ประวัติความเป็นมา
ผ้าทอไทลื้อของอำเภอเวียงแก่นนั้น จะสัมผัสได้ถึงความงดงามบนผืนผ้าทอ โดยมีการใช้ศิลปหัตถกรรม ที่มีความเป็นมาของชาวไทลื้อร่วมด้วยบนลายผ้าทำให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์และสัญลักษณ์ของความเป็น ไทลื้อของชาวอำเภอเวียงแก่น โดยชาวบ้านไทลื้ออำเภอเวียงแก่นนั้น มีภูมิลำเนามาจากเขตสิบสองพันนา บางส่วนได้อพยพถิ่นฐานมาอยู่ในอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงรายแห่งนี้ โดยไทลื้อ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มหนึ่งที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในเขตสิบสองพันนา (ปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) ชาวไทลื้อได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานหลายต่อหลายครั้ง ในประเทศไทย การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ไทลื้อคือ ผ้าซิ่น ของผู้หญิงไทลื้อ ที่เรียกว่า “ซิ่นตา” ซึ่งเป็นผ้าซิ่นที่มี ๒ ตะเข็บ มีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ หัวซิ่นสีแดง ตัวซิ่นลายขวางหลากสีต่อตีนซิ่นสีดำ ความเด่นอยู่ที่ตัวซิ่น ซึ่งมีริ้วลายขวางสลับสีสดใส และตรงช่วงกลางมีลวดลายที่ทอด้วยเทคนิคขิด จก เกาะหรือล้วง เป็นลายรูปสัตว์ในวรรณคดี ลายพรรณพฤกษา และลายเรขาคณิต จากการศึกษากลุ่มไทลื้อ ในประเทศไทย พบว่า เอกลักษณ์การทอผ้าที่สำคัญของกลุ่มชนนี้ คือ การทอผ้าด้วยเทคนิค เกาะหรือล้วงหรือที่เป็นที่รู้จักกันว่า “ลายน้ำไหล” ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ทำให้เกิดลวดลายและสีสันที่งดงามแปลกตา และเป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะกลุ่มที่แตกต่างจากผ้าซิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มอื่น ๆ การทอผ้าคือหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของหญิงล้านนาในอดีต ผ้าทอพื้นเมืองมิได้เป็นเพียงเครื่องนุ่งห่ม เพื่อปกปิดร่างกายหรือให้ความอบอุ่นเท่านั้น แต่เหนือกว่านั้น งานศิลปหัตถกรรมบน "ผืนผ้า" มีวิญญาณ มีความหมายและมีคุณค่าสะท้อนถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผู้สวมใส่ ก่อนนั้นการทอผ้าเป็นเพียงการทอเพื่อใช้ในครัวเรือนและขายเล็กน้อย แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นงานที่เสริมรายได้ให้กับหลายครอบครัวและชุมชนที่มีการทอผ้า ในปริมาณที่มากกว่าความต้องการใช้เองภายในชุมชน รูปแบบและสีสรรได้รับการพัฒนาไปอย่างหลากหลาย รวมทั้งลวดลายและคุณภาพการทอ และมีการแปรรูปผ้าทอเป็นเสื้อ กระโปรง กางเกง ผ้าถุงสำเร็จ ผ้าพันคอ กระเป๋า รองเท้า ซองแว่นตา และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
การแต่งกายเอกลักษณ์ไทลื้อ คือ ผ้าซิ่น หรือเรียกว่า “ซิ่นตา” ที่มี 2 ตะเข็บ โดยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
- หัวซิ่นสีแดง
- ตัวซิ่นลายขวางหลากสีต่อตีนซิ่นสีดำ มีริ้วลายขวางสลับสีดำและริ้วรอยลายขวางสลับสีสดใส
- ตรงกลางมีลวดลายทอด้วยเทคนิค ขิดจก เกาะหรือล้วง เป็นลายสัตว์ในวรรณคดี ลายพรรณพฤกษา และลายเรขาคณิต เป็นที่รู้จักกันว่า “ลายน้ำไหล” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะกลุ่ม
วัตถุดิบในการทอผ้า
- ฝ้าย เป็นพืชล้มลุก ต้นให้ดอกจำนวนมากลักษณะของดอกเป็นปุ๋ยแลดูคล้ายกับขนมถ้วยฟูปุยเนื้อข้างในขยายตัวออกมาเป็นสีนวลจึงใช้ส่วนน้ำมาทา เส้นใยถ้าหากต้องการฝ้ายสีอื่น ๆ ก็จะย้อมผ้าโดยใช้วัสดุธรรมชาติ
วัสดุและอุปกรณ์/กี่ทอผ้า
- โรงกี่ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งอีกอันหนึ่งลักษณะของกี่จะมีโครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ประกอบด้วยเสาหลัก 4 เสา มีไม้ยึดติดกัน
- ฟืม หรือฟันหวีมีลักษณะคล้ายหวียาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะแต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน เข้าไปเป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกัน ตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้ายที่ทอเรียง ติดกันแน่นเป็นผืนผ้าฟืมสมัยโบราณทำ ด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปนกหรือเป็นลวดลายต่างๆ สวยงามมาก
- เขาหูก หรือ ตะกอ/ ตระกอคือส่วนที่ใช้สอดด้ายเป็นด้ายยืน และแบ่งด้ายยืนออกเป็นหมู่ๆ ตามต้องการเพื่อที่จะพุ่งกระสวยเข้าหากันได้สะดวกเขาหูกมีอยู่2อัน แต่ละอัน เวลาสอดด้าย ต้องสอดสลับกัน ไปเส้นหนึ่งเว้น เส้นหนึ่ง ที่เขาหูกจะมีเชือกผูกแขวนไว้กับ ด้านบน โดยผูกเชือก เส้นเดียวสามารถจะเลื่อนไปมาได้ส่วนล่างผูกเชือกติดกบัคานเหยียบหรือตีนเหยียบไว้เพื่อเวลา ต้องการดึงด้ายให้เป็นช่องก็ใช้้เทาเหยียบคานเหยียบนี้คานเหยียบจะเป็นตัวดึงเขาหูกให้เลื่อนขึ้นลงถ้าหากต้องการทอเป็นลายๆ ก็ต้องใช้ค้านเหยียบหลายอัน เช่น ลายสองใช้คานเหยียบ 4อัน เรียก ทอ4 ตะกอ ลายสามใช้คานเหยียบ 6อัน เรียก ทอ6 ตะกอจา นวนตะกอที่ช่างทอผา้เกาะยอใช้มีตั้งแต่2–12 ตะกอ ผ้าผืนใดที่ทอหลายตะกอถือว่า มีคุณภาพดีมีลวดลายที่ละเอียด สวยงาม และมีราคาแพง
- กระสวยคือไม้ที่เป็นรูปเรียวตรงปลายทั้งสองข้าง ตรงกลางใหญ่และมีร่องสำหรับ ใส่หลอดด้ายพุ่ง ใช้สำหรับพุ่งสอดไปในช่องด้ายยืนระหว่างการทอผ้า หลังจากที่ช่างทอเหยียบคาน เหยียบให้เขาหูกแยกเส้นด้ายยืนแล้ว
- ไม้แกนม้วนผ้า หรือไม้กำพั่น ชาวบ้านเกาะยอเรียกว่า “พั้นรับผ้า”เป็นไม้ที่ใช้สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้ว ไม้แกนม้วนผ้ามีขนาดความยาวเท่ากับกี่หรือเท่ากับความกวา้งของหน้าผ้า
- คานเหยียบ หรือ ตีนเหยียบ เป็นไม้ใช้สำหรับเหยียบเครื่องบังคับตะกอ เพื่อให้เชือกที่โยงต่อมาจากเขาหูกหรือตะกอดึงด้ายยืนให้แยกออกเป็นหมู่ขณะที่ช่างทอพุ่งกระสวยด้ายพุ่ง เข้าไปขัดด้ายยืนให้เกิดเป็นลวดลายต่างๆ
- สายกระตุก หรือเชือกดึงเวลาพุง่ กระสวยจึงเกิดศัพท์ว่า “กี่กระตุก”โดยช่างทอผ้าจะใช้มือข้างหนึ่งกระตุกสายเชือกนี้กระสวยก็จะแล่นไปแล่นมาเองและใช้มืออีกข้างดึงฟืมให้กระแทกเนื้อผ้าที่ทอแล้วให้แน่น
ขั้นตอนการทอผ้า
1. ปลูกฝ้ายในเดือนแปด เดือนเก้า เก็บฝ้ายในเดือนเกี๋ยงถึงเดือนยี่
2. นำฝ้ายมารวมกัน แล้วนำมาตาก เพื่อเอาสิ่งที่ปนมากับฝ้ายออก
3. นำมาอีดฝ้าย คือ การเอาเมล็ดของฝ้ายออก เหลือไว้เฉพาะยวงฝ้าย
4. นำยวงฝ้าย มาบดเป็นฝ้าย เพื่อให้เข้ากันได้ดี
5. นำมาพันเป็นหางฝ้าย
6. นำผ้าฝ้ายมาปั่นด้วยเครื่องปั่นฝ้าย
7. นำเส้นไหมที่ได้รับจากกานปั่นฝ้ายมาทำเป็นต่อง
8. นำต่องฝ้าย “ป้อ” (ทุบ) ฝ้าย แซ่น้ำ 2 คืน ต่อนำมานวดกับน้ำข้าว (ข้าวเจ้า) ผึ่งไว้ให้แห้ง
9. นำเส้นฝ้ายที่ได้มา “กวักฝ้าย”
10. นำมาเดินเส้นกับหลักเสา
11. นำไปใส่กี่ แล้วนำไปสืบกับ “ฟืม”
12. ฝ้ายที่เหลือนำมาปั่นใส่หลอด แล้วใส่สวยทอ (กระสวยผ้าทอ)
เทคนิคการทอผ้า
เป็นรูปแบบการทอผ้าที่นิยมกันมากในภาคเหนือของประเทศไทย ในกลุ่มไทลื้ออำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย โดยชาวไทลื้ออำเภอเวียงแก่นเรียกการ “เกาะ”
เกาะเป็นวิธีการทอที่ไม่ได้เส้นพุ่งสอดจากริมผ้าด้านหนึ่งไปสู่ริมผ้าอีกด้านหนึ่ง โดยการเกี่ยวและผูกเป็นห่วง รอบเส้นยืน ไปเป็นช่วงตามจังหวัดลวดลาย เรียกกันว่า “ผ้าลายน้ำไหล”หรือเป็นห่วงรอบด้ายเส้นยืน เพื่อยึดเส้นพุ่งแต่ละช่วงไว้ (มิได้ใช้ด้ายเส้นพุ่งพิเศษแบบ "ขิด" และ "จก" ) ชาวไทลื้อส่วนใหญ่เรียกการทอเทคนิคชนิดนี้ว่า "เกาะ" แต่มีชาวไทลื้อบางแห่งที่เรียกต่างออกไป เช่น เรียกว่า "คล้อง" (ออกเสียงว่า "ก๊อง" ) "ค้อน" (ออกเสียงว่า "ก๊อน" ) หรือ "ล้วง" (ออกเสียงว่า "ล้ง" ) ชาวไทลื้อบางแห่งใช้วิธีเหยียบไม้บังคับขา แล้วใช้นิ้วสอดด้ายเส้นพุ่ง จึงเรียกลวดลายที่เกิดจากการทอด้วยเทคนิคเกาะและเหยียบไม้นี้ว่า "ดอกย่ำแป"
ผ้าจกตามลักษณะลวดลาย
1. ลวดลายอุดมคติ เป็นลวดลายที่สะท้อนความเชื่อในศาสนาออกมาเป็นรูปสัญลักษณ์อันเกี่ยวเนื่องกับศาสนา พบลวดลายลักษณะนี้ในซิ่นตีนจกเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ รูปโคม ขัน น้ำต้น นาค หงส์สะเปา ที่ประกอบขึ้นเป็นซิ่นตีนจก นอกจากนี้ยังปรากฏ รูปขันดอก รูปหงส์ในผ้าป้าด (ผ้าพาดบ่า) หรือลายนาคในหน้าหมอน เป็นต้น
2. ลวดลายคนและสัตว์ ส่วนใหญ่พบในผ้าหลบสะลี (ผ้าปูที่นอน) ผ้าป้าด ได้แก่ รูปม้า ช้าง ไก่ ลา ลายเขี้ยวหมา ลายงูเตวตาง ลายฟันปลา และลายคน ในหน้า หมอนได้แก่ รูปปู กบ เป็นต้น
3. ลวดลายพรรณพฤกษา พบในหน้าหมอนเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ลายดอกจันทร์ กุดผักแว่น เป็นต้น
4. ลวดลายเปรียบเทียบสิ่งของใกล้ตัว เช่น ลายกุดตาแสง กุดพ่อเฮือนเมา กุดกระแจ กุดขอเบ็ด กุดสามเสา พบลวดลายเหล่านี้ในหน้าหมอน
ลักษณะเด่นที่เป็นอัตลักษณ์
ชาวไทลื้ออำเภอเวียงแก่นนิยมทอผ้าลายน้ำไหลใช้ฝ้ายสีสันที่สดใส ทอย้อนสลับกลับไปมาตามจังหวะลวดลาย และนิยมฝ้ายสีขาวทอเกาะเป็นขอบคล้ายฟองคลื่นของสายน้ำ แทรกสลับระหว่างช่วงลวดลายในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสีสันให้หลากหลาย และทำด้วยดิ้นเงิน ดิ้นทอง เพื่อเพิ่มความหรูหราแวววาวให้ผืนผ้า
เอกลักษณ์ในผ้าทอของไทลื้อ
- มีการแต่งลายกลางตัวซิ่นให้มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยวิธีการทอทั้งแบบเกาะและจก มีลักษณะลายแบบเรขาคณิต
- ลักษณะลายจะเป็นริ้วลายขวางสลับสีที่สดใสโดดเด่น สีที่นิยมคือ แดง เหลือง ชมพู เชียว ม่วง
ผ้าซิ่นไทลื้อ
- นิยมทอด้วยฝ้าย
- มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีลวดลายและใช้เทคนิคการทอตามที่สืบทอดต่อกันมาตามแต่ละพื้นที่ต่างๆ ถูกใช้เป็นอัตลักษณ์เพื่อบอกความเป็นไทลื้อในแต่ละพื้นถิ่น
- ผ้าซิ่นไทลื้อ จะมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือจะมีลวดลายขนาดกว้างอยู่ในส่วนช่วงกลางของผืนผ้า ในแต่ละท้องที่อาจมีการตกแต่งลวดลายด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน ทั้งขิด จก เกาะหรือล้วง