ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 45' 38.7385"
16.7607607
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 1' 32.2284"
104.0256190
เลขที่ : 193625
กระเป๋าไม้ไผ่สาน
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 29 เมษายน 2564
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 29 เมษายน 2564
จังหวัด : กาฬสินธุ์
2 3232
รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

ตะกร้า หรือกระหม่องของชาวผู้ไท ถือเป็นเครื่องใช้ประเภทเครื่องจักสาน ที่เกิดจากภูมิปัญญา

ที่สืบสานมาจากบรรพบุรุษ เป็นการจักสานให้เป็นรูปทรงอย่างประณีตโดยใช้ไม้ไผ่ จนเกิดเป็นผลงานที่สวยงาม กลุ่มจักสานในชุมชนเกิดจากการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้าน ที่เล็งเห็นถึงคุณค่าภูมิปัญญาไทย

ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษและมีความต้องการ ที่จะดำรงไว้เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตของชาวผู้ไท เพื่อมุ่งสร้างรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหลัก และเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาที่มีมา ซึ่งชุมชนให้การตอบรับเป็นอย่างดี จนทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการทอผ้าและการจักสานในชุมชน

ชุมชนในตำบลนาคูมีเครื่องจักสาน การทอผ้าไหมแพรวาก็เป็นภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่เป็น อัตลักษณ์ที่โดดเด่นสืบทอดกันมาควบคู่กับกับเครื่องจักสาน ผ้าแพรวาจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของชาว ผู้ไทจะเห็นได้ว่าวิถีชีวิตของชาวผู้ไท มีวัฒนธรรมในเรื่องการถัก–ทอ เด่นชัด ที่มีความประณีตสวยงามมาก

แรงบันดาลใจในการผลิตกระเป๋าไม้ไผ่สาน (กระหม่องภูไท)

จากต้นทุนทางวัฒนธรรม ทั้งสองสิ่งของชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวผู้ไทตำบลนาคู ทำให้ชุมชนได้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่แปลกใหม่ขึ้น โดยสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ จึงได้เกิดความริเริ่มในการนำตะกร้า หรือกระหม่อง ที่ชาวผู้ไท ที่นิยมใส่สิ่งของที่จำเป็นไปวัด ซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตของชาวผู้ไทที่จะใช้กระหยัง (ตะกร้าไม้ไผ่สาน ขนาด 15 นิ้ว) หรือกระหม่อง (ตะกร้าไม้ไผ่สาน ขนาด 6 – 8 นิ้ว) ใส่ของไปวัด แทนการใช้กระเป๋า โดยไม่มีการประดับตกแต่ง จากความคิดริเริ่มดังกล่าว ประกอบกับจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้มีนโยบายรณรงค์การแต่งกายด้วยชุดผู้ไท ชุดผ้าแพรวา และแต่งกายด้วยผ้าไทย ทางชุมชนจึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นดังกล่าว เพื่อให้เกิดความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยใช้ผ้าแพรวามาประดับตกแต่ง ประดิษฐ์เป็นชิ้นงานเป็นตะกร้าสวยงาม ในการถือไปงาน เทศกาลต่างๆ ควบคู่กับการใส่ชุดผู้ไท ชุดผ้าไหมแพรวา ตลอดจนชุดผ้าไทย

ตะกร้าตกแต่งแพรวา จึงถือเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ได้ผนวกภูมิปัญญาสองด้าน (ด้านการ ทอผ้า และการจักสาน) ที่ถือเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน มาเชื่อมโยงสร้างสรรค์ และต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีรูปแบบที่แปลกตา และสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวันซึ่งภูมิปัญญาทั้งสองประเภทเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้ว จึงนำมาเพิ่มมูลค่าให้เป็นสินค้า ประเภทของใช้ เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของชาวผู้ไท

ทุนทางวัฒนธรรม ที่เป็นแรงบันดาลใจในการผลิต

แรงบันดาลในการผลิตที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตะกร้าตกแต่งแพรวา (กระหม่องตกแต่งผ้าแพรวา) เกิดจากสิ่งต่างๆ ดังนี้

1) ความมุ่งหมายที่จะนำทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน อันได้แก่ ผ้าแพรวา ตะกร้าสานของชาวผู้ไท มาสร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

2) ประโยชน์ของการใช้งานง่าย สามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน และบ่งบอกถึงความ เป็นไทย

3) ต้องการนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยการใช้ผ้าแพรวามาสร้างชิ้นงานเชิงสัญลักษณ์ของชุมชน

จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ลักษณะโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ ตะกร้าหุ้มผ้าแพรวา คุณสมบัติ คือ

1. เป็นผลิตภัณฑ์สื่อถึงอัตลักษณ์ของชุมชนผู้ไท จังหวัดกาฬสินธุ์

2. เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

3. เป็นงานหัตถกรรมที่มีความประณีตและต้องใช้ทักษะสูงในการสร้างผลิตภัณฑ์

4. เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง และยังสะท้อนให้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอันดีงามของคนในชุมชนอีกด้วย

5. เป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย

6. ตะกร้าหุ้มผ้าแพรวาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบไม้ไผ่จากธรรมชาติ งานประณีตจากฝีมือช่างเก่าแก่ของคนในชุมชน

7. ทำความสะอาดสามารถล้างน้ำได้ เช็ดให้แห้งไม่ควรเก็บในที่เปียกชื้น

8. ส่งเสริมหัตถกรรมไทย ภูมิปัญญาชาวบ้านได้สืบทอดงานฝีมือต่อชนรุ่นหลัง เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพเพิ่มรายได้ วัสดุที่ใช้ไม่เป็นพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

9. ตะกร้าหุ้มผ้าแพรวาแต่ละชิ้นมีลักษณะที่มีความคงทนเพราะดึงด้วยแรงที่สม่ำเสมอ มีการออกแบบ ฝีมือการเย็บด้วยความละเอียด ประณีต

10. ตะกร้าหุ้มผ้าแพรวา เหมาะเป็นของฝาก ของขวัญ ใช้แทน กล่องของขวัญ กระเช้าดอกไม้ได้เก๋ไก๋

11. ใช้งานตามความเหมาะสมที่ต้องการ

สถานที่ตั้ง
นางสาวปิยะพรรณ สกุลซ้ง
เลขที่ 3
ตำบล นาคู อำเภอ นาคู จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง พิชิตพล ปาระภา อีเมล์ m.culture.ks@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัด กาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่