ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 28' 32.2165"
18.4756157
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 39' 7.519"
98.6520886
เลขที่ : 189499
ใบเตย
เสนอโดย jundee วันที่ 22 พฤษภาคม 2556
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 27 พฤษภาคม 2556
จังหวัด : เชียงใหม่
0 454
รายละเอียด

ใบเตย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus amaryllifolius Roxb.

ชื่อสามัญ : Pandanus Palm , Fragrant Pandan , Pandom wangi.

วงศ์ : Pandanaceae

ชื่ออื่น : ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ : ต้นและราก, ใบสด

สรรพคุณ สารเคมี : สารกลุ่ม anthocyanin มาที่สรรพคุณสุดแสนจะน่าอัศจรรย์ของเตยหอมกันบ้าง นอกจากจะนำ "ใบ" มาใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแล้ว ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยังพบว่า "เตยหอม" มีฤทธิ์ทางยาด้วย เช่น

ใบ ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี วิธีรับประทานคือ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ ๒-๔ ช้อนแกง ช่วยดับกระหาย เนื่องจากใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทานแล้วรู้สึกชื่นใจ และชุ่มคอได้เป็นอย่างดี วิธีรับประทานคือ นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม รักษาโรคหัด หรือ โรคผิวหนัง โดยนำใบเตยมาตำแล้วมาพอกบนผิวใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ ๒-๔ ช้อนแกง ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน ใช้ราก ๑ กำมือ ต้มน้ำดื่มเช้าเย็น

รากและลำต้น ใช้รักษาโรคเบาหวาน เพราะรากและลำต้นของเตยหอมนั้น มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีรับประทานก็คือ ใช้ราก ๑ กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม ๑ ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ไปต้มกับน้ำดื่ม นอกจากนี้ เตยหอม ยังช่วยแก้อ่อนเพลีย ดับพิษไข้ และชูกำลังได้อีกด้วย เห็นสรรพคุณมากมายขนาดนี้แล้ว ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาจริง ๆ สำหรับเจ้าพืชสีเขียวใบเรียวชนิดนี้

คำสำคัญ
ใบเตย ใบโอ้ม
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
-
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล บ้านหลวง อำเภอ จอมทอง จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางจันทร์ดี สังขรักษ์ อีเมล์ jundee@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมอำเภอจอมทอง อีเมล์ jundee@hotmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้านซอย - ถนน -
ตำบล บ้านหลวง อำเภอ จอมทอง จังหวัด เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50160
โทรศัพท์ 053341199 โทรสาร 053341199
เว็บไซต์ jundee@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่