ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 23' 52.6548"
17.397959663207654
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 48' 49.8015"
102.81383374999996
เลขที่ : 192246
งานมรดกโลกบ้านเชียง
เสนอโดย อุบลราชธานี วันที่ 24 มกราคม 2560
อนุมัติโดย อุดรธานี วันที่ 3 เมษายน 2563
จังหวัด : อุดรธานี
0 1356
รายละเอียด
งานมรดกโลกบ้านเชียง และ พิธีบวงสรวงศาลปู่ขุนเชียงสวัสดิ์

งานมรดกโลกบ้านเชียงจัดขึ้นทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองในการที่องค์การยูเนสโกประกาศให้บ้านเชียงขึ้นเป็นมรดกโลกลำดับที่ 359 เมื่อปี 2535 โดยบ้านเชียงแห่งนี้ มีวัตถุโบราณพวกไหลายบ้านเชียงที่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี ที่เป็นเอกลักษณ์

พิธีบวงสรวงศาลปู่ขุนเชียงสวัสดิ์ศาลปู่ขุนเชียงสวัสดิ์ เป็นศาลที่สร้างขึ้นเพื่อสักการบูชาและรำลึกถึงคุณความดีของขุนเชียงสวัสดิ์ผู้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านเชียง ตั้งอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ขุนเชียงสวัสดิ์ ชื่อเดิมคือนายพรมา แก้ววิเชียร เป็นชาวไทยพวน เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2410 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกำนันตำบลบ้านเชียงเมื่อปีพ.ศ. 2449 ระหว่างรับราชการได้สร้างคุณประโยชน์นานัปการแก่บ้านเชียง เป็นผู้วางรากฐานทางด้านการปกครอง การศึกษา พระพุทธศาสนา ช่วยเหลือชาวบ้านในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปราบโจรผู้ร้าย ด้วยคุณงามความดีที่สั่งสมมา ในพ.ศ.จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นหมื่นวิเชียรบำรุง และเลื่อนขึ้นเป็นขุนเชียงสวัสดิ์ ในพ.ศ. 2456 ตลอดชีวิตการทำงานรับใช้ประชาชนได้ตรากตรำงานหนักมาโดยตลอด จนล้มป่วยลงและถึงแก่กรรมในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 รวมอายุได้ 63 ปี ปัจจุบันขุนเชียงสวัสดิ์ยังเป็นที่เคารพบูชาอยู่มิเสื่อมคลาย ชาวบ้านจึงสร้างศาลเพื่อให้เป็นที่สถิตวิญญาณ เชื่อว่าท่านยังเป็นเทพารักษ์คุ้มครองบ้านเชียงอยู่ จึงมีพิธีบวงสรวงสักการะขุนเชียงสวัสดิ์บริเวณศาลเป็นประจำทุกๆ ปี
สถานที่ตั้ง
อำเภอ หนองหาน จังหวัด อุดรธานี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่