ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : - ลองจิจูด (แวง) : -
เลขที่ : 192913
พระครูวิมล กิตตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเชียงคาน
เสนอโดย เชียงราย วันที่ 27 พฤษภาคม 2563
อนุมัติโดย เชียงราย วันที่ 13 กรกฎาคม 2563
จังหวัด : เชียงราย
0 652
รายละเอียด

พระครูวิมล กิตตยาภรณ์ เกิดวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๐๖ การศึกษาปริญญาโท ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเชียงคาน

เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุวัดเชียงคาน เทศบาลตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประจำปี ๒๕๖๐ ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนผู้สูงอายุจำนวนมาก มีการร่วมกลุ่มหัตกรรมผู้สูงอายุ กลุ่มอาชีพต่างๆ ในเทศบาลตำบลสถาน และเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนขนาดใหญ่ และเป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบที่มีความโดดเด่นทางด้านโรงเรียนผู้สูงอายุ โดยการนำการริเริ่มโครงการของพระครูวิมล กิตตยาพรณ์
เปิดหลักสูตรโรงเรียนฯ โดยได้เล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้เกิดคุณค่าและอื่น ๆ

ความโดดเด่นวัดเชียงคาน

วัดเชียงคานมีพระพุทธรูปแสนแซ่พระแสนแซ่ เป็นคำเรียกพระพุทธรูปโบราณที่ชาวล้านนาหล่อขึ้นหลายๆ ส่วน แล้วนำมาประกอบกันเข้าเป็นองค์พระพุทธรูป โดยใช้วิธีการยึดด้วยสลักหรือหมุดตามข้อต่อต่างๆ ชาวล้านนาเรียกสลักหรือหมุดว่า “แซ่” หรือ “แซ่ว” ส่วน “แสน” หมายถึง มากมายยิ่ง

ดังนั้น พระพุทธรูปที่ใช้สลักหรือแซ่ยึดไว้เป็นจำนวนมาก จึงเรียกชื่อว่า “พระแสนแซ่” เช่นเดียวกับในภาคกลางเรียกพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ว่า “หลวงพ่อโต” นั่นเอง

พระพุทธรูปแสนแซ่ เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญมีพุทธลักษณะที่สวยงาม มีประวัติศาสตร์ ที่ยาวนานและผูกพันกับพุทธศาสนิกชนในตำบลสถานมาโดยตลอด เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว สูง 41.5 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 85.5 กิโลกรัม จากหลักฐานจารึกอักษรที่ฐานพระพุทธรูประบุว่า “เจ้าเณรเจ้าก๋านมะกะละ สร้างพระแสนแซ่ถวายไว้ที่วัดบ้านแหน
เมื่อปีพุทธศักราช 1991 ปีระกา เดือน 8 ขึ้น 8 ค่ำ”

สถานที่ตั้งวัดบ้านแหน ปัจจุบันเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านเชียงคาน ตำบลสถาน อำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย

ต่อมาวัดบ้านแหน ได้ชำรุดทรุดโทรมมากลายเป็นวัดร้างไป เมื่อใดไม่ปรากฏ ในปีพุทธศักราช 2444 ประชาชนชาวบ้านเชียงคาน ได้ขุดพบพระแสนแซ่ ณ บริเวณวัดบ้านแหน และได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในหมู่บ้าน เนื่องจากยังไม่ได้สร้างวัด จนกระทั่ง พ.ศ.2448 เมื่อชาวบ้านได้สร้างวัดเชียงคานขึ้นแล้ว จึงได้อัญเชิญพระแสนแซ่มาประดิษฐานไว้ที่วัดเชียงคาน จนถึงปัจจุบัน

จากพุทธลักษณะที่งดงามและเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ จึงทำให้พระแสนแซ่ เป็นที่เคารพศรัทธาและเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวของประชาชนในพื้นที่ตำบลสถาน และพุทธศาสนิกชนทั่วไป

จากคณะศรัทธาดังกล่าว พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ตำบลสถาน โดยเทศบาลตำบลสถาน สภาวัฒนธรรมและคณะสงฆ์ จึงได้จัดให้มีประเพณีสืบชะตาและปิดทองพระแสนแซ่ขึ้นทุกปี เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์งานวัฒนธรรมประเพณีสืบชะตาของท้องถิ่นล้านนาให้คงสืบต่อไป เป็นการเผยแพร่ให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้รู้จักอย่างแพร่หลาย เป็นการเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและการมีส่วนร่วมทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน ประกอบกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของท้องถิ่น

งานพิธีสืบชะตา เป็นงานประเพณีที่บรรพบุรุษของเราได้ถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน จัดขึ้นเพื่อเป็นแรงจูงใจ ให้กำลังใจ และก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่บุคคล ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติตลอดไป

สถานที่ตั้ง
วัดเชียงคาน
เลขที่ 4 หมู่ที่/หมู่บ้าน เชียงคาน
จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สิริรัตน์ โอภาพ อีเมล์ sirirat_kn@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่