ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 52' 58.3352"
14.882870888571194
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 38' 21.7661"
103.63937948174863
เลขที่ : 195194
เครื่องจักสาน
เสนอโดย สุรินทร์ วันที่ 27 ธันวาคม 2564
อนุมัติโดย mculture วันที่ 20 กันยายน 2565
จังหวัด : สุรินทร์
0 741
รายละเอียด

เครื่องจักสาน

เครื่องจักสานก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น ส่วนใหญ่มักนิยมนำไม้ไผ่ หวาย หรือ กก มาทำเป็นเครื่องจักสาน เช่น นำไม้ไผ่มาสานเป็นชะลอม ซุ่มไก่, หวาย นำมาสานเป็นตะกร้าหวาย และ กก นำมาทอเป็นเสื่อกก เป็นต้น เครื่องจักสานนิยมผลิตกันมาก มีหลายพื้นที่ที่ผลิตเครื่องจักสาน เช่น อ.ศรีณรงค์,อำเภอเมืองสุรินทร์ (เพี้ยราม)

หวายเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่งที่เป็นเถาเลื้อยไปตามต้นไม้ใหญ่ และหวายมีหนาม คุณสมบัติใช้ประโยชน์ในการทำเฟอร์นิเจอร์ หวายส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มาจากหวายธรรมชาติ ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ของหวาย เป็นส่วนของลำต้นที่ลอกเอากาบใบออกแล้ว นำมาจักสานเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

๑. การเตรียมวัสดุและเครื่องมือในการจักสานหวาย

- คัดหวาย เส้นเล็กเอาไว้ทำลูกทรง

- หวายน้ำ เอาไว้ทำโครงสร้างตะกร้าดัดเป็นรูปทรง

- ไม้ก้างปลา เอาไว้ทำโครงสร้างรูปทรงต่างๆ

- นำวัตถุดิบแต่ละอย่างแช่น้ำพอประมาณ (๒๐-๓๐ นาที)

๒. เตรียมเครื่องมือต่าง ๆ (มีดตอก เหล็กแหลม แป้นรีดหวาย ค้อน ไม้ดัดลูกกรง)

๓. วิธีการและขั้นตอนการจักสานหวายขั้นตอนการผลิต

- การผ่าหวาย เลือกหวายผ่าประมาณ ๑๐ ต้น ควรเลือกลำต้นใหญ่กว่าลูกกรง หวาย ๑ ต้น ควรผ่าให้ได้อย่างน้อย ๔ ส่วน จนสุดลำต้น เทคนิคการผ่ามีดต้องคม ผ่าจากปลายไปหาโคน โดยใช้กำลังมือตั้งมีดตอก และใช้มืออีกข้างดันหวายตามความถนัด บังคับอย่าให้บิดเบี้ยว หวายจะขาดกลางลำ

- รีดหวาย ใช้มีดตอกรีดเอาไส้หวายออกให้เหลือส่วนที่เป็นเปลือกเท่านั้นจากนั้นสอดเข้าไปในรูแป้น รีดหวายทีละเส้น ค่อยๆ ดึงจนสุดเส้นหวาย และควรรีดให้ได้ขนาดเท่ากันเส้นหวายจะได้เป็นระเบียบสวยงาม

- ตีลายลูกกรง ให้นำหวายหางหนูที่แช่น้ำ ๑๐ ต้น มาดัดลูกกรงครั้งละ ๒ - ๔ ต้นจนครบ ๑๐ ต้น และสุดลำต้น โดยใช้หวายวางทาบบนไม้ดัดลูกกรง และใช้ค้อนทุบเบา ๆ พอให้หวายหักมุมเท่านั้น

- ดัดรูปทรงตะกร้า (กลม,เหลี่ยม,รี และอื่น ๆ)

๔ การทำฐาน (ก้นตะกร้า)

- นำไม้เจลยมาดัดเป็นวงกลมวงที่ ๑ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๘ ซ.ม. หรือตามต้องการใช้ตะปูเข็มตอกยึดเอาไว้ จากนั้นใช้เส้นหวายที่รีดแล้วพันรอบวงกลม โดยพันเว้นช่องแต่พองาม

- นำหวายน้ำที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ ๑ ตีทับวงที่ ๑ ใช้ตะปูเข็มตอก แล้วใช้เส้นหวายที่รีดมาพันรอบวงกลมทั้ง ๒ วงให้ติดกันจนครบรอบวงกลม

- ใช้หวายน้ำ ๒ เส้น ที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ ๑ ใช้ตะปูเข็มตอกยึดรอบวง เพื่อเป็นฐานรองรับก้นตะกร้าให้แข็งแรง

- นำไม้เจลยจำนวน ๘ ท่อน มีขนาดยาวเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมตะกร้าตีกากะบาท ๘ มุมตอกตะปูยึดกับวงกลม

- ใช้เส้นหวายที่รีดแล้ว สานเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมคล้ายใยแมงมุม ความกว้างพอประมาณ (๕ ซ.ม.)

- ใช้หวายหางหนูทั้งต้นที่เลือกไว้มีขนาดเท่ากัน นำมาขดให้เต็มวงกลมคล้ายขดยากันยุงใช้เส้นหวายสานยึดแต่ละเส้นจนครบ สิ้นสุดการทำก้นตะกร้าโดยสมบูรณ์

๕. การขึ้นลูกกรง

- การขึ้นลูกกรง นำเหล็กแหลมเจาะที่ขอบฐานตะกร้าให้เป็นรู ๕-๗ ที่ตามจำนวนลูกกรง จากนั้นนำหวายลูกกรงที่เตรียมไว้เหลาปลายต้นทั้ง ๕-๗ ให้แหลม ใช้ปลายแหลมของลูกกรงสอดลงไปในรูที่เจาะไว้ ต่อจากนั้นใช้มือดัดลูกกรงขึ้นเป็นลวดลาย ใช้เส้นหวายสานยึดติดกับขอบฐานจนครบ

- การใส่ขอบขั้น ๑ (ภาษาพื้นเมืองสุรินทร์เรียกว่า ใส่กะนับ หรือ เอวตะกร้า) โดยนำต้นเจลยที่ดัดเป็นวงกลม มาวางทับกับลูกกรงชั้นที่ ๑ ใช้เส้นหวายที่รีดแล้วสานยึดวงกลมกับลูกกรงไว้จนครบรอบวงกลม

- นำหวายน้ำที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ ๑ ตีทับบนขอบวงกลมที่ ๑ ตอกตะปูยึดทั้งสองวงกลมจนครบรอบ เสร็จตัวกระจาด ๑ ชั้น ต่อไปก็เป็นการ ทำหูจับ

๖. การทำหูจับ (มือจับ, หูหิ้ว)

- ใช้หวายน้ำที่มีขนาดใหญ่พอสมควร มาดัดเป็นรูปโค้ง ใช้ตะปูตอกยึดทั้ง ๒ ข้างติดกับฐานตะกร้าและขอบปากตะกร้าโค้งขนาดพอที่จะสอดนิ้ว ๔ นิ้ว ได้เป็นหูจับ

- นำหวายมาทาบบนขอบตะกร้า และหูจับให้โค้งตาม ใช้ตะปูเข็มตอกยึดติดกันไว้โดยรอบ

- ใช้เส้นหวายรีดพันรอบขอบปากตะกร้าและหูจับ เว้นช่องแต่ละช่องให้ พองามต่อไปก็สานจูงนางเพื่อให้เป็นลวดลายสวยงาม

ที่มา : http://craftinthailand.blogspot.com/2011/08/blog-post.html

สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20 ซอย - ถนน -
ตำบล เมืองที อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมสุรินทร์
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรม สุรินทร์ อีเมล์ surin@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน Admin
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่