ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 20° 1' 49.741"
20.0304836
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 22' 23.5492"
100.3732081
เลขที่ : 192914
พระธาตุพระเจ้าเข้ากาด
เสนอโดย เชียงราย วันที่ 27 พฤษภาคม 2563
อนุมัติโดย เชียงราย วันที่ 4 มิถุนายน 2563
จังหวัด : เชียงราย
0 200
รายละเอียด

วัดพระเจ้าเข้ากาดนี้สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏ แต่ถ้าดูจากประวัติอำเภอเชียงของแล้ว จะอยู่ในราวปี พ.ศ. 1805 ในสมัยนั้นขอมได้อาศัยอยู่ในแถบนี้คงสร้างวัดไว้ แต่ต่อมาได้ถูกรุกรานจึงได้อบพยบ หนีไปจึงได้ทิ้งวัดแห่งนี้ไว้เป็นวัดร้าง จากการค้นพบและสังเกตสถานที่แห่งนี้ จะมีสถานที่หล่อ และเก็บพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน โดยฝีมือของคนในท้องถิ่น ซึ่งพบสถานที่ขุดทองเหลืองมาหล่อเป็นพระพุทธรูปอยู่ถัดออกไปทางทิศตะวันออก ซึ่งมีชื่อเรียกว่าดอยบ่อทอง (บ่อตอง) เป็นบ่อร้างอยู่บนยอดดอย ยังคงมีให้เห็น ในปัจจุบัน และภายหลังได้เริ่มมีชาวบ้านเข้ามาอาศัยอยู่ แต่ไม่มีผู้คนเข้าไปดูแลปฏิสังขรณ์ นานเข้าก็เกิดการชำรุดทรุดโทรมหักพังไป เนื่องจากผู้คนมีความเชื่อและเกรงกลัว ด้วยเป็นวัดร้าง (วัดห่าง)
แต่มีพระพุทธรูปตลอดจนพระเครื่อง อยู่มากมาย จึงทิ้งไว้ไม่ได้ดูแลจนทำให้พระพุทธรูป ถูกก้อนอิฐและกระเบื้องพังทับถมไว้ใต้ดิน นานต่อนานเป็นเวลาหลายปี

ต่อมาได้มีเจ้าเมืองผู้ปกครองเมืองเชียงของสมัยนั้นได้ทราบข่าวนี้จึงได้เดินทางมากับชาวฝรั่งเศสที่มาค้าไม้สักยังประเทศลาว ได้พากันมาที่วัดร้างแห่งนี้และได้ทำการขุดค้นเอาพระพุทธรูปขึ้นมา แล้วให้คนงานขนลงมายังวัดหลวง และคัดเลือกเอาเฉพาะพระพุทธรูปองค์ที่สวยงามและเท่าที่สามารถขนกลับไปยังบ้านเมืองเขาได้ ส่วนองค์ที่ชำรุด หรือมีตำหนิก็ทิ้งไว้ สำหรับการขนส่งในสมัยนั้นส่วนมากจะใช้เรือ ในการขนส่งจากแม่น้ำอิงลงสู่แม่น้ำโขง ส่วนพระพุทธรูปที่นำกลับไปไม่ได้ก็นำไปเก็บไว้ในวิหารวัดหลวง ดังที่เราได้กราบไหว้บูชา อยู่ในปัจจุบันซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่นำมาจากวัดพระเจ้าเข้ากาดทั้งสิ้น และเป็นพระพุทธรูปที่เหลือจากการคัดลงเรือไปยังแม่น้ำโขงในสมัยนั้นนั่นเอง

ในปี พ.ศ.2500 ชาวบ้านหลวงได้พากันขึ้นไปขุดค้นเพื่อหาพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ ซึ่งสามารถขุดพบพระพุทธรูปหลายรูปแบบมากมาย เช่น พระพิมพ์ที่ทำด้วยเนื้อชิน เนื้อดินเผา เนื้อผงมุก โลหะอื่นๆ บางองค์ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ทองคำ หรือเพชรก็มี พระพิมพ์ที่ขุดได้มีพระใบโพธิ์ชิน ใบโพธิ์ดิน ใบโพธิ์หน้ายักษ์ พระรอด พระคงดำ พระคงแดง พระสองพี่น้อง พระสามเหลี่ยม พระสิงห์ พระนาคสวย พระพุทธรูปที่แกะสลักด้วยหิน แต่ส่วนมากได้ถูกก้อนอิฐและกระเบื้อง ดินเผาทับถมทำให้องค์พระบางส่วนหักเสียหายไป พระพิมพ์ส่วนที่เสียหายไปนั้นมีเป็นจำนวนมากมาย ไม่มีผู้ใดต้องการและสนใจ หลังจากชาวบ้านได้ทำการขุดค้นทำให้สภาพของวัดแห่งนี้ ถูกทำลายไปหมดคงเหลือแต่ซากกองหิน ซากอิฐโบราณ หักพังทับถมกันอยู่ ผู้ที่ไม่เคยทราบมาก่อนก็คงไม่รู้ว่าเป็นสถานที่สำคัญ เนื่องจากขาดการดูแลและมีต้นไม้ขึ้นจนจำแทบไม่ได้

ในเวลาต่อมาเหมือนมีสิ่งดลบันดาล ก็ได้มีท่านผู้ใจบุญและสนใจการก่อสร้างพระธาตุขึ้นจริง คือ หลวงพ่อโปร่ง กับหลวงพ่อสถิต มาจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการนำและประสานงานของคุณสุรพล เจ้าของร้านภักดียนต์ยนต์เจริญอำเภอเชียงของ ได้ร่วมมือกันก่อสร้างพระธาตุขึ้นบนวัดร้างดังกล่าว เป็นรูปแบบพระธาตุดอยตุงและดัดแปลงเป็นบางส่วน ตอนกลางมี 4 ซุ้มมีพระพุทธรูปทองเหลืององค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่ข้างในซุ้มทั้ง 4 ทิศๆละ 1 องค์ ได้ทำการวางศิลาฤกษ์เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ.2544 เวลา 07.59 นาฬิกา การก่อสร้างโดยความร่วมมือจากเจ้าภาพทั้ง 3 ท่าน เป็นผู้บริจาคทุนทรัพย์ ในการก่อสร้างทั้งหมดส่วนชาวบ้านหลวงเป็นผู้เสียสละแรงงานและวัสดุในท้องถิ่น ตลอดระยะเวลาที่ ทำการก่อสร้าง การก่อสร้างพระธาตุได้ดำเนินมาโดยดีอย่างราบรื่น และเสร็จเรียบร้อยและได้ทำบุญฉลองพระธาตุตามกำหนดการในวันที่ 10 พฤษภาคม 2545 ชาวบ้านหลวงได้แห่เครื่องไทยทานขึ้นไปถวายทาน มีงานสมโภชน์ 1 คืน คือวันที่ 11 พฤษภาคม 2545 เวลา 09.39 น. ทำพิธียกฉัตร (ยอดพระธาตุ) และใส่หัวใจพระธาตุ ถวายจตุปัจจัยไทยทาน รวมเวลาทำการก่อสร้างพระธาตุ 1 ปี 1 เดือน การก่อสร้างพระธาตุก็ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2544 พี่น้องชาวบ้านหลวงได้ร่วมกันไปพัฒนาบนดอยพระเจ้า
เข้ากาด เป็นเวลา 4 วันโดยมีการปรับบริเวณและพื้นที่มีสภาพดีขึ้น สร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างถนนในหมู่บ้านกับพระธาตุจนสามารถนำรถยนต์ขึ้นไปบนพระธาตุได้
ซึ่งเป็นโชคดีของ พี่น้องชาวบ้านหลวง
ทุกๆ คน ที่ได้พระธาตุไว้เป็นที่เคารพสักการบูชา คู่บ้านคู่เมืองสืบต่อไปและที่น้องชาวบ้านหลวงยังภาคภูมิใจที่มีโบราณสถานโบราณวัตถุ ที่มีคุณค่าควรรักษาไว้คู่บ้านคู่เมืองตลอดไป

สถานที่ตั้ง
พระธาตุพระเจ้าเข้ากาด
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๔ บ้านหลวง
ตำบล ครึ่ง อำเภอ เชียงของ จังหวัด เชียงราย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สิริรัตน์ โอภาพ อีเมล์ sirirat_kn@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่