ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 42' 0.8546"
16.7002374
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 32' 7.4972"
98.5354159
เลขที่ : 18839
ต้นไม้หยก
เสนอโดย Manop Chuenphakdi วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554
อนุมัติโดย virach วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554
จังหวัด : ตาก
1 1799
รายละเอียด
หยก เป็นหินชนิดหนึ่งมีหลายสีที่นิยมคือ สีเขียว มีคุณสมบัติที่ดีในหลายๆด้าน คนจีนจะนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ภาชนะต่างๆ เครื่องรางเพื่อป้องกันตัวและแกะสลักเป็นรูปวัตถุมงคลต่างๆ เช่น ปีเซียะ กิเลน สิงโต พระพุทธรูป เจ้าแม่กวนอิม กำไล แหวน สร้อยคอ ฯลฯ หยก ได้ชื่อว่าเป็นอัญมณีจากสวรรค์ เชื่อว่าหยกมีพลังเร้นลับสามารถผลักดันความเป็นศิริมงคลมาให้แก่ผู้บูชา ซึ่งสืบทอดความเชื่อนี้มาแต่โบราณ ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ประมาณ ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในสมัยพระนางซูสีไทเฮา ก็ได้ทำชุดหยกขึ้นไว้เตรียมใส่ในวันสวรรคต เพราะเชื่อว่าหยกนั้นจะได้รักษาร่างกายไม่ให้เน่าเปื่อยเนื่องจากหยกจะดูดซับความเย็นเอาไว้ ชุดหยกที่พระนางซูสีไทเฮาใส่นั้น มีทั้งหมวกคลุมศีรษะ ชุดทั้งตัว มีถุงมือ รองเท้าด้วย ซึ่งตอนนี้ชุดหยกได้แสดงไว้ที่กรุงปักกิ่งในร้านหยก ชนิดของหยก หยกมี ๒ ชนิด คือ เจไดต์ และ เนไฟรด์ ซึ่งหยกมีความแข็งแกร่ง เนื้อละเอียดสวยงาม เหมาะสำหรับแกะสลักเป็นรูปต่างๆ เช่น เนไฟรด์ในโบราณนิยมนำมาแกะเป็นอาวุธและแกะเป็นรูปมังกร ถือว่าเป็นเครื่องนำโชค ได้มีการพบหยกเจไดต์จากแคว้นคะฉิ่นในพม่าตอนเหนือติดกับจีน หยกเจไดต์มีหลายสีคือ เขียว ม่วงลาเวนเดอร์ ชมพู ฟ้า สีส้มอมเหลือง ขาว แดง น้ำตาล ดำ ที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ คือหยกเจไดต์สีเขียวมรกตที่เราเรียกว่า หยกจักพรรดิ์ ที่งดงามที่สุดเม็ดเดียวมีราคาหลายร้อยล้านบาท หยกมีหลายชนิดแบ่งเป็น ๓ เกรดที่พบทั่วไป หยก A หรือหยกธรรมชาติหรือหยกที่เจียระไนเป็นรูปต่างๆเสร็จแล้วขัดด้วยเที่ยนไข ไม่มีการตกแต่งวัสดุหรือสีเข้าไปในเนื้อหยก หยกสีธรรมชาติที่สวยและคุณภาพสูงหาได้ยาก หยก B หรือหยกเคลือบด้วยพลาสติกหรือหยกที่อาบน้ำ โดยนำหินหยกไปแช่น้ำกรดไฮโดรคลอลิคเพื่อกัดเอาสนิมโลหะและสิ่งสกปรกในเนื้อหยกออกจนหมด แล้วนำไปชุบสารละลายพลาสติกแข็ง สารละลายพลาสติกจะซึมเข้าไปในเนื้อหยกและเคลือบผิว ทำให้หยกคืนสภาพ ดูสดใสเหมือนหยกที่มีคุณภาพสูงเนื้อแก้วซึ่งคนทั่วไปแยกไม่ได้ เพราะเหมือนหยกธรรมชาติมาก ทุกวันนี้หยกที่ขายทั่วไป ๙๐% เป็นหยกB หยก A มีราคา หนึ่งแสนบาท หยก B จะอยู่ที่ ๑๐๐ - ๑,๐๐๐ บาท เท่านั้น หยก C คือหยก B ที่ใส่สีหรือย้อมสีเข้าไป เช่น สีเขี่ยว ม่วงแดง เป็นต้น คุณสมบัติพิเศษของหยก ๑) เชื่อว่าหยกมีอำนาจวิเศษคอยปกป้องผู้สวมใส่จากอันตราย เหตุนี้ฮ่องเต้จีน จึงทรงโปรดหยกเป็นพิเศษ ๒) หยกยังคงเป็นที่นิยมและมักสวมใส่ตลอดชีวิตของคนๆหนึ่ง (เรามักจะเห็นคนจีนสูงอายุใส่กำไลหยกแล้วไม่ถอดเลย ถ้าหยกสีขุ่นแสดงว่าสุขภาพไม่ดี ถ้าแตกหรือร้าวจะบอกเหตุร้ายที่จะเกิดหยกขึ้น ๓) คุณภาพที่ดีต้องเนื้อมีความโปร่งใส และมีความเย็น ๔) คนมักคิดว่าหยกต้องสีเขียว แต่จริงๆแล้วหยกมีหลายสี เช่น สีม่วง แดง ดำ ขาว ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปอย่างน่าทึ่ง ตลาดริมเมย ถือเป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของสหภาพพม่า เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทย และสหภาพพม่า ซึ่งแม้ตลาดริมเมยจะไม่ใหญ่โต เหมือนตลาดการค้าชายแดนอย่างตลาดแม่สาย หรือตลาดโรงเกลือ แต่ที่นี่ก็มีสินค้าที่น่าสนใจ และราคาถูกมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อเป็น "ของฝาก"และสินค้าที่ขึ้นชื่อ ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมซื้อกลับมาเป็น "ของฝาก" จากจังหวัดตาก คงหนีไม่พ้น "ต้นไม้หยก" "ต้นไม้หยก" ทำจากอัญมณีสีเขียวที่เรารู้จักกันดี ซึ่งเป็นหินที่มีความเชื่อด้านโชคราง แต่เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าแล้ว จึงได้มีการดัดแปลงนำหยกมาทำเป็นของฝากอย่าง "ต้นไม้หยกมงคล" ที่เหมาะจะนำไปทำเป็นของตกแต่งบ้าน สนนราคาตั้งแต่ต้นละ ๒๐ บาท ไปจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสวยงาม ใหญ่โตของต้นไม้ด้วย มานพ ชื่นภักดิ์ นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ อ้างอิง : ผึ้งงาน_SDU., เก็บเรื่องมาเล่า, (ระบบออนไลน์) http://gotoknow.org.,๒๕๕๔.
สถานที่ตั้ง
ตลาดริมเมย
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านริมเมย
ตำบล ท่าสายลวด อำเภอ แม่สอด จังหวัด ตาก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ต้นไม้หยกมงคล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก อีเมล์ takculture@gmail.com
ถนน พหลโยธิน
ตำบล หนองหลวง อำเภอ เมืองตาก จังหวัด ตาก รหัสไปรษณีย์ 63000
โทรศัพท์ 055517722 โทรสาร 055517646
เว็บไซต์ www.takculture.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่