ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 25' 43.8295"
8.428841524375438
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 56' 34.7779"
99.94299386249997
เลขที่ : 192207
แห่ผ้าขึ้นธาตุ
เสนอโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 24 มกราคม 2560
อนุมัติโดย mculture วันที่ 26 มกราคม 2560
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
0 1241
รายละเอียด

ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นกษัตริย์ครองตามพรลิงค์(นครศรีธรรมราช) ได้บูรณปฏิสังขรณ์
พระบรมธาตุเจดีย์ครั้งใหญ่ และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 1773 ขณะที่เตรียมสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น ชาวปากพนังมากราบทูลว่าคลื่นได้ซัดเอาผ้าแถบยาวผืนหนึ่งซึ่งมีภาพเขียนเรื่องพุทธประวัติมาขึ้นที่ชายหาดชาวปากพนังเก็บผ้านั้นถวายพระเจ้าศรีธรรมา โศกราชพระองค์รับสั่งให้ซักผ้านั้นจนสะอาดเห็นภาพวาดพุทธประวัติ เรียกว่าผ้าพระบฏจึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธจากหงสากลุ่มหนึ่งจะนำผ้าพระบฏไปบูชาพระพุทธบาทแต่ถูกพายุพัดพามาขึ้นชายฝั่งเหลือผู้รอดชีวิตสิบคนพระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงมีความเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ แม้จะไม่ใช่พระพุทธบาทที่ตั้งใจแต่เป็นพระก็ยินดี การแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีขึ้นตั้งแต่ปีนั้นและดำเนินการสืบต่อมาจนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราชในปัจจุบันแต่เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุนิยมจัดปีละ 2 ครั้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา) และวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6
(วันวิสาขบูชา) โดยนำผ้าไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ปัจจุบันนิยมทำกัน ในวัน
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (วันมาฆบูชา)สาระสำคัญ1) แสดงให้เห็นลักษณะสังคมนครศรีธรรมราชที่ยึดมั่นอยู่ในพระพุทธศาสนาการทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชาเพื่อประสงค์ให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า 2) แสดงให้เห็นว่า
องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจ ศูนย์รวมความศรัทธาพุทธศาสนิกชนทั่วไปทุกทิศจึงประสงค์มาห่มผ้าพระธาตุอย่างพร้อมเพรียงกัน แห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การแห่ผ้าผืนยาวไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำ
ขึ้นห่มโอบล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนที่อยู่จังหวัดใกล้เคียงยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน ความเชื่อ นครศรีธรรมราชรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา จึงรับความเชื่อของชาวอินเดียและลังกาเข้ามาด้วย ชาวพุทธในอินเดีย
เชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้ บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์ และให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุด แม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ได้แก่พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นการกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงเช่นกัน เหตุนี้เชื่อกันว่า การนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ถือเป็นการบูชาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชจากทุกที่จึงมุ่งหมายมาสักการะเมื่อวันดังกล่าว พิธีกรรม การเตรียมผ้าพระบฏผ้าที่นำขึ้งห่ม
องค์พระธาตุเจดีย์ นิยมใช้สีขาว เหลือง แดง พุทธศาสนิกชนคนใดต้องการห่มผ้าพระธาตุจะตระเตรียมผ้า
ขนาดยาวตามศรัทธาของตน เมื่อไปถึงวัดจะนำผ้ามาผูกต่อกันเป็นขนาดยาวที่สามารถห่มพระบรมธาตุรอบองค์ได้ หากต้องการร่วมบุญด้วยก็บริจาคเงินสมทบในขบวนผ้าพระบฏนี้ก็ได้ หรือตกแต่งชายขอบผ้าประดับด้วยริบบิ้น
พู่ห้อยแพรพรรณ ลวดลายดอกไม้สวยงาม แต่ผ้าห่มพระบรมธาตุเจดีย์ผืนพิเศษ จะเขียนภาพพุทธประวัติทั้งผืนยาว โดยช่างชำนาญเขียนภาพแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ ความมานะพยายามในการทำผ้าพระบฏขึ้น เพื่อเป็นพุทธบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะนัดหมายโดยพร้อมเพรียงกันเป็นขบวนใหญ่ แต่ในปัจจุบันการเดินทางสะดวกขึ้น ผู้คนที่ศรัทธาก็มาจากหลายทิศทาง ต่างคนต่างคณะต่างจึงเตรียมผ้ามาห่มพระธาตุ ใครจะตั้งขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็สุดแต่ความสะดวกขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีตลอดทั้งวันโดยไม่ขาดสายเดิมขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุทุกขบวนนิยมใช้ดนตรีพื้นบ้านนำหน้าขบวน ได้แก่ ดนตรีหนังตะลุง ดนตรีโนรา แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นกลองยาวบรรเลงจังหวะครึกครื้น เพื่อช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน ขบวนแห่ผ้าขึ้นธาตุจะเดินเป็นแถวเรียงเป็นริ้วยาวไปตามความยาวของผืนผ้า ทุกคนชู (เทิน) ผ้าพระบฏไว้เหนือศีรษะ ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่าผ้าพระบฏเป็นเครื่องสักการะพระพุทธเจ้าจึงควรถือไว้ในระดับสูงกว่าศีรษะ การถวายผ้าพระบฏ เมื่อแห่ถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารแล้วจะทำพิธีถวายผ้าพระบฏ โดยมีหัวหน้าคณะกล่าวนำด้วยภาษาบาลีแล้วตามด้วยคำแปลซึ่งมีใจความว่า “ข้าแต่พระผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าห่มพระธาตุนี้แก่พระพุทธเจ้า เพื่อเป็นพุทธบูชาข้าพเจ้าทั้งหลายขอกราบไหว้ซึ่งเจดีย์ทั้งหลายในสถานที่นี้ ขออานิสงส์แห่งบุญกุศลของข้าพเจ้าทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้าและญาติมิตรทั้งหลายเพื่อความสุขความเจริญตลอดกาลนานเทอญ” การนำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์ หลังจากกล่าวคำถวายผ้าพระบฏเรียบร้อยแล้ว จะแห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์3รอบแล้วน้ำผ้าสู่วิหารพระทรงม้า เมื่อถึงตอนนี้ผู้ที่ร่วมในขบวนแห่จะส่งผู้แทน เพียงสามหรือสี่คนสมทบกับเจ้าหน้าที่ของวัดนำผ้าพระบฏขึ้นโอบรอบพระบรมธาตุเจดีย์ไม่สามารถขึ้นไปรอบกำแพงแก้วได้หมดทั้งขบวน เพราะลานภายในกำแพงแก้วคับแคบและเป็นเขตหวงห้ามและเชื่อว่าที่ฐานพระบรมเจดีย์มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่หากเดิน
บนลานกำแพงแก้วเป็นการไม่เคารพพระพุทธองค์ นำผ้าขึ้นห่มองค์พระธาตุเจดีย์ความสำคัญของการเกิดประเพณี พุทธศาสนิกชนมีจิตใจที่จะบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตปีหนึ่งจะต้องมาห่มผ้าพระธาตุครั้งหนึ่งไม่ให้ขาดประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุจึงมีความสำคัญดังนี้ แสดงให้เห็นถึงลักษณะสังคมของนครศรีธรรมราชที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนาทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชา เพื่อประสงค์ให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นว่าพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจและความศรัทธาพุทธศาสนิกชนทั่วทุกทิศจึงประสงค์ห่มผ้าพระบรมธาตุเจดีย์อย่างพร้อมเพรียงกัน

สถานที่ตั้ง
จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่