ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 7' 31.1315"
18.1253143
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 55' 28.3235"
98.9245343
เลขที่ : 193311
กู่พระญาอาทิตยราช
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 24 กันยายน 2563
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 24 กันยายน 2563
จังหวัด : ลำพูน
0 333
รายละเอียด
กู่พระญาอาทิตยราช....หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “พระญาอาทิตยราช” กันมาบ้างนะคะ ท่านคือผู้สร้าง “พระบรมธาตุหริภุญไชย” (พระบรมธาตุสำคัญแห่งแรกในภาคเหนือ) กลางมหานครลำพูนตั้งแต่ พ.ศ. 1500 เศษๆ (ตำนานหลายเล่มระบุตัวเลขไม่ตรงกัน มีทั้ง 1400 เศษ มีทั้ง 1600 เศษ)กล่าวคือ เป็นกษัตริย์ราชวงศ์หริภุญไชย ที่มีอายุห่างจากพระนางจามเทวีถึง 300-400 ปีแต่จะมีใครทราบบ้างหรือไม่ว่า ในอำเภอเมืองลำพูน ถนนจามเทวีซอย 1 (สามารถทะลุซอย 3) เส้นทิศตะวันตกทางไปสันป่าตอง มีกู่อัฐิหรือที่ฝังพระศพของมหาราชพระองค์นี้ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “กู่พระญาติ๊บ” (เหตุเพราะภาษาล้านนา บางกรณี แม่กบ กับแม่กด อาจใช้สะกดเสียงแทนกันได้ เช่น คำว่า หีบธรรม ชาวล้านนาเรียก หีดธรรม)กู่พระญาติ๊บ หรือ กู่พระญาอาทิตยราช นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องอุปโลกน์ขึ้นแบบไร้หลักการ แม้สภาพปัจจุบันแทบไม่เหลือซาก ถูกขุดทำลายเอาของมีค่าไปขาย จนเหลือแต่ “หอบูชา” ศาลเพียงตาเล็กๆ กับซากดินกี่กระจัดกระจายก็ตามทว่ามีหลักฐานปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลัก ลพ.7 พบจารึกหลักนี้ครั้งแรกภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (เดิมพิพิธภัณฑ์นี้เคยเป็นที่ตั้งของ “วัดแสนข้าวห่อ”) นักภาษาโบราณจึงเรียกจารึกนี้ว่า“จารึกแสนข้าวห่อ” แต่ไม่นิยมเรียกเท่ากับคำว่า “จารึกตะจุ๊มหาเถร”ทำไมต้อง “ตะจุ๊มหาเถร” เหตุเพราะคำขึ้นต้นของจารึกหลักนี้ประกาศชัดเจนในทำนองว่า (ใช้คำว่าในทำนอง เพราะไม่ได้ถอดปริวรรตตรงตัวต่อตัว เนื่องจากเป็นภาษามอญ และปริวรรตกันหลายสำนวน)“ตัวข้าชื่อ ตะจุ๊มหาเถร แห่ง... (ข้อความถูกทุบทิ้ง ตรงคำว่า หริ) ปุญเชยย …"ข้าสร้างนู่น นี่ นั่น … (ถาวรวัตถุต่างๆ ภายในวัด)และข้อความสำคัญถือเป็นไฮไลต์ของจารึกนี้คือ“ข้าบรรจุอัฐิ “อิจุ้” (ซึ่งหมายถึงปู่ตา หรือบรรพบุรุษ) ไว้ในคูหาแห่งหนึ่ง ที่มหาวัลลิ์" (เขียนแบบนี้จริงๆ หมายถึงวัดมหาวันนั่นเอง)มหาวนาราม ก็คือป่าใหญ่ สร้างมาตั้งแต่ยุคพระนางจามเทวี แต่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัย พระญาสรรพสิทธิ์ หรือสววาธิสิทธิ ผู้เป็นเหลนทวดของ “พระญาอาทิตยราช”(สรรพสิทธิ์เป็นลูกของ รถราช / รถราชเป็นลูกของ ธรรมิกราช / ธรรมิกราช เป็นลูกของอาทิตยราช)ใครหนอคือ “ตะจุ๊” ที่ระบุว่าบวชเรียนจนเป็น "มหาเถร" ในจารึกหลักนี้เราทราบว่า สรรพสิทธิ์ นั้นเป็นกษัตริย์นักบวช คือบวชขณะครองราชย์ถึงสองครั้ง ครั้งแรกตั้งแต่เป็นสามเณร ก็ได้รับราชสมบัติตั้งแต่ยังเยาว์ โดยมีแม่สำเร็จราชการแทน เพราะพระญารถราชอายุสั้นและครั้งที่สอง คราวนี้บวชประมาณอายุ 31-32 บวชพร้อมมเหสีและโอรสสองพระองค์เลยแถมยังเอานามของพระอรหันต์ มาตั้งฉายาตอนบวชให้ลูกของพระองค์ว่า มหานามะ กับ กัจจายนะสรรพสิทธิ์ ควรเป็นคนที่มีความชอบธรรมหรือไม่ ที่กล้าประกาศเรียกตัวเองว่า "ตะจุ๊มหาเถรแห่งหริปุญเชยย""ตะจุ๊" เป็นคำภาษามอญ ก็คือ ตุ๊เจ้า หรือสวาธุเจ้าหากเชื่อกันว่า ตะจุ๊คือสรรพสิทธิ์“อิจุ๊” ในจารึกที่หลานเหลนของเขาเอาอัฐิมาบรรจุในกู่คูหาในวัดมหาวัน ย่อมน่าจะหมายถึง “พระญาอาทิตยราชมหาราช” ได้หรือไม่การจะสร้างจารึกสักหลักเพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ว่าได้เอาอัฐิบรรพบุรุษมาไว้ในกู่หรือคูหา บรรพบุรุษผู้นั้นควรเป็นใคร (แค่รถราช หรือธรรมิกราช พ่อ กับปู่ หรือควรเป็นคนที่โลกยกย่อง คืออาทิตยราช ผู้เป็นปู่ทวด?)เรื่องนี้ค่อนข้างยากหน่อยนะคะ ที่จะให้ฟันธงแบบเป๊ะๆ แต่ในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคหริภุญไชย อันไกลโพ้น ด้วยหลักฐานอันน้อยนิด มีข้อจำกัดมากมาย หากไม่กล้าที่จะลองเสนออะไรแปลกๆ ใหม่ๆ ดูบ้าง ก็เสียแรงเหมือนกันนะคะที่รู้นู่นนี่นั่นเต็มหัว แต่ไม่กล้าเชื่อมโยงถูกผิดค่อยมาดีเบทกันได้ บนพื้นฐานของเหตุและผลอย่างน้อยที่สุด ชื่อของวัดมหาวันฟ้องชัดว่าอดีตอาณาบริเวณนี้ต้องกว้างใหญ่ไพศาลมาก แค่ถนนจามเทวีซอย 1 นั้น ถือว่ายังใกล้รัศมีของวัดมหาวันปัจจุบันอยู่มากและมีข้อน่าสังเกตว่า กู่อัฐิของบูรพกษัตริย์ยุคหริภุญไชย นิยมตั้งอยู่ในโซนทิศตะวันตกของมหานครเสมอ ดังเช่น กู่อัฐิพระนางจามเทวี ก็ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกู่พระญาติ๊บมากนัก
สถานที่ตั้ง
กู่พระญาอาทิตยราช
จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
Cr.Pensupa sukkata
บุคคลอ้างอิง สมนึก ปาปะแค อีเมล์ somnuk.pat@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน Pensupa sukkata
จังหวัด ลำพูน
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่