ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 40' 38.5453"
16.6773737
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 17' 30.5437"
102.2918177
เลขที่ : 184347
เห็ดไค
เสนอโดย action วันที่ 17 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 21 มีนาคม 2556
จังหวัด : ขอนแก่น
0 715
รายละเอียด

เห็ดไค

เห็ดไค มีลักษณะ คล้ายเห็ดก่อ ดอกใหญ่แข็งและกรอบ มีสีขาวปนเทา เวลาย่างจะมีกลิ่นหอม ชอบขึ้นตามป่าที่เปียกชื่นเวลาฝนตกใหม่ๆแหล่งธรรมชาติชุมชนท้องถิ่นต่างๆส่วนมากทางภาคอีสาน เห็ดไคส่วนมากนิยมมาประกอบอาหารทางอีสานเรียกว่า เห็ดไค ทางเหนือเรียกเห็ดหล่ม ทางภาคกลางเรียกเห็ดตะไคร เป็นสิ่งเกิดโดยธรรมชาิติคนท้องถิ่นเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะแก้โรคต่างๆได้มากมายตามความเชื่อของคนโบราณซึ่งได้ชืบทอดกันมาลักษณะทางพฤกษศาตร์
ดอกเห็ดอ่อนสีขาวนวล ผิวหมวกเห็ดเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-15 ซม. เมื่อบานรูปร่างคล้ายกรวย ตรงกลางหมวกเว้าลงเล็กน้อย สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเนื้อ เนื้อหมวกหนาด้านล่างหมวกมีครีบเรียงกันเป็นรัศมี ก้านดอกมีลักษณะกลมใหญ่ โคนก้านดอกเรียวเล็กกว่าด้านบนเล็กน้อย ผิวด้านนอกสีขาวนวลและเรียบ เมื่อกระทบแสงไฟในตอนกลางคืนจะเรืองแสง

วิธีทำซุปเห็ดไค หรือแจ่วเห็ดไค
1. นำเห็ดไคมาล้างให้สะอาด แกะดินออกให้หมดนะ ไม่งั้นจะได้กินทรายที่ติดมากับเห็ด มันสิเข็ดแข่ว
2. นำเห็ดไปย่างไฟให้สุดพอเหลืองๆ (อาจเกรียมขอบเล็กน้อย)
3. นำพริกขี้หนูสดๆ เผาไฟให้สุกพอหอม
4. โขลกพริกขี้หนูให้ละเอียด เสร็จแล้วนำเห็ดไคที่ย่างไฟเตรียมไว้ลงไปโขลกให้ละเอียดด้วยเช่นกัน
5. ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า, น้ำปลาร้า, แป้งนัว (แป้งนัว = ผงชูรส)(บางสูตรอาจใส่เนื้อปลาช่อนไปด้วย)
6. ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมกับข้าวเหนียวร้อนๆ ลวกผัก และผัก

คำสำคัญ
เห็ดไค
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ป่าชุมชนบ้านหนองคู อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน 15 บ้านหนองคู ซอย - ถนน -
ตำบล ในเมือง อำเภอ ภูเวียง จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายกิตติศักดิ์ เวียงคำ
บุคคลอ้างอิง ทินกร บรรพรหม อีเมล์ action2502@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สวจ.ขอนแก่น
หมู่ที่/หมู่บ้าน 15 บ้านหนองคู ซอย - ถนน -
ตำบล ในเมือง อำเภอ ภูเวียง จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40150
โทรศัพท์ 081-8747162
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่