กระด้งโบราณ
ประวัติภูมิปัญญาท้องถิ่น
นางดรุณี ปากบารา
เลขที่ ๑๙๘หมู่ที่ ๔ /บ้านตะโล๊ะใส ซอย ...-.... ถนน ...-....
ตำบล ปากน้ำ อำเภอ ละงู จังหวัด สตูล โทร๐๘๙๘๗๑๖๕๖๐
ประวัติความเป็นมา/ความหมาย/ความสำคัญของภูมิปัญญา
ในสมัยก่อนกระด้ง เป็นเครื่องมือใช้สำหรับร่อนเพื่อแยกเปลือกออกจากสิ่งที่เราต้องการ กระด้งส่วนใหญ่สานด้วยผิวของไม้ไผ่หรือหากอยากให้มีความคงทนมากขึ้นก็ต้องสานด้วยผิวของก้านหวายกระด้งเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมของคนในท้องถิ่น เนื่องจากคนในท้องถิ่นมีอาชีพทำนาและยังรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบดั้งเดิม คือ การเกี่ยวข้าวก็ใช้วิธีการเก็บด้วยมือ การนวดก็ใช้วิธีการนวดด้วยเท้าการกระแทะเปลือกข้าวก็ใช้วิธีการกระแทะด้วยครกกระเดื่อง กรรมวิธีต่างๆดังกล่าวข้างต้นต้องใช้กระด้งในการผลิตจึงทำให้กระด้งมีความสำคัญอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะของสิ่งของ
กระด้ง มีลักษณะเป็นวงกลม ตัวกระด้งสานด้วยผิวของเส้นหวาย ส่วนขอบกระด้งจะใช้ก้านหวายม้วนให้เป็นวงกลมแล้วผูกติดกับตัวกระด้ง
อายุการใช้งานของกระด้ง
อายุประมาณ ๕๐ กว่าปี
วัสดุที่ใช้
๑. ไม้ไผ่ (ผิวไม้ไผ่)
๒. หวาย
ประโยชน์ของภูมิปัญญา
กระด้ง เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีประโยชน์มาตั้งแต่อดีตจนกระทั้งถึงปัจจุบัน ประโยชน์ของกระด้ง คือใช้สำหรับร่อนเพื่อแยกเปลือกออกจากสิ่งที่เราต้องการ
แนวคิดในการจัดเก็บรักษา
ปัจจุบันกระด้งยังได้รับความสนใจจากคนในท้องถิ่น กระด้งเก่าๆที่มีอยู่จึงได้จัดเก็บไว้เพื่อให้ลูกหลานได้เรียนรู้และศึกษาต่อไป