ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 51' 36.7081"
6.8601967
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 56' 47.4277"
99.9465077
เลขที่ : 193655
สะพานตายาย
เสนอโดย สตูล วันที่ 1 พฤษภาคม 2564
อนุมัติโดย สตูล วันที่ 1 พฤษภาคม 2564
จังหวัด : สตูล
0 463
รายละเอียด

สะพานตายาย ชื่อที่เพี้ยนจากภาษามลายู

ปาปันอันย้าย ( Papan Anjal )

ปาปันตันไย_ปาปันตาไญ ( Papan Tanyai )

ตอนที่ตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บตั้งเมืองสตูลใหม่ๆหลังปี2382 ท่านได้สร้างถนนเชื่อมเมืองมำบังสาครา*ไปยังกำปงจีนา (Kampung Cina /ฉลุง/บ้านจีน) ตรงชายขอบเมืองมำบังด้านทิศเหนือมีลำคลองสายหนึ่งชื่อคลองเจ๊ะสมาดทอดตัวจากทิศตะวันออกคดโค้งไปทางทิศตะวันตก ถนนเส้นนั้นต้องข้ามลำคลองนี้เพื่อไปยังกำปงจีนา

มีเรื่องเล่าว่า สะพานข้ามคลองที่สร้างสมัยแรกๆทำจากไม้กระดานแผ่นยาววางบนเสาและคาน สมัยนั้นไม่แข็งแรงเท่าใดนัก เวลาคนเดินข้ามจึงเกิดอาการยวบยาบ ภาษามลายูเรียกไม้กระดานว่าปาปัน(papan) อาการยวบยาบคือ อันยัล(anjal)ในภาษามลายูกลาง แต่มลายูถิ่นสตูลออกเสียงว่า"อันย้าย" ชาวสตูลสมัยนั้นเรียกสะพานนี้ว่า "ยัมบาตันปาปันอันย้าย"( Jambatan Papan Anjal )**

ในสมัยพระยาภูมินารถภักดี เรียกสะพานนี้ว่า ยัมบาตันปาปันตันไย ( Jambatan Papan Tanyai ) *** แปลว่าสะพานกระดานกระทืบ ต่อมาเมื่อคนสตูลพูดภาษาไทยกันมากขึ้นคำเรียกก็กร่อนสั้นลงและผสมคำไทยเป็น "พานตาย้าย" ในช่วง พ.ศ.2510 - 2530 เราเรียกกันว่า "พานตาย้าย" ยังมีเสียงไม้โทอยู่ตลอดเวลา

" (สะ)พานตาย้าย" ไม่เคยมีชื่ออย่างเป็นทางการ คำว่า"พานตาย้าย" เป็นชื่อที่เราเรียกตามๆกัน จนกระทั่งกรมทางหลวงไปทำป้ายชื่อคลองเจ๊ะสมาด (อ่านว่า เจ๊ะ-สะ-หมาด) ผิดเป็น "คลองตายาย" สะพานนี้จึงมีชื่อเพี้ยนไปเป็น "สะพานตายาย" ไปโดยปริยาย [ ดูภาพชื่อคลองตายายของกรมทางหลวงใต้โพสต์ ]

ก่อนจบโพสต์นี้ขอยืนยันว่า ไม่เคยมีตายายท่านไหนไปปลูกขนำแถวๆสะพานนั้น เมื่อก่อนสองฝั่งคลองบริเวณสะพานมีแต่ต้นไม้ ไม่เคยมีใครไปสร้างบ้านอยู่ ตึกแถวใกล้ๆสะพานที่เห็นในปัจจุบันคือที่อยู่อาศัยรุ่นแรกที่เกิดจากการนำดินไปถมที่เพื่อสร้างอาคารขึ้นมา

___________________

*"นครีสโตยมำบังสาครา" ( Negeri Setul Membang Segara )เป็นชื่อเมืองสตูลเมื่อแรกสร้างสมัยตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บ หมายถึงสตูลทั้งจังหวัดรวมทุกเขตปกครอง

▪️Setul เป็นการสะกดคำตามภาษามลายูรูมี ออกเสียงมลายูกลางว่า "เซอตุล" มลายูถิ่นออกเสียง "สโตย" ภาษาเขียนๆเหมือนกันแต่ออกเสียงต่างกัน

▪️"มำบังสาครา"( Membang Segara ) หมายถึงตัวตำบลมำบังซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครอง แปลว่า"มำบังริมสายน้ำ" [ พบหลักฐานในเอกสารของเฮนรี เบอร์นี่ เรียกชื่อตัวตำบลมำบังว่า Membang Segara เมื่อปี 2368 ก่อนตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บจะสร้างเมือง ]

▪️ต่อมาตำบลนี้ถูกเรียกว่า"มำบังนครา" (Membang Negara)แปลว่า"นครมำบัง" ในสมัยปกครองของพระยาอภัยนุราช (ตนกูอับดุลเราะห์มาน) [ พบหลักฐานในบันทึกจดหมายเหตุพระยาภูมินารถภักดีเรียก"มำบังนครา"ในเอกสารเล่มที่ 1 หน้า 52 ลงวันที่ 11 เดือน 10 ฮ.ศ.1317 (พ.ศ.2439) ]

**ยัมบาตัน ( Jambatan ) แปลว่าสะพาน "Jambatan Papan Anjal" จึงแปลว่า "สะพานไม้กระดานยวบยาบ"

***พบหลักฐานชื่อนี้ในบันทึกจดหมายเหตุพระยาภูมินารถภักดีเล่ม1 หน้า 326 ลงวันที่ 15 เดือน 10 ฮ.ศ.1319 ( พ.ศ.2441 ) และ เล่ม 1 หน้า 591 ลงวันที่ 8 เดือน 8 ฮ.ศ.1321 ( พ.ศ.2443 )

▪️คำ papan tanyai [ เสียง ny ออกเสียงแบบคำว่า หญ่อญา จึงงมีเสียงคล้ายคำว่า ตา-ไญ หรือ ตาญ้าย / ตาย้าย ] papan Tanyai แปลว่ากระดานกระทืบ. [ ข้อมูลจาก Amad Langputeh ]

____________________

ภาพสะพานตายายถ่ายเมื่อปี 2509 ขณะขบวนศพของบิดาคุณกำพล อัครสุตกำลังข้ามสะพานตายายเพื่อไปยังสุสานจงหัวงี่ซัว (中華義山) ของสมาคมจงหัว

คำสำคัญ
สะพานตายาย
สถานที่ตั้ง
จังหวัด สตูล
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สาวศุภณิจ พัฒภูมิ อีเมล์ patapoom01@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่