เริ่มแรกความเป็นมา ซึ่งมี นายด่อน อาจนุการ เข้ามาตั้งรากฐานตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ซึ่งได้พาครอบครัว มาด้วยและได้มาประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อหาเลี้ยงครอบครัวของตัวเองนับแต่นั้นมาได้มีครอบครัวจากจังหวัดต่างๆ เข้ามาอาศัยอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งถึงปัจจุบันจนได้ตั้งเป็นหมู่บ้าน และตั้งชื่อว่าหมู่บ้านพรสวรรค์ โดยได้ทำเรื่องขอจัดตั้งหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบัน มี นายคณาวุฒิ โสชีวิต เป็นผู้ใหญ่บ้าน
หมู่บ้านพรสวรรค์ มีพื้นที่ทั้งหมด 1,710 ไร่ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัด 1 แห่ง ได้แก่ วัดพรสวรรค์ มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านพรสวรรค์ ทักษะฝีมือแรงงานของหมู่บ้าน ได้แก่ การทอผ้า/มัดหมี่/ หมอนขิด และจักสาน
ประเพณีวัฒนธรรมในหมู่บ้าน ได้แก่ ประเพณีสู่ขวัญข้าว ประจำปี จัดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี ประเพณีบุญบั้งไฟ ประจำปี ในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ประเพณีแห่เทียนพรรษา จัดในเดือนสิงหาคมของทุกปีประเพณีสงกรานต์ จัดในเดือนเมษายนของทุกปี ประเพณีออกพรรษา จัดในเดือนตุลาคมของทุกปี และประเพณีอื่นๆ เช่น ทำบุญตักบาตร (ทุกวันพระ) และทุกเทศกาลต่างๆ
กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้าน ดังนี้
1. กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ (ไหม/ฝ้าย) ชื่อประธานกลุ่มฯ นาง ลำไพ ฉันคนุช
2. กลุ่มนวดแผนโบราณ ชื่อประธานกลุ่มฯ นางวิจิตร ศรีกุล
3. กลุ่มโคนม ชื่อประธานกลุ่มฯ นายมนูญ โพธิตะนิมิตร
4. กลุ่มโคเนื้อ ชื่อประธานกลุ่มฯ นายประยูร โพธิตะนิมิตร
5. กลุ่มเลี้ยงไก่ ชื่อประธานกลุ่มฯ นายคำซาว จำปาคำ
ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์ทอผ้าไหมมัดหมี่ (ไหม/ฝ้าย) ผลิตโดย กลุ่ม นางลำไพ ฉันคนุช
2. ผลิตภัณฑ์ทอผ้าไหมมัดหมี่ ผลิตโดย กลุ่ม นางเสงี่ยม หงษ์วิไล
3. ผลิตภัณฑ์หมอนขิด ผลิตโดย นางทองสอน คำนิมิต
4. ผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก ผลิตโดย นางเคน แสนอ่อนพุธ
5. ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ผลิตโดย กลุ่ม นายสังวาลย์ โพธิตะนิมิต
6. ผลิตภัณฑ์นมโคสด ผลิตโดย กลุ่มโคนม