ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 11' 38.5876"
12.1940521
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 22' 25.6091"
102.3737803
เลขที่ : 195341
ขนมเล็บมือนาง (ขนมควยตาอุ้ย)
เสนอโดย ตราด วันที่ 25 มกราคม 2565
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 25 มกราคม 2565
จังหวัด : ตราด
0 1169
รายละเอียด

เหตุที่มาของชื่อขนมนี้มีที่มาที่ไป ซึ่งเล่าไว้ในนิทานพื้นบ้านเมืองตราด ว่าด้วยเรื่องของ ตาอุ้ยและภรรยา วันหนึ่งตาอุ้ยไปเยี่ยมเพื่อนที่บ้าน ภรรยาของเพื่อนตาอุ้ยก็ออกมาต้อนรับอย่างดี มีขนมของว่างและน้ำดื่มเลี้ยงรับรอง พอตาอุ้ยกลับมาบ้าน ก็มาเล่าให้ภรรยาฟังว่าเมียเพื่อนนั้นสวย เสียงก็ไพเราะ เหมือนนกกาเหว่า และจัดเตรียมน้ำท่าเลี้ยงดูอย่างดี พร้อมทั้งกำชับกับภรรยาว่า หากเพื่อนมาเยี่ยมบ้าน ให้ต้อนรับเค้าเช่นเดียวกันนี้ และแล้ว ก็ถึงวันที่เพื่อนมาเยี่ยมตาอุ้ยที่บ้าน ภรรยาตาอุ้ย ก็คอยอยู่ในครัว รอให้สามีเรียกไปแนะนำให้รู้จักกับเพื่อน ด้วยความที่ภรรยาตาอุ้ยเป็นคนซื่อๆ ก็เลยเอาสังเวียนคลุมหัวมาด้วย พอตาอุ้ยเรียกก็ขานรับ ว่า กาเหว่า กาเหว่า ตามแบบที่ได้ฟังตาอุ้ยเล่าถึงภรรยาเพื่อน ตาอุ้ยอับอายมาก แต่ภรรยาก็มาถามว่า จะให้ทำขนมอะไรเลี้ยงเพื่อนดี ตาอุ้ยตอบกลับด้วยความโมโหว่า "ขนมควยไง" ภรรยาตาอุ้ย ก็ยังคงซื่อต่อไป เข้าครัว จัดแจงนวดแป้ง โม่แป้งอย่างดี แล้วเอามาปั้นเป็นรูปอย่างว่า ใส่หม้อต้ม ตักใส่จาน แต่คิดได้ว่ายังขาดอีกอย่าง จึงไปขูดมะพร้าวหยาบๆ โรยทับ แล้วเอามาเสิร์ฟให้เพื่อนตาอุ้ย ทุกคนก็สงสัยว่านี่คือขนมอะไร ภรรยาก็ว่า "ขนมควยตาอุ้ย" ไง เพื่อนตาอุ้ยก็กินด้วยเสียมิได้ แต่ปรากฏว่าอร่อย เลยลองเอาไปทำบ้าง และนับจากนั้น คนโบราณก็เรียกขนมชนิดนี้ว่า ควยตาอุ้ย เป็นต้นมา ก่อนที่สมัยใหม่จะเปลี่ยนไปเรียกว่า "ขนมเล็บมือนาง" แทน

สถานที่ตั้ง
ตำบล คลองใหญ่ อำเภอ แหลมงอบ จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ตำบล คลองใหญ่ อำเภอ แหลมงอบ จังหวัด ตราด รหัสไปรษณีย์ 23000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่