ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 46' 36.0001"
18.7766667
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 58' 12"
99.9700000
เลขที่ : 184557
นางกัลยา ขวัญธนเกตุ บุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
เสนอโดย chira11 วันที่ 19 มีนาคม 2556
อนุมัติโดย ลำปาง วันที่ 3 มีนาคม 2565
จังหวัด : ลำปาง
0 415
รายละเอียด

๑.๑ ชื่อ นางกัลยา ขวัญธนาเกตุ บุคคลที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

ที่อยู่บ้านเลขที่ ๔๙ หมู่ที่ ๖ ตำบล นาแก อำเภอ งาว จังหวัดลำปาง

รหัสไปรษณีย์๕๒๑๑๐

๒. ข้อมูลภูมิปัญญา

๒.๑ ชื่อข้อมูลภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม(การทอผ้า)

๒.๒ ความรู้ความสามารถทอผ้า เช่น เสื้อ ผ้าถุง ผ้าโพกหัว ผ้าคลุมไหล่ ถุงย่าม ชุด

๒.๓ วัสดุ/วัตถุดิบ/สื่อ/อุปกรณ์สำหรับการผลิตผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น

๑. ทาลู (ที่สำหรับเดินด้าย)

๒. ทะทิ (ที่สำหรับหนีบผ้า)

๓. ทะแพะ ( ที่สำหรับทำให้ด้ายแน่นขึ้น)

๔. ทาโค่โพ (ที่สำหรับข้องด้าย)

๕.กลุโค่ (ใช้สำหรับดึงผ้าให้ตึง และการเปลี่ยนลวดลาย)

๖. กือฉุย (ใช้พันด้าย)

๗.ย่อแข่ว (ที่คล้องเอว)

๘. ทาเบอะ (ที่ติดตั้งการเดินด้าย)

๙. ท่าโค่ (ขาตั้งสำหรับที่วางด้าย)

๑๐.ที่ปั่นด้าย ๑๑.ด้ายสำหรับใช้ทอผ้า

๒.๔ ขั้นตอนการทอผ้ากี่เอว

๒.๔๑ คล้องด้ายที่หลักที่ ๑ และสาวด้ายทั้งหมดผ่านหลักที่ ๒,๓,๔ และ ๕ นำไป

คล้องหลัก ที่ ๖ และสาวกลับมาคล้องหลักที่ ๑

๒.๔.๒ ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกันและนำมาพันรอบหลักที่ ๒ ตามแนวเข็มนาฬิกา

๒.๔.๓ ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงเสมอกันมาทางด้านหน้าหลักที่ ๓ ซึ่งเป็นจุดแยกได้ โดย

ใช้ด้ายอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นด้ายตะกอสอดเข้าไประหว่างด้ายที่แยกเป็น ๒ ส่วนเท่า ๆ กัน ด้ายส่วนที่ไม่ได้คล้องกับตะกอแยกผ่านด้านหลังหลักที่ ๔ และส่วน ที่คล้อง ตะกอดึงผ่านด้านหน้าหลักที่ ๔

๒.๔๔ รวบด้ายทั้งสองส่วนเข้าด้วยกัน ดึงให้ตึงสาวพันอ้อมหลักที่ ๕ ตามแนวเข็มนาฬิกา

๒.๔.๕ ดึงด้ายทั้งหมดให้ตึงพันอ้อมหลักที่ ๖ และสาวให้ตึง ดึงกลับมาเริ่มต้นที่หลักที่ ๑ ใหม่หากต้องการสลับสี ก็เปลี่ยนด้ายกลุ่มใหม่เป็นสีที่ต้องการ โดยเริ่มตั้งแต่หลักที่หนึ่ง เช่นกัน ทำหมุนเวียนไปเช่นนี้เรื่อย ๆ จนด้ายที่เรียงมีความสูงเท่ากับความกว้างของผ้า ที่ต้องการใช้

๒.๔.๖ ถอดไม้ทั้งหมดออกจากไม้ขึ้นเครื่องทอ และนำไม้หน่อสะยาสอดเข้าไป เก็บตะกอแทนไม้กลูโข่ (หลักที่ ๖) ซึ่งต้องใช้สำหรับช่วยแยกด้ายเวลาทอ เมื่อเสร็จเรียบร้อย แล้วทอจะมีลักษณะดังภาพ จากนั้นนำเครื่องทอทางด้านไม้รั้งผ้าไปผูกยึดกับฝา หรือ เสาระเบียงบ้าน โดยให้ได้ระดับความสูงประมาณศีรษะของผู้ทอขณะที่นั่งราบกับพื้น ส่วนทางด้านไม้พันผ้า นำแผ่นหนังมาอ้อมรอบเอวด้านหลังของผู้ทอ และผูกรั้งหัวท้ายกับปลายทั้งสองของไม้พันผ้า พร้อมกับดึงเครื่องทอให้ตึงพอประมาณ โดยผู้ทอกระเถิบถอยหลังนั่งในตำแหน่งที่เหมาะสม

๒.๕ ประโยชน์/คุณค่าของภูมิปัญญาและของผลงาน

ทำให้มีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลัก นำไปจำหน่าย ในงานต่าง

สถานที่ตั้ง
บ้านสันติสุข
หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล นาแก อำเภอ งาว จังหวัด ลำปาง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นายคำมา ขวัญธนาเกตุ
บุคคลอ้างอิง ภานุพงษ์ หมื่นภิรมย์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง อีเมล์ culture_lampang@hotmail.com
เลขที่ 409 หมู่ที่/หมู่บ้าน 3 ถนน พระเจ้าทันใจ
ตำบล ต้นธงชัย อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง รหัสไปรษณีย์ 52000
โทรศัพท์ 0 5422 8763 โทรสาร 0 5482 4182
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/lampang/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่