ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 58' 18.2485"
15.9717357
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 37' 17.836"
102.6216211
เลขที่ : 192570
ขอนแก่น “นครมัดหมี่โลก”
เสนอโดย ขอนแก่น วันที่ 26 มีนาคม 2563
อนุมัติโดย ขอนแก่น วันที่ 1 เมษายน 2563
จังหวัด : ขอนแก่น
0 831
รายละเอียด

ขอนแก่นมีวัฒนธรรมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมายาวนาน ทำให้ปัจจุบันเมืองแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบอย่างเส้นไหมแหล่งใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีศักยภาพในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งมีกลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นลำดับ 4 ของประเทศ หรือประมาณกว่า 8,565 ราย แบ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวไหมและทอผ้าไหม 5,152 ราย ผู้ประกอบการทอผ้าไหม 2,382 ราย ผู้ประกอบการทอผ้า ฟอกผ้า และย้อมสี 644 ราย ร้านค้าจำหน่ายผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหมที่ขึ้นทะเบียนไว้ จำนวน 38 ร้าน และเป็นแหล่งผลิตผ้าไหมที่สามารถผลิตผ้าไหมในแต่ละปีได้ไม่น้อยกว่า 150,000 เมตร ว่ากันว่าการที่ผ้าทอมือของขอนแก่นเติบโตเป็นเพราะเสน่ห์ของไหมมัดหมี่ที่แตกต่างจากที่อื่น ซึ่งเกิดจากความเฉพาะตัวของวิธีการมัดหมี่ และเทคนิคการทอที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์ “ความเป็นชิ้นเดียวในโลก” ในทางเทคนิควิธีการทอแบบดั้งเดิมยังทำให้เกิดรอยซึมของสีที่วิ่งไปบนลวดลายที่ถูกมัด ที่ถึงแม้จะใช้ความแม่นยำในการทอมากแค่ไหนก็จะเกิดความเหลื่อมบนสีของเส้นไหม ซึ่งให้ความรู้สึกของความเป็นงานทำมือสุดมหัศจรรย์

สำหรับขอนแก่น ก็เป็นเช่นเมืองอื่นๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่การทำผ้ามัดหมี่เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่นิยมทำกันมานาน ชาวบ้านจะใช้เวลาว่างจากการทำนาและการเก็บเกี่ยวมาทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือทอผ้าเอาไว้ใช้ในงานประเพณีต่างๆ กระทั่งในยุคหลังๆ มีการนำผ้าที่เหลือใช้เองมาจำหน่ายจนหลายพื้นที่การทอผ้ากลายมาเป็นรายได้หลักแทนการทำนาอาชีพแต่ดั้งเดิม

สภาหัตถกรรมโลก จึงยกขอนแก่น เป็นเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้าไหมมัดหมี่ แห่งแรกในเอเชีย โดยในงานมหกรรมผ้ามัดหมี่โลกและเสวนา 2018 : สืบสานภูมิปัญญาสู่อนาคต “World IKAT Textiles Symposium (WITS) 2018 : Tying Heritage for the Future” มี นายสมชาย หาญหิรัญ รมช.อุตสาหกรรม เป็นประธานเปิด ณ โรงแรมราชาวดีรีสอร์ท แอนด์ โฮเต็ล จ.ขอนแก่น ซึ่งจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับสภาหัตถกรรมโลกภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้น โดยมีนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านผ้า โดยเฉพาะผ้าพื้นเมือง และผ้าไหม จากนานาประเทศเข้าร่วมการประชุมกว่า 300 คน ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าวได้จัดให้มีการแสดงนิทรรศการ และการจำหน่ายสินค้าผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่จากกลุ่มจังหวัดในภาคอีสาน ขณะเดียวกัน Dr.Ghada H. Qaddumi President WCC Asia Pacific Region ในฐานะผู้แทนสภาหัตถกรรมโลก ได้มอบใบรับรองให้จังหวัดขอนแก่น เป็นเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งจัดเป็นเมืองแรกของภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับการประกาศยกย่องดังกล่าวจากสภาหัตถกรรมโลก โดยมี นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผวจ.ขอนแก่น เป็นผู้รับมอบ

“ลวดลายบนผืนผ้ามัดหมี่”ส่วนใหญ่ที่นิยมทอกันมักเป็นลวยลายของภูมิปัญญาโบราณที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยคนรุ่นปู่ย่าตายาย การจะคิดสร้างสรรค์ลายผ้าใหม่ๆไม่ค่อยมีปรากฎมากนัก การริเริ่มสร้างลายผ้ามัดหมี่ใหม่ของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งใช้ชื่อว่า “ลายแคนแก่นคูน” ซึ่งจะใช้สร้างอัตลักษณ์ที่ชัดเจนมากขึ้นให้กับ จังหวัดในฐานะนครมัดหมี่โลก จึงเป็นภาพสะท้อนใหม่ของการสร้างสรรค์ที่ผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาโบราณ การสร้าง อัตลักษณ์ที่อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน ที่เชื่อมโยงการยกระดับและพัฒนาเมือง ซึ่งคล้ายแนวทางการอนุรักษ์ของเมืองที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมหลาย ๆ เมืองในโลก ที่ค้นหาและตอกย้ำตัวตนของเมืองผ่านการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมหลักของเมือง

หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
จังหวัด ขอนแก่น
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ประชาสัมพันธ์จังหวัดขอนแก่น
บุคคลอ้างอิง นางสาวปุณิกา สิ่วศรี อีเมล์ khonculture@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่