ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งถือได้ว่ามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน โดยจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2525 สมเด็จพระนางเจ้า ฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร บ้านกุดนาขาม ๆ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีราษฎรยากจนจำนวนมาก แต่ราษฎร มีความสามัคคี กลมเกลียวกันดี จึงทรงมีพระราช ดำริ ให้ราษฎรปลูกต้นไม้รักษาป่า คณะกรรมการหมู่บ้าน ก็พร้อมใจกันถวายที่ดินสาธารณะของหมู่บ้านจำนวน 43 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวาสำหรับจัดตั้งโครงการ ป่ารักน้ำและราษฎรบ้านกุดนาขามได้ช่วยกันเสียสละแรงงานด้วยการปลูกต้นไม้โตเร็วและร่วมกันปลูกต้นไม้เสริมจากที่มีอยู่เดิมเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2526 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จ พระราชดำเนินทรงเยี่ยมโครงการป่ารักน้ำ บ้านกุดนาขามอีกครั้งหนึ่งทรงปลูกต้นไม้และทรงมีราชดำริ ให้ราษฎรปลูกเพิ่มเติมในช่วงนั้น ได้จัดครูมาช่วยฝึกสอนอาชีพต่าง ๆ ตามที่ราษฎรถนัดและทรงมีพระราชดำริ ที่จะให้บ้านกุดนาขามเป็นหมู่บ้านตัวอย่างจึงทรงมีพระเมตตาให้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพขึ้น ณ บ้านแห่งนี้โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้พันเอก เรวัต บุญทับ (ยศในขณะนั้น ปัจจุบันคือพล.อ ณพล บุญทับ รองสมุหราช- องครักษ์) เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2526 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อรับพระราชนโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นที่บ้านกุดนาขาม ซึ่งพระองค์ท่านทรงค้นพบว่าดินในบริเวณบ้านกุดนาขามและชุมชนใกล้เคียงเป็นดินที่มีคุณภาพดีเหมาะแก่การทำเซรามิกรอปกับชาวบ้านมีความรู้ ความสามารถในการวาดภาพที่สวยงาม จึงได้ส่งเสริมให้ทำเครื่องปั้นดินเผาในรูปแบบเซรามิก พร้อมตั้งชื่อว่า ผลิตภัณฑ์เซรามิกบ้านกุดนาขาม มีเชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่บัดนั้นมา
ส่งเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรมมีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ความเป็นไท
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขามเป็นศูนย์ส่งเสริมอาชีพ และคุณภาพชีวิตราษฎร มุ่งเน้น ความเป็นผู้นำในการผลิตเซรามิก ลายภาพเขียน เพื่อการค้า สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของสินค้า และอัตลักษณ์ของจังหวัด คือ งานตามพระราชเสาวนีย์ที่พระองค์รับสั่งว่าให้ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ของชาวอีสานตอนบนลงบนผลิตภัณฑ์เซรามิก เพราะอีกร้อยปีในอนาคตภาพเหล่านี้จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพกุดนาขาม จึงได้จารึกภาพประเพณี วัฒนธรรมพื้นบ้านลงบนผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ภาพสัตว์ ภาพประเพณีชีวิตชนบทของพื้นบ้านเราและเน้นการใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในการผลิต
การพัฒนาต่อยอด
สมาชิกในศูนย์ฯ ได้รับการอบรมมี ความชำนาญในการผลิต กรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้เริ่มทำการพัฒนาสมาชิกในด้านอื่นๆนอกเหนือจากงานผลิตเซรามิกเพื่อให้สมาชิกได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งวิธีการทำงานและระบบการทำงานต่างๆทั้งการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การทำ5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต การลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตเซรามิก การจัดทำAction plan สำหรับอาจารย์ผู้ควบคุมงาน ซึ่งทำให้สมาชิกได้มีความเข้าใจในกระบวนการทำงานเพื่อผลิตสินค้าให้มีคุณภาพดีขึ้นและลดต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการทำงานที่มีมาตรฐานได้ใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆมากขึ้น
ขั้นตอนการผลิต
การเตรียมดินเป็นการนำวัตถุดิบ คือ ดิน นำดินมากวนแยกหินทรายออกจากกันและนำเข้าเครื่องเพื่อรีดน้ำดินออก จากนั้นจึงนำมาเข้าเครื่องอัดขั้นตอนเตรียมดินก็เสร็จ
การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์นำดินที่ผ่านขบวนการเตรียมดิน นำมาปั้นขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ตามต้องการ เช่น อ่าง, โถภาพ หลังขึ้นรูปเสร็จจะต้องใช้พลาสติกคลุมไว้ เพราะถ้าปล่อยไว้ให้ลมพัดมากจนเกินไปจะทำให้ผลิตภัณฑ์แตก เนื่องจากการระเหยของน้ำในดินที่ปั้นเร็วจนเกินไปและปล่อยให้ผลิตภัณฑ์แห้ง
การเผาดิบนำผลิตภัณฑ์ไปเผา ซึ่งในขั้นตอนนี้เรียกว่าการเผาดิบ โดยการเผาต้องให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และให้อุณหภูมิคงที่ที่ 800 C นาน 30 นาที แล้วเปิดไฟปล่อยให้เย็น ซึ่งในขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 8-10 ชั่วโมง
การเขียนภาพนำผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาไปเขียนภาพที่ต้องการโดยใช้สีเฉพาะ(สีเซรามิก) ผลิตภัณฑ์ชิ้นไหนที่ไม่ได้เขียนภาพก็นำไปเคลือบได้เลย
การเคลือบสีเป็นการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเขียนภาพเสร็จหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ต้องการเขียนภาพ ก็นำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมาเคลือบเพื่อให้ผิวผลิตภัณฑ์มีความละเอียดเพิ่มขึ้น
การเผาเคลือบการเผาที่อุณหภูมิ 1,200 C ขั้นตอนนี้เรียกว่า การเผาเคลือบ โดยจะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง โดยให้อุณหภูมิคงที่ที่อุณหภูมิ 1,200 C นาน 30 นาที ปล่อยให้เย็นแล้วนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายได้ แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ชิ้นไหนต้องการลงน้ำทองก็นำไปเดินเส้นน้ำทอง
การลงเส้นน้ำทองผลิตภัณฑ์ชิ้นไหนต้องการลงเส้นน้ำทอง จะนำผลิตภัณฑ์นั้นมาเขียนเส้นด้วยน้ำทองเหลวมาเขียนเส้นให้สวยงาม จากนั้นนำไปเผาในอุณหภูมิ 800 C เพื่อให้น้ำทองได้ประสานติดกับผลิตภัณฑ์โดยการเผานั้นต้องเผาให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และให้อุณหภูมิคงที่ที่ 800 C นาน 30 นาที แล้วปิดไฟปล่อยให้เย็น ซึ่งในขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 8-10 ชั่วโมง ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามตามต้องการคุณภาพของผลิตภัณฑ์เซรามิกกุดนาขาม เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งเว้นแต่จะตกจากที่สูง คุณภาพดีที่สุด คือ สีของผลิตภัณฑ์กุดนาขามจะไม่เสื่อม ไม่จืด ไม่ตกและจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการตากแดดทนแดดได้เพราะเผาที่อุณหภูมิ 1,200 C ภาพสีจะไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าความร้อนมากกว่านี้ภาพสีจะเปลี่ยนความประณีตของสินค้า ภาพเขียนมีความคมชัดและเป็นภาพที่ถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสาน เหมาะสำหรับการสะสมไว้เป็นที่ระลึก
๗. สร้างรายได้ให้กับตนเอง/ชุมชนอย่างไรบ้าง
นอกจากความรู้ความสามารถในการผลิตเซรามิกของสมาชิกในศูนย์ฯมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วผลการดำเนินงานของศูนย์ฯยังช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ในด้านต่างๆของราษฎรดังนี้
1.สภาพความเป็นอยู่ของราษฎรโดยส่วนรวมของหมู่บ้านกุดนาขามก่อนจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ ราษฎรมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 5,000 บาท ต่อปี ปัจจุบันราษฎรมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 87,899 บาท
2.สุขภาพอนามัยของราษฎรอยู่ในเกณฑ์ ดี
3.สภาพการศึกษา ราษฎรที่ไม่รู้หนังสือไม่มีแล้วในชุมชน
4.สภาพการทำงาน ราษฎรเดินทางไปทำต่างถิ่น ลดลงอย่างมาก ส่วนใหญ่ก็เข้ามาทำงานที่ศูนย์ฯ