผู้เสียชีวิตปกติ จะมีการเลียบศพ ๓ ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑การคารวะศพ (ขอขมาศพ)

ขั้นตอนประกอบพิธีกรรมศพ แบบที่ ๒

พิธีกรรมศพ แบบที่ ๒ เมื่อมีญาติถึงแก่กรรม จากอุบัติเหตุหรือ เรียกว่า “ตายโหง” ชาวบรูจะนำศพไปฝังที่ป่าช้าทันที ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ถ้าถึงแก่กรรมที่ป่าก็จะทำการฝังทันทีจะไม่นำศพเข้าบ้านเมื่อผ่านไปแล้ว ๓ วัน ชาวบรูจะประกอบพิธีศพ โดยไม่มีโลงศพ แต่จะต้องเตรียมจัดทำวัสดุ อุปกรณ์ สิ่งของที่ต้องใช้ เหมือนกับพิธีน๋ชองอะร่วายแบบที่ ๑ และเพิ่มอุปกรณ์สำคัญ ดังนี้ หุ่นฟางหญ้าคา ใช้แทนคนตายโดยการเขียนรูปหน้าตาให้เรียบร้อย ผ้าขาวใช้ปกปิดหุ่นศพ สำรับกับข้าว (พาข้าว) ๑ พา ไม้ไผ่สับฟาก ยาวประมาณ ๑ เมตร ใช้ปูทำเป็นโลงศพแทนโลงศพจริง และจัดทำเป็นที่พักศพลักษณะหลังคาจั่ว หลังเล็ก ๆ

การประกอบพิธีกรรมศพ แบบที่ ๒ ใช้ในกรณีที่ผีผู้ตายมีความประสงค์ต้องที่จะมาอยู่กับลูกหลาน ญาติผู้ตายจึงต้องทำพิธีโดยนำถ้วยกระเบื้อง หรือถ้วยกาไก่ที่แตกแล้วจำนวน ๓-๕ ชิ้น และถ้วย ๑ ใบ นำไปฝังไว้ที่ใดที่หนึ่งตามต้องการ แต่ไม่ให้ฝังไว้ที่ป่าช้า ก่อนฝังจะต้อง “สิบหัวขาว ซาวหัวหงอก” บอกกล่าวก่อนประมาณ ๑๐- ๒๐ คน แต่งขันธ์ ๕ ไก่สุก ๑ ตัว ก่อน ดังนั้น การประกอบพิธีกรรมศพ แบบที่ ๒ นี้ ยังมีส่วนแตกต่างของอุปกรณ์ด้วย ขั้นแรก ลูกเขยผู้ประกอบพิธีกรรมการเลียบศพ ต้อง นำพาข้าว จำนวน ๑ พา กระหยังบรรจุสิ่งของ ดอกไม้ เทียน ข้าวสาร เหล้าขาว หรือ เหล้าไห น้ำเปล่า หอก น้ำส้มป่อย เทียน ๑ คู่ มัดติดไว้ที่ปลายหอก กระบอกไม้ไผ่ ๑ คู่ ยาวประมาณ ๑๐ ซม. มัดติดว้าข้างหอกเพื่อใช้บรรจุ น้ำอบสำหรับรดกระดูกผู้ตาย เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ สิ่งของพร้อมแล้วจึงจัดขบวนแห่ไปยังที่ฝังถ้วยกระเบื้อง เมื่อถึงแล้วจัดพาข้าวให้คนตายกิน หลังจากนั้นจึงขุดเอาถ้วยกระเบื้อง หรือถ้วยกาไก่ที่ใช้สมมติแทนกระดูกผู้ตายจริงขึ้นมา รดด้วยน้ำอบ น้ำหอมที่เตรียมมาให้สะอาด ห่อด้วยผ้าขาวแล้วบรรจุไว้ในกระหยัง เมื่อเรียบร้อยแล้วแห่กลับมายังบ้าน จัดพาข้าวให้เขยได้รับประทานซึ่งใช้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะบรรจุอาหาร เพื่อประกอบพิธีกรรมน๋ชองอะร่วาย หรือการเลียบศพ เหมือนกับคนตายปกติ

เส้นทางการขึ้นสวรรค์ของชาวบรู

๑.การบอกทางของผู้ทำดี

ชาวบรู มีความเชื่อกันว่า ในขณะที่ประกอบพิธีกรรมศพนั้น ผู้ประกอบพิธีจะบอกทางไปสู่สวรรค์ จะได้ไปเกิดใหม่ จะต้องผ่านหินกระทบกัน (ภูเขา) จะเป็นช่วงเวลาที่หินเปิดออก หรือหินแยกออกจากกัน จะมองเห็นทางไปเกิด หรือทางขึ้นสวรรค์ ดังนั้น เมื่อวิญญาณของผู้ตายพบเห็นแล้วให้รีบผ่านเลยเข้าไปทันที

๒.ทางแห่งการทำชั่ว

ชาวบรู คนใดที่มีความประพฤติไม่ดี ชาวบรูเชื่อกันว่าจะไม่สามารถผ่านเข้าไปเกิดใหม่หรือขึ้นสวรรค์ได้ เพราะจะโดนหินกระทบวิญญาณแตกดับก่อน

สถานที่ ศึกษา บ.หินแตก ต.ไร่ อ.พรรณานิคมจ.สกลนคร

สถานที่ตั้ง
บ้านหินแตก
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ไร่ อำเภอ พรรณานิคม จังหวัด สกลนคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
น.ส.ระวีวรรณ เขมชาติ
บุคคลอ้างอิง นางสาวปาริชาติ สุวรรณเวียง อีเมล์ pot2524@hotmail.co.th
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสกลนคร อีเมล์ sakon.culture@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ธาตุเชิงชุม อำเภอ เมืองสกลนคร จังหวัด สกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47000
โทรศัพท์ 042716247 โทรสาร 042716214
เว็บไซต์ http://province.m-culture.go.th/sakonnakhon
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่