ว่านหางจระเข้เป็นพืชจัดอยู่ในกลุ่มตะบองเพชรเขตร้อน เป็นพืชที่ชาวบ้านได้นำมารักษา เกี่ยวกับบาดแผลต่าง ๆ มาเป็นเวลานานเป็นพันปี เนื่องจากในสมัยก่อนไม่มียารักษาโรค ส่วนมากจะใช้สมุนไพรที่ปลูกไว้บริเวณบ้านรักษาบาดแผล เช่น แผลจากไฟไหม้, น้ำร้อนลวก, แผลจากกัมมันตภาพรังสี, แผลเรื้อรัง
สมุนไพรไทย ๆ ที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับหางแหลม ๆ ของจระเข้ จนได้ชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงลักษณะได้ดีว่า ว่านห่างจระเข้ คืออีกหนึ่งพรรณไม้ไทยที่นิยมปลูกไว้ติดบ้าน นอกจากจะใช้ประดับตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว สรรพคุณต่าง ๆ ของว่านหางจระเข้ยังคุ้มค่าอีกด้วย
ว่านหางจระเข้ คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว สามารถออกดอกสีแดงอมเหลืองที่ปลายยอดได้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องมีทางระบายน้ำได้ดี ป้องกันไม่ให้อมน้ำมากเกินไปจนรากเน่า
ส่วนที่ใช้ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า
สรรพคุณ
-ใบ มีรสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
-ต้น มีรสเย็น ดองกับสุราดื่มเพื่อขับน้ำคาวปลา
-ราก มีรสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน
-ยางในใบ เป็นยาระบาย
-น้ำวุ้นจากใบ ล้างด้วยน้ำสะอาด หั่นบาง ๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อยลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาฝ้า
-เนื้อวุ้น เหน็บทวาร รักษารัดสิดวงทวาร
-เหง้า ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด