ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 53' 23.9716"
6.8899921
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 31' 46.6014"
100.5296115
เลขที่ : 193335
กลองยาว และรำกลองยาววัดถ้ำตลอด
เสนอโดย สงขลา วันที่ 7 ตุลาคม 2563
อนุมัติโดย สงขลา วันที่ 7 ตุลาคม 2563
จังหวัด : สงขลา
0 323
รายละเอียด

รายละเอียดข้อมูล

กลองยาวและรำกลองยาววัดถ้ำตลอด เป็นศิลปะการ แสดงพื้นบ้านที่ชาวตำบลเขาแดงได้รับการถ่ายทอดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน จากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น กลองยาว และการรำ กลองยาว ใช้เล่นกันอย่างแพร่หลาย โดยนิยมใช้เล่นในงานบุญ งานประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่น เช่น งานแห่นาค งานทอดกฐิน งานประเพณีสงกรานต์ งานประเพณีถวายเทียนพรรษา เป็นต้น แต่ปัจจุบันศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาว เริ่มลดบทบาทลง ประชาชนให้ความสำคัญน้อยลง เนื่องจากอิทธิพลของวัฒนธรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรัก และภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักและช่วยกันอนุรักษ์ สืบทอดมรดกอันล้ำค่าด้านดนตรี ศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

ประวัติรำกลองยาว

รำกลองยาว ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า นิยมเล่นกันมาก่อนเมื่อครั้งที่พม่ามาทำสงครามกับไทยในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็จะเล่นสนุกสนานกันด้วยการเล่นต่างๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว” พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้างเมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุกบ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้

ประวัติความเป็นมา คณะกลองยาวที่มีชื่อเสียงมากของชาวอำเภอพยุหะคีรี ได้แก่ คณะ บ.รุ่งเรืองศิลป์ ของนายบุญ เอี่ยมเวช ซึ่งได้ดัดแปลงท่าร่ายรำมาจากท่าร่ายรำของลิเก พร้อมได้ดัดแปลงประดิษฐ์ชุดแต่งกายขึ้น โดยเลียนแบบจากเครื่องแต่งกายของลิเกเช่นกัน และใช้ชื่อว่า “กลองยาวประยุกต์” และได้นำออกแสดงเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2500

ผู้เล่น

ในตอนแรกผู้ร่ายรำใช้ทั้งชายและหญิง ต่อมาเปลี่ยนเป็นใช้ผู้หญิงเป็นผู้ร่ายรำเท่านั้น ส่วนผู้ชายทำหน้าที่ตีกลองยาว และเครื่องดนตรีประกอบ ในตอนแรกมีผู้เล่นทั้งหมด 16 คน โดยมีผู้ตีกลองยืน 3 คน และผู้ตีเครื่องดนตรีประกอบได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ฆ้อง อีก 5 คน สำหรับผู้รำมี 4 คู่ 8 คน มีผู้รำคนหนึ่งเป็นหัวหน้า คล้องนกหวีดไว้ที่คอสำหรับเป่าเป็นสัญญาณในการเปลี่ยนท่ารำ ในตอนหลังมีการเพิ่มเครื่องดนตรี เช่น กลองอเมริกันและปี่ชวาขึ้น และเพิ่มความครึกครื้น ก็เพิ่มผู้ร่ายรำเข้าไปอีก

อุปกรณ์ในการเล่น

กลองยาวที่ใช้ตีเป็นกลองยืน 3 ใบ กลองใหญ่ (กลองอเมริกัน) ฉาบเล็ก 1 คู่ ฉาบใหญ่ 1 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ ปี่ชวา 1 เลา ฆ้อง 1 ใบ กรับ 1 คู่และกลองยาวที่ผู้รำใช้ประกอบการร่ายรำอีกคนละ 1 ใบ

สถานที่ตั้ง
อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วันถ้ำตลอด
บุคคลอ้างอิง พระครูญาณโกศล
หมู่ที่/หมู่บ้าน 6
ตำบล เขาแดง อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา รหัสไปรษณีย์ 90210
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่