ชื่อประวัติบินยาลีมอ
ประวัติบินยาลีมอ
ข้อมูลทั่วไปของอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
คำขวัญ
“ยะรังเมืองเก่า นกเขาเสียงดี ขึ้นชื่อลูกหยี ทุเรียนดีหมอนทอง ลองกองหวานอร่อย”
ประวัติความเป็นมา
อำเภอยะรังเป็นแหล่งที่เจริญรุ่งเรืองมาแต่สมัยโบราณ โดยเป็นที่ตั้งเมืองตานีมาแล้วดังปรากฏในตำนานฉบับหนึ่งว่า “เสียม อัสสี”ได้มาตั้งเมืองตานีขึ้นที่ ปราแว (หรือบ้านปราแว ตำบลยะรัง) ชื่อเมือง “โกตามหาลิไฆ” ปัจจุบัน มีซากกำแพงดิน บางตอนที่ยังสูงอยู่ บางตอนก็ต่ำเหมือนคูเมือง มีสระบ่อโบราณมีซากปรักหักพังของโบราณสถานหลายแห่ง ซึ่งขณะนี้กรมศิลปากรได้มีโครงการขุดแต่งและบูรณะแล้วและกำลังดำเนินการอยู่ ที่กำแพงเมืองที่ตำบลยะรังชาวบ้านเรียกภาษาพื้นเมืองว่า “ปราแว” ก็เรียกทับศัพท์จากคำว่า “โกตามหาลิไฆ” นั้นเอง
ต่อมาราว พ.ศ.๒๔๔๓ ร.ศ.๑๑๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ใช้ พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองท้องที่ขึ้น ในครั้งนั้นโปรดให้เจ้าพระยายมหาราช (ปั้น สุขุม) ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา ได้ออกมาจัดแบ่งเขตหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และได้พิจารณาจัดตั้งอำเภอยะรัง และตั้งที่ว่าการอำเภอยะรังขึ้นที่บ้านยือแร การคมมาคมติดต่อระหว่างอำเภอมีทางเดียว คือ ทางเรือซึ่งหากข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งประจำอยู่ที่บริเวณเจ็ดหัวเมืองจะเดินทางจากปัตตานีไปตรวจราชการที่จังหวัดยะลาต้องใช้พาหนะเรือถ่อและแจวมาตามลำแม่น้ำปัตตานีและเดินทางมาถึงบ้านอาเนาะบูโละ ตำบลยะรัง เป็นเส้นทางน้ำลึกและไหลเชี่ยวมาก การถ่อและแจวเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องเกณฑ์ราษฎรให้ลากจูงเรือ เนื่องจากที่ว่าการอำเภออยู่ไกลบางครั้งต้องพักแรมที่บ้านอาเนาะบูโละ บางครั้งต้องพักแรมอยู่ในคลองขุดใหม่ซึ่งเป็นการเสียเวลา ในปี พ.ศ.๑๔๔๖ ทางราชการจึงย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านยะรัง ไปตั้งที่บ้านกรือเซะ ตำบลยะรัง ตรงปากคลองขุดใหม่เพื่อความสะดวกในการติดต่อราชการ
ต่อมาทางราชการได้ตัดถนนจากจังหวัดปัตตานีถึงจังหวัดยะลาต้องผ่านที่ว่าการอำเภอใหม่ทำให้การคมนาคมสะดวก ซึ่งภายหลังได้โอนถนนเส้นนี้ให้กับกรมทางหลวงทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น ต่อมาได้พิจารณาย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอมาสร้างใหม่ที่บ้านบินยาลีมอ ตำบลยะรัง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ โดยเปิดทำการอย่างเป็นทางการ
๒๙
เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ กรมการปกครองได้จัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ในบริเวณที่ว่าการอำเภอหลังเดิมซึ่งได้ก่อสร้างจนแล้วเสร็จโดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีได้ทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๓๙ โดยทรงปลูกต้นลำใย (ต้นบินยา) ๕ ต้นไว้เป็นอนุสรณ์ถึงปัจจุบัน