ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 3' 42.8811"
16.06191141950999
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 39' 30.5779"
103.65849387014464
เลขที่ : 193680
วัดบูรพาภิราม
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 6 พฤษภาคม 2564
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 6 พฤษภาคม 2564
จังหวัด : ร้อยเอ็ด
0 329
รายละเอียด

ตั้งอยู่ที่ถนนผดุงพานิช ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2456 เดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดบูรพาภิราม เพราะในสมัยนั้นได้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพักค้างแรมของพ่อค้าและประชาชนที่อาศัยการเดินเท้าเป็นหลัก เพราะยังไม่มีพาหนะการเดินทางสะดวกเหมือนปัจจุบัน วัดหัวรอจึงเป็นจุดเริ่มของการพักแรมในคืนแรกของการเดินทางและมักเป็นจุดนัดพบกันที่วัดแห่งนี้

นอกจากนี้กายในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี (พระเจ้าใหญ่) อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวร้อยเอ็ด ซึ่งแสดงถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอันแรงกล้าที่ได้สร้างพระพุทธรูปปางประทานพรที่กล่าวกันว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งองค์พระเจ้าใหญ่ยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่คอยปกป้องคุ้มครองชาวร้อยเอ็ดให้มีชีวิต ความเป็นอยู่อย่างร่มเย็น เป็นสุขด้วยความสูงขององค์พระทำให้เกิดความเชื่อว่า หากได้มากราบไหว้ จะได้อานิสงส์สูงเทียมเมฆ เทียมฟ้า ทำการสิ่งใดก็สำเร็จผลด้วยประการทั้งปวง

สถานที่ตั้ง
วัดบูรพาภิราม
เลขที่ 559/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน ผดุงพานิช
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
https://drive.google.com/file/d/1r0a4hVCrGtNGQKmdQS5wDNKZ9o9vfsXS/view
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ้ด อีเมล์ roietculture@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด อีเมล์ roietculture@gmail.com
เลขที่ - หมู่ที่/หมู่บ้าน - ซอย - ถนน -
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด รหัสไปรษณีย์ 45000
โทรศัพท์ 043512606 โทรสาร 043512605
เว็บไซต์ http://www.m-culture.go.th/roiet
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่