ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 29' 27.6342"
16.4910095
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 18' 43.529"
104.3120914
เลขที่ : 195780
วัดพิจิตรสังฆาราม หมู่ที่ ๑ บ้านโนนยาง ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร
เสนอโดย มุกดาหาร วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565
อนุมัติโดย มุกดาหาร วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : มุกดาหาร
0 209
รายละเอียด

วัดพิจิตรสังฆาราม

หมู่ที่ ๑ บ้านโนนยาง ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

๑. ชื่อข้อมูลวัดพิจิตรสังฆาราม

๒. รายละเอียดข้อมูล

๒.๑ ประวัติความเป็นมา/สภาพทั่วไป

วัดพิจิตรสังฆาราม สร้างเมื่อปี พ.ศ.2464 นำโดยพระเหรียญู-เจ้าไชยมาส-เจ้าราชรินทร-นายติว พร้อมด้วยชาวบ้านร่วมกันสร้าง ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๘ วัดพิจิตรสังฆาราม เป็นวัดสำคัญประจำหมู่บ้านโนนยาง ซึ่งเป็นกลุ่มคนภูไท บริเวณวัดมีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ เศษ เป็นวัดที่ไม่มีฌาปนสถานภายในวัด เป็นรูปแบบของวัดที่เป็นศูนย์กลางของชาวภูไท ในจังหวัดมุกดาหาร ตัววัดตั้งอยู่ท้ายหมู่บ้านทางทิศใต้ ซึ่งเป็นที่ราบ มีห้วยบังอีไหลผ่านทางทิศเหนือห่างออกไปประมาณ ๑ กิโลเมตร ห้วยแคนไหลผ่านด้านทิศใต้ ห่างออกกไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ด้านหลังวัดเป็นทุ่งนามองเห็นภูเขาสวยงาม ภายในวัดประกอบด้วย เสนาสนะ ได้แก่ อุโบสถ ศาลาการเปรียญ หมู่กุฏิสงฆ์ เป็นสำคัญ เป็นวัดที่อนุรักษ์ธรรมาสน์เสาเดียว ซึ่งตั้งอยู่บนศาลาการเปรียญ (โรงธรรมหรือหอแจก) เป็นธรรมาสน์เสาเดียวที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งหอแจก หรือโรงธรรม หรือศาลาการเปรียญ ยังคงใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของชาวบ้านและพระสงฆ์ ทั้งในวันธรรมดาและในวันธรรมสวนะ หรือวันพระ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

๒.๒ เส้นทางเข้าถึง

ออกเดินทางจากอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ไปตามทิศตะวันตกตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๔๒ ประมาณ ๒ กิโลเมตร จะเข้าเขตหมู่บ้านโนนยาง เลี้ยวซ้ายบริเวณโรงเรียนบ้านโนนยาง เข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ก็จะถึงวัดพิจิตรสังฆาราม หรือ วัดบ้านโนนยาง

๒.๓ เสนาสนะที่สำคัญ

๒.๕.๑ ธรรมาสน์เสาเดียว ตั้งอยู่บนศาลาการเปรียญ (หอแจก) ภายในวัดพิจิตรสังฆาราม สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ หมดเงิน ๑๑๓ บาทถ้วน ลักษณะของธรรมาสน์ แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

ส่วนที่ ๑ เสาธรรมาสน์ เป็นเสาไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่เสาเดียว ส่วนกลางเสาทำเป็นเอวคอดสลักลายบัวคว่ำ บัวหงาย เขียนลายตกแต่งด้วยสีฟ้า สีแดง สีเหลือง และสีขาว บริเวณตัวเสาทำคันทวยนาคขนาดใหญ่ ๔ ตัว สำหรับเป็นแขนรองรับน้ำหนัก

ส่วนที่ ๒ เป็นส่วนที่ถัดขึ้นไปจากส่วนที่ ๑ เป็นส่วนของห้องธรรมาสน์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหน้าต่าง ๓ ด้าน ประตู ๑ ด้าน ผนังสลักลายพันธุ์พฤกษาลงสีต่าง ๆ ประดับกระจกในวงกลม

ส่วนที่ ๓ เป็นส่วนยอดของธรรมาสน์ ทำเป็นทรงปราสาทเรือนยอดซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๕ ชั้น เหนือปราสาทเรือนยอดชั้นที่ ๕ ประดับฉัตรไม้ ๓ ชั้น การขึ้นธรรมาสน์ของพระ จะใช้บันไดไม่พัดด้านหลัง เมื่อไม่ได้ขึ้นเทศน์จะนำบันไดไปเก็บไว้

๒.๕.๒ ศาลาการเปรียญ (หอแจก) ตามประวัติระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ (หลังแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ.2469) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้บูรณะโดยกรมศิลปากร เป็นศาลาไม้ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๓ ด้าน และราวระเบียงโดยรอบ ยกเว้นด้านตะวันออกยกพื้นสำหรับเป็นอาสนะสงฆ์และห้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ หลังคาเป็นจั่วมุงสังกะสีมีปีกยื่นออกทั้ง ๔ ด้าน ระหว่างปีกและจั่วหลังคาเป็นคอสอง ประดับด้วยการเขียนลายรูปบุคคล สัตว์ ต้นไม้ บ้าน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องเล่าหรือนิทานพื้นบ้าน

๒.๔ การขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถาน

กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตพื้นที่ดินโบราณสถานวัดพิจิตรสังฆาราม ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ให้มีพื้นที่โบราณสถาน ๒ งาน ๔๔ ตารางวา ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดพิจิตรสังฆาราม
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านโนนยาง ถนน -
จังหวัด มุกดาหาร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือรายงานสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานในจังหวัดมุกดาหาร โครงการสำรวจและขุดค้นโบราณคดีเพื่อศึกษาแหล่งผลิตกองมโหระทึกในพื้นที
บุคคลอ้างอิง นายกิตติพงศ์ คำศรี อีเมล์ culture.mukdahan@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร อีเมล์ culture.mukdahan@gmail.com
หมู่ที่/หมู่บ้าน ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร ถนน วิวิธสุรการ
จังหวัด มุกดาหาร รหัสไปรษณีย์ 49000
โทรศัพท์ 0879462169 โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่