โย้ยกลองเลงเป็นศิลปะพื้นบ้านของไทโย้ยบ้านอากาศ "กลองเลง" เป็นกลองสองหน้าทำจากไม้ประดู่ หุ้มด้วยหนังวัว-หนังควาย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง๕ เซนติเมตร เป็นเครื่องดนตรีที่ไทโย้ยบ้านอากาศนำออกมาใช้ตีเล่นในงานบุญผะเหวดประจำปีมาตั้งแต่อดีต จากการสัมภาษณ์พ่อวีระพงษ์ แง่มสุราช (สัมภาษณ์ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๓) เล่าถึงจุดกำเนิดของการแสดงโย้ยกลองเลงของไทโย้ยบ้านอากาศไว้ว่า ในอดีตไม่ได้เป็นการแสดง โย้ยกลองเลงอย่างทุกวันนี้เป็นเพียงกิจกรรมสำหรับการออกแผ่ปัจจัยในงานบุญผะเหวด โดยก่อนวันงานบุญผะเหวด ๑ วัน ช่วงเวลาประมาณ ๑๘.0๐ น. ชาวบ้านจะจับกลุ่มกันนำกลองเลงออกไปตี โดยเดินไปทุกหลังคาเรือนอ้อมคุ้มวัดและคุ้มใกล้เคียงเพื่อแผ่ปัจจัย ข้าวต้ม ขนม สุรา สาโท แล้วจะนำปัจจัยทั้งหลายที่รวบรวมได้ไปถวายวัด ในตอนเช้าของวันรวมบุญจึงแยกย้ายกันกลับบ้าน เมื่อถึงเวลาแห่ผะเหวดจึงมาแห่พระเวสสันดรเข้าสู่วัด ซึ่งใน ขบวนแห่จะมีการฟ้อนรำตามจังหวะกลองเลงอย่างสนุกสนาน