ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 2' 47.76"
15.04660
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 13' 55.092"
101.23197
เลขที่ : 187584
พระบรมสารีริกธาตุ
เสนอโดย Boonruen วันที่ 10 เมษายน 2556
อนุมัติโดย ลพบุรี วันที่ 13 มีนาคม 2567
จังหวัด : ลพบุรี
0 202
รายละเอียด

พระบรมสารีริกธาตุ

พระบรมสารีริกธาตุ ปัจจุบันอยู่วัดซับจำปา หมู่ที่ 1 ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี

ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราชโดยสมเด็จพระวันรัต เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เป็นผู้แทนการมอบ

ให้กับทุกอำเภอทั่วประเทศ เพื่อจะได้นำไปให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้ บูชา และอยู่ในความดูแลของเจ้าคณะอำเภอท่าหลวง

ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ

เหตุที่เกิดพระบรมสารีริกธาตุจำนวนมากขึ้นนั้น พระโบราณาจารย์อธิบายว่า เกิดจากพุทธประสงค์ ก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ดังต่อไปนี้

โดยปกติที่พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จะมีพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียวดุจทองแท่งธรรมชาติ ซึ่งมหาชนในสมัยนั้นไม่สามารถแบ่งปัน นำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆได้ จึงจำต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในที่แห่งเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (พระสมณโคดม) ทรงเล็งเห็นว่า พระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ศาสนาของพระองค์ยังไม่แพร่หลาย และหมู่สัตว์ทั้งหลายเกิดมาไม่ทันสมัยพระองค์มีมากนักหากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฎฐากบูชา จะได้บุญกุศลเป็นอันมากจึงทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน เว้นแต่ธาตุทั้ง 7 ประการ คือ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) 1 พระเขี้ยวแก้ว 4 และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 นอกจากนั้นให้กระจายไปทั่วทิศานุทิศ เพื่อยังประโยชน์ แก่หมู่สัตว์ทั่วไป ซึ่งความทั้งหมดพ้องกันจากตำราหลายๆ ตำราที่พระอาจารย์สมัยต่างๆได้รจนาไว้ ดังเช่น "อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี" "ปฐมสมโพธิกถา" ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส "ตำนานมูลศาสนา" "ชินกาลมาลีปกรณ์" และ "พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก" เป็นต้น

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ

คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้

1. มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ

2. มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใสฯลฯ

3. หากมีขนาดเล็ก มักลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ

4. สามารถเสด็จมาเพิ่ม จำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะ เฉพาะของพระธาตุ

5. เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้ ส่วนมากมักมี น้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด

วิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

การจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นก่อนอื่นต้องชำระล้างร่างกาย ทำจิตใจให้สะอาดผ่องใส จัดหาดอกมะลิใส่ภาชนะบูชาตั้งสักการะ ณ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วจุดธูปและเทียน ตั้งใจให้เป็นสมาธิ กราบ 3 ครั้ง แล้วจึงตั้งนะโม 3 จบ กล่าวคำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

คำกล่าวบูชาพระบรมสารีริกธาตุมีอยู่มากมายทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย แต่ที่พบเห็นกันอยู่โดยทั่วไป และกระทำได้โดยง่ายนั้นคือ คำกล่าวพรรณนาพระบรมสารีริกธาตุ

"อะหัง วันทามิ ทูระโต อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส "

สถานที่ตั้ง
วัดซับจำปา
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล ซับจำปา อำเภอ ท่าหลวง จังหวัด ลพบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางบุญเรือน เผ่าเพ็ง
บุคคลอ้างอิง นางบุญเรือน เผ่าเพ็ง อีเมล์ Paowpeng2540@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สนง.วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี(อำเภอท่าหลวง)
หมู่ที่/หมู่บ้าน 4
ตำบล ท่าหลวง อำเภอ ท่าหลวง จังหวัด ลพบุรี รหัสไปรษณีย์ 15230
โทรศัพท์ 082-2333043
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่