ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 32' 39.5358"
16.5443155
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 5' 58.5222"
102.0995895
เลขที่ : 187720
สมุนไพรพื้นบ้านดอกพวงชมพู
เสนอโดย sukanda วันที่ 16 เมษายน 2556
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 17 เมษายน 2556
จังหวัด : ขอนแก่น
3 9112
รายละเอียด

ดอกพวงชมพูลักษณะทั่วไป:พวงชมพู เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก มีมือเกาะสำหรับเกี่ยวกิ่งอื่นเพื่อการทรงตัว และสามารถเลื้อยพันเกาะเกี่ยวสิ่งต่างๆได้ มีสีชมพูและสีขาว

ต้นไม้เลื้อยที่มีเถาอ่อนแต่ตรงส่วนโคนจะแข็งแรงมาก เถาจะทอดได้ยาวและเร็ว ลำเถามีสีเขียวอ่อน
ใบใบดกมากเป็นใบเดี่ยวออกทแยงขึ้นไปตามลำเถา ลักษณะคล้ายใบโพธิ์ เนื้อใบบางเห็นเส้นใบได้ชัดมีสีแดงเรื่อๆ
ดอกเป็นรูปหัวใจเล็กๆ บางทีก็มีสีขาว บางทีก็มีสีชมพู แก่บ้างอ่อนบ้าง ตรงปลายช่อมักจะยืดตัวใบเป็นมือเกาะเกี่ยวสิ่งอื่นๆ เพื่อเป็นการพยุงตัว ออกดอกตลอดปี มักจะมีดอกดกมากในฤดูแล้ง คือในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี

พวงชมพูสีขาวส่วนที่ใช้ :ราก และเถา
พวงชมพูสีขาวสรรพคุณ: วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้เถา 1 กำมือ หรือราก 1/2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 3 ช้อนแกง ก่อนนอน
พวงชมพูสีชมพูสรรพคุณทางทางยา/การใช้ประโยชน์: รากสามารถนำมาสกัดเป็นยากล่อมประสาท เมื่อดื่มกินเข้าไปแล้วทำให้นอนหลับง่าย-หลับสบาย

สรรพคุณทางสมุนไพร/ส่วนที่ใช้บริโภค: ดอกมีวิตามินเอ ช่วยในการบำรุง สายตา ยอดอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก ดอกกินสดหรือชุบแป้งทอด ลวกจิ้มน้ำพริกกินกับข้าวได้ และ ยังเป็นไม้ประดับอยู่ตามริมรั้ว หรือตามสวนในบ้าน

สถานที่ตั้ง
บ.นครชัย ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
เลขที่ 149 หมู่ที่/หมู่บ้าน ม.18 บ.นครชัย ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ซอย พัฒนา 2 ถนน มลิวรรณ
ตำบล ชุมแพ อำเภอ ชุมแพ จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://www.esaanlandreformnews.com /http://www.nanagarden.com
บุคคลอ้างอิง สุกานดา เดชวิชิตชัย อีเมล์ sukanda948@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอชุมแพ
หมู่ที่/หมู่บ้าน ม.1 ที่ว่าการอำเภอชุมแพ ต.ชุมแพ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ถนน มลิวรรณ
ตำบล ชุมแพ อำเภอ ชุมแพ จังหวัด ขอนแก่น รหัสไปรษณีย์ 40130
โทรศัพท์ 081-8746980 โทรสาร 043-311300
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่