ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 41' 40.4707"
15.694575183302925
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 16' 0.408"
104.2667799980309
เลขที่ : 195505
แหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์หนังประโมทัย ตำบลโพนทัน
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : ยโสธร
0 358
รายละเอียด

พิพิธภัณฑ์หนังประโมทัยตำบลโพนทันเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่จัดแสดงนิทรรศการ องค์ความรู้เกี่ยวกับหนังประโมทัย ประวัติความเป็นมา ลักษณะตัวละคร รวมทั้งเป็นที่จัดสาธิตการแสดงหนังประโมทัยเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ มีจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์จากหนังประโมทัย ซึ่งคณะหนังประโมทัยที่มาจัดการแสดงที่พิพิธภัณฑ์ มี ๒ คณะ คือ คณะเพชรโพนทันและคณะรุ่งเรืองเสียงทอง ซึ่งเป็นคณะหนังประโมทัยที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านโพนทัน ตำบลโพนทัน ทั้ง ๒ คณะหนังประโมทัยอีสานมีลักษณะคล้ายคลึงกับหนังตะลุงของภาคใต้ มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปหลายชื่อ เช่น หนังปราโมทัย หนังประโมทัย หนังบักตื้อ หรือหนังบักป่องบักแก้ว ซึ่งสองชื่อหลังมาจากชื่อรูปตัวตลก การแสดงหนังประโมทัยเกิดจากการแผ่ขยายวัฒนธรรมหนังตะลุงของภาคใต้ มายังภาคอีสานโดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการแสดงจนเป็นที่ยอมรับของคนในพื้นที่ นั่นคือการนำหมอลำกับหนังตะลุงมารวมกัน องค์ประกอบของการแสดงหนังประโมทัยที่สำคัญคือผู้เชิดตัวหนังโรงและจอหนัง บทพากย์บทเจรจา ดนตรีประกอบ ตลอดจนแสงเสียงที่ใช้ในการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์ แต่ต่อมาได้มีการนำวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานมาแสดงด้วย เช่น สังข์ศิลป์ชัย จำปาสี่ต้น ท้าวก่ำกาดำ ขูลูนางอั้ว การแสดงหนังประโมทัยเรื่องวรรณคดีอีสานนั้น จะแสดงเหมือนหมอลำผสมหนังตะลุง คือ ตัวพระ แม้จะพากย์และเจรจาเป็นภาษาไทยกลางแต่ก็สามารถร้องหมอลำได้ด้วย ตัวนางเล่นแบบหมอลำ เจรจาด้วยภาษาอีสาน

สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์หนังประโมทัย ตำบลโพนทัน
หมู่ที่/หมู่บ้าน โพนทัน
ตำบล โพนทัน อำเภอ คำเขื่อนแก้ว จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสาววราลักษณ์ ไศลบาท
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร
อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35000
โทรศัพท์ 045715137
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่