วัดราษฎร์บำรุง
ประวัติความเป็นมาของวัด
วัดราษฎร์บำรุง เดิมเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา และต่อมาได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ครั้นถึงประมาณปี พ.ศ.2435 ได้จัดการสร้างขึ้นมาใหม่โดยมีขันขจร(บุญ) เป็นกำนัน และตำแหน่งสุดท้ายเป็นกลัดกิ่งอำเภอตาคลี ได้บริจาคที่ดินเพิ่มเตอมให้สร้างวัด หลวงพ่อเขียนเป็นประธานในการสร้างวัด ต่อมาถึงสมัยหลวงพ่อเรือง (หม่อมเรือง) เป็นเจ้าอาวาสได้ตั้งนามวัดนี้ว่า “วัดบางตาเซต” เนื่องจากบิดาของขุนขจร ชื่อ “เชต” ได้อาศัยบริเวณแถวนี้เลี้ยงวัวจำนวนมาก มีท่าน้ำวัดที่วัวลงกินน้ำ กลายเป็นบาง(ลำคลอง) ประชาชนจึงเรียกว่า “บางตาเซต” ครั้นขุนขจรได้ออกจากราชการแล้ว ได้อุปสมบทและได้เป็นเจ้าอาวาสในเวลาต่อมาชาวบ้านก็เรียกนามวัดว่า “วัดราษฎร์บูรณะประชุมธรรม”แต่เป็นนามที่ยาวจึงได้เปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง เป็น “วัดราษฎร์บำรุง” ใช้มาจนถึงปัจจุบัน วัดราษฎร์บำรุงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งหลังเมื่อ วันที่ 78 ตุลาคม พ.ศ.2508 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร ได้ผูกพัทธสีมา วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๑ ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ.๒๔๘๘
ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญ
อุโบสถกว้าง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐
วิหารกว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๘ เมตร มีลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก
ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๒๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ จัตุรมุข ๒ ชั้น
กุฏิสงฆ์จำนวน ๖ หลัง เป็นอาคารไม้
หอสวดมนต์กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ มีลักษณะเป็นอาคารไม้
กุฏิกรรมฐานจำนวน ๑๓ หลัง
การบริหารและการปกครอง
นับตั้งแต่ได้สร้างวัดแล้วเสร็จ มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา และเจ้าอาวาสปกครองวัด คือ
๑. หลวงพ่อเขียน
๒. หลวงพ่อเรือง
๓. หลวงพ่อมี
๔. หลวงพ่อขจร (บุญ)
๕. หลวงพ่อมา
๖. พระอาจารย์หอม
๗. พระอาจารย์เช้า
๘. พระอาจารย์ผัน
๙. พระครูวิมล ลีลาภิรัต
๑๐. พระอธิการชูเกียรติ โชติปาโล
๑๑. พระธนิต เขมรโส (ปัจจุบัน)