ประวัติความเป็นมา
ชื่อจริงนายจเร ภู่ทอง
ชื่อในวงการสันติ ดวงสว่าง
ชื่อเล่น/ชื่อในวงการเสน่ห์ สุดหล่อ (ใช้ชื่อนี้ช่วงวัยรุ่น)
กำธร เทวดา (ใช้ชื่อนี้ตอนที่อยู่กับแอ๊ดเทวดา)
เกิดวันที่๑๐ มกราคม ๒๕๑๑
บ้านเลขที่๒๙ หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
เสียชีวิต๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
บิดาชื่อนายจำรูญ ภู่ทอง
มารดาชื่อนางวรรณา ศรีประเสริฐ
พี่น้องพี่น้องทั้งหมด ๕ คน ดังนี้
๑. นายบุญสม พุ่มพฤกษ์
๒. นางวิภา ภู่ทอง
๓. นางอาภรณ์ ภู่ทอง
๔. นายจเร ภู่ทอง
๕. นางกนกพร ภู่ทอง
การศึกษาจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ โรงเรียนวัดวังอ้อ ตำบลท่าเยี่ยม
อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
สถานภาพหย่าร้าง มีบุตรสาว ๑ คน
ก่อนจะมาเป็นสันติ ดวงสว่าง นักร้องฉายา เจ้าพ่อเพลงหวาน
สันติ ดวงสว่าง หรือชื่อเดิม จเร ภู่ทอง เป็นคนหมู่ที่ ๖ ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร ขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองพิจิตร)เป็นบุตรของ นายจำรูญ ภู่ทอง และนางวรรณา ศรีประเสริฐ พ่อแม่มีอาชีพทำนา เดิมทีคุณแม่เป็นลิเกและช่างเสริมสวย โดยเป็นลูกคนที่สี่ ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๕ คน ชอบร้องเพลงมาตั้งแต่สมัยเด็ก ใครจ้างร้อง ๕-๑๐ บาท จะรับร้อง โดยไม่เกี่ยงราคา จนพ่อแม่ เห็นว่าเสียงดี จึงได้พาเดินสายสมัคร ร้องเพลงตามเวทีงานวัดต่าง ๆ ทั้งเวทีเล็ก เวทีใหญ่ ตามตำบล อำเภอ และจังหวัด ไม่ว่างานเล็กหรือใหญ่ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดมักได้รับรางวัลชนะเลิศแทบทุกครั้ง
จนต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ นาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) อายุได้ประมาณ ๙ ปี แอ๊ด เทวดา ผู้บุกเบิกวงการหนังจอยักษ์โค้งเรดาร์และเจ้าของกิจการ โลกสีขาว สื่อวิทยุในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ได้ฟังเสียง ของนาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) แล้วรู้สึกชอบใจมาก จึงมาขอตัวนาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) ให้ไปอยู่ด้วยได้เห็นแววพรสวรรค์ของสันติ จึงชวนสันติไปอัดเสียงในเพลงแรกของเขาคือเพลง"แม่จ๋าพ่ออยู่ไหน" เมื่อนาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) โตเป็นหนุ่ม เริ่มมีความมั่นใจมากขึ้น จึงตัดสินใจไปสมัครร้องเพลงตามห้องอาหาร โดยไปอยู่ที่แม่กลองกับพี่สาวและน้องสาวที่จังหวัดสมุทรสงคราม ไปร้องเพลงในห้องอาหารที่แม่กลอง จนกระทั่งวันหนึ่งฝันของนาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) ก็เป็นจริงเมื่อสันติได้ร้องเพลงในห้องอาหาร ดวงนภาของประสิทธิ พรหมสาร ก็มีแมวมองหานักร้องเข้าประกวดในรายการ ลูกทุ่งสิบทิศ ทางช่อง ๕ ของดำรง พุฒตาล มาเจอจึงทำให้นาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) ก้าวเข้าสู่เส้นทางการเป็นนักร้องอาชีพ จากนั้น ก็มีผู้พาไปฝากตัวให้เป็นศิษย์ของอาจารย์มนต์ เมืองเหนือ และ อาจารย์สงเคราะห์ สมัตถะพาพงษ์ ที่จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็น ผู้ฝึกฝนการร้องเพลงและเขียนเพลงให้ นาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) ร้องถึง ๑๐ เพลง
ต่อมา ได้มีการนำเพลงเก่ามา รีมาตส์เตอร์ใหม่ เช่น เพลงจูบไม่หวาน เป็นเพลงที่ทำให้เขาโด่งดัง และเป็นนักร้องลูกทุ่ง คนแรกในค่ายอาร์เอสที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในวงการเพลงลูกทุ่ง ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ สำหรับโครงการ ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน นาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) ถือเป็นศิลปินคนแรกของโครงการนี้ และยังมีผลงานในโครงการมากที่สุดถึง ๒๔ อัลบั้ม ทำให้เขากลายเป็นศิลปินต้นแบบให้กับศิลปินลูกทุ่งรุ่นใหม่ ๆ เป็นนักร้องที่เข้าห้องอัดร้องเพลงวันละ ๒๐-๓๐ เพลงต่อวัน และยังได้รับรางวัลในบทเพลง"ดวงดาวชาวนา”อีกด้วย จึงทำให้เขาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และกลายมาเป็นเจ้าพ่อเพลงหวานจนถึงทุกวันนี้
นาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง)ป่วยเป็นโรคเบาหวานและโรคไตอันเนื่องมาจากการขาดยา และไม่ได้รับการพักผ่อน มานานหลายปีโดยก่อนหน้านั้น ๑ ปี นาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง) เคยประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน ต่อมาอาการป่วยหนักขึ้นต่อเนื่องจนถึงขั้นไตวาย บวมน้ำ เกิดช็อค กะทันหัน และเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ แพทย์ต้องนำเข้าห้องไอซียู และฟอกไต จนอาการดีขึ้น ออกจากโรงพยาบาลกลับมาที่ จ.สมุทรสงคราม แต่เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ อาการกลับทรุดหนัก ลงอีก เนื่องจากอาการเส้นเลือดใหญ่ในสมองแตก ก้านสมองตาย จึงเข้ารับการรักษาที่ห้องไอซียูของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าจังหวัดสมุทรสงคราม แพทย์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และแจ้งกับญาติว่าสมองตายแล้ว จะอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน โดยญาติเห็นตรงกันว่าให้แพทย์ช่วยให้อยู่จนถึงนาทีสุดท้ายโดยไม่ถอดเครื่อง ช่วยหายใจ จนกระทั่งในตอนเช้าวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ต่อมาชีพจร ของ นาย จเร ภู่ทอง ( สันติ ดวงสว่าง)เต้นอ่อนลงเรื่อย ๆ ความดันต่ำลง แพทย์พยายามยื้อชีวิตด้วยการฉีดยากระตุ้นหัวใจ ให้เกล็ดเลือด แต่ไม่มีอาการตอบสนองและจากไปอย่างสงบเมื่อเวลา ๐๙.๕๓ น.ด้วยวัยเพียงแค่ ๔๘ ปี ได้ตั้งศพสวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศล ณ วัดมูลจินดาราม จังหวัดปทุมธานี เป็นเวลา ๕ วัน ก่อนจะนำศพกลับไปบำเพ็ญกุศล ณ วัดท่าคล้อ ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร บ้านเกิด และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่วัดท่าคล้อ ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
พิจิตรมอบประกาศเกียรติคุณและพิธีพระราชทานเพลิงศพสันติ ดวงสว่าง
นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้มอบประกาศเกียรติคุณ เชิดชูเกียรติ ให้แก่ สันติ ดวงสว่าง ในฐานะเป็นผู้ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดพิจิตร และวงการเพลงลูกทุ่ง ในพิธีบำเพ็ญกุศลศพ พิธีสวดพระอภิธรรมคืนแรก(๙ พ.ย.๕๙) ของสันติ ดวงสว่าง โดยมีญาติเป็นผู้แทนในการรับมอบ
ผลงานเพลงเด่นของสันติ ดวงสว่าง มีดังนี้
จูบไม่หวาน
โรคประหลาด
จดหมายเปื้อนน้ำตา
รักนี้มีกรรม
พี่ช้ำวันนี้น้องช้ำวันหน้า
รักไม่ลืม
ค่ายเพลงที่สังกัด มีดังนี้
อาร์เอส (พ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๕๓)
อารมณ์ดี
รวงข้าวเรคคอร์ต
แสงรวี เอนเตอร์เทนเมนท์
โรส เอนเตอร์เทนเมนท์ คอร์ปอเรชั่น
สำหรับเพลงฮิตตลอดกาลของสันติ ดวงสว่าง ที่แฟนเพลงของเขาต่างคุ้นหูและร้องตามได้เป็นอย่างดีนั่นก็ คือ จูบไม่หวาน/ถอนคำสาบาน/รักนี้มีกรรม/น้ำกรดแช่เย็น/นางลอย/นางลืม ฯลฯ
บทเพลงเหล่านี้จึงทำให้สันติได้รับฉายาให้เป็นเจ้าพ่อเพลงหวานไปโดยปริยาย บั้นปลายชีวิต สันติ ดวงสว่าง ได้ทำค่ายเพลงไว้ค่ายหนึ่งตามที่ฝันไว้นั้น คือ ค่าย"รวงข้าวเรคคอร์ต"และได้บันทึกเพลงเอาไว้กับค่ายเพลงลูกทุ่ง แสงรวีเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ก่อนเสียชีวิต ดังนี้
รักสาวม.๒
เดือนจ๋า
ไอ้หนุ่มนาดอน
ลาสาวเข้าโบสถ์
อดีตรักงานงิ้ว
และ คำสุดท้าย
ผลงานการแสดงละครโทรทัศน์
มนต์รักลูกทุ่ง (๒๕๓๘) ช่อง ๗
ผลงานการแสดงภาพยนตร์
เพลงรักสวรรค์บ้านนา (๒๕๓๗)
หนุ่มนาข้าว สาวลำน้ำมูล (๒๕๓๘)
รางวัลที่ได้รับได้รับรางวัลนักร้องชายยอดเยี่ยม คมชัดลึกอวอร์ด ดังนี้
ครั้งที่ ๔ จากเพลง “คืนพี่คอย”
ครั้งที่ ๕ จากเพลง“ ยอมยกธง”
ครั้งที่ ๑๑ จากเพลง “ที่สุดแห่งรัก”
ครั้งที่ ๑๔ จากเพลง "รักสาว ม.๒”
อัลบั้มเพลงของ สันติ ดวงสว่าง มีดังนี้
อัลบั้มในโครงการท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน
ชุดที่ ๑ จูบไม่หวาน (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ก.ค. ๒๕๓๓)
ชุดที่ ๒ บุพเพสันนิวาส (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ๒๕๓๓)
ชุดที่ ๓ คนสวยใจดำ (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ๒๕๓๔)
ชุดที่ ๔ ทหารใหม่ไปกอง (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ๒๕๓๔)
ชุดที่ ๕ คนอกหักพักบ้านนี้ (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป มิ.ย. ๒๕๓๔)
ชุดที่ ๖ ข้าด้อยเพียงดิน (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป ก.ย. ๒๕๓๔)
ชุดที่ ๗ รู้ว่าเขาหลอก (อาร์เอส โปรโมชั่น กรุ๊ป พ.ย. ๒๕๓๔)
ชุดที่ ๘ จดหมายจากแม่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) มี.ค. ๒๕๓๕)
ชุดที่ ๙ ยินดีรับเดน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) มี.ค. ๒๕๓๕)
ชุดที่ ๑๐ ถอนคำสาบาน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) เม.ย. ๒๕๓๕)
ชุดที่ ๑๑ น้ำกรดแช่เย็น (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๕)
ชุดที่ ๑๒ หิ้วกระเป๋า (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๕)
ชุดที่ ๑๓ ร้องไห้กับเดือน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๕)
ชุดที่ ๑๔ โธ่คนอย่างเรา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๖)
ชุดที่ ๑๕ กลับเชียงรายเถิดน้อง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๖)
ชุดที่ ๑๖ มนต์รักดอนหอยหลอด (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๖)
ชุดที่ ๑๗ รักเก่าที่บ้านเกิด (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๖)
ชุดที่ ๑๘ ช่วยบอกล่วงหน้าถ้าไม่รัก (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ม.ค. ๒๕๓๗)
ชุดที่ ๑๙ จดหมายเปื้อนน้ำตา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๗)
ชุดที่ ๒๐ ความผิดหวังยังคอยฉันอยู่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๗)
ชุดที่ ๒๑ รักแล้วไม่ลืม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๗)
ชุดที่ ๒๒ นกแก้วนกขุนทอง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๘)
ชุดที่ ๒๓ รักนี้มีกรรม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๘)
ชุดที่ ๒๔ ข่าวเศร้าจากเจ็ดสี (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๘)
อัลบั้มหลัก (นอกโครงการ)
ชุดที่ ๑ ครูดงเด็กดอย (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป ๒๕๓๑)
ชุดที่ ๒ จูบไม่หวาน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป ๒๕๓๑)
ชุดที่ ๓ ห่วงแฟน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป ๒๕๓๒)
ชุดที่ ๔ ผู้เสียสละ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป ๒๕๓๒)
ชุดที่ ๕ ความรักเหมือนยาขม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น กรุ๊ป ๒๕๓๒)
ชุดที่ ๖ จริงหรือไม่จริง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๘)
ชุดที่ ๗ รักนี้มีกรรม (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๘)
ชุดที่ ๘ พี่ช้ำวันนี้ น้องช้ำวันหน้า (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๙)
ชุดที่ ๙ วอนหลวงพ่อช่วยที (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๓๙)
ชุดที่ ๑๐ คนขี้อาย (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๐)
ชุดที่ ๑๑ ให้ฉันตายก่อนที่รัก (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๐)
ชุดที่ ๑๒ มาลัยเปื้อนน้ำตา (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๐)
ชุดที่ ๑๓ จดหมายจากน้องตู่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๑)
ชุดที่ ๑๔ สอนน้อง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๑)
ชุดที่ ๑๕ ฝากใจใส่กระทง (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๒)
ชุดที่ ๑๖ โรตีแผ่นใหม่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๓)
ชุดที่ ๑๗ ลูกชาวบ้าน (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๓)
ชุดที่ ๑๘ ไม่นานเกินรอ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๔)
ชุดที่ ๑๙ หนุ่มน้อยคาเฟ่ (อาร์.เอส.โปรโมชั่น (๑๙๙๒) ๒๕๔๕)
ชุดที่ ๒๐ แผลเป็นที่ใจ (อาร์ สยาม ๒๕๔๕)
ชุดที่ ๒๑ เพ็ญจ๋าลาก่อน (อาร์ สยาม ๒๕๔๖)
ชุดที่ ๒๒ ดวงดาวชาวนา (อาร์ สยาม ๒๕๔๗)
ชุดที่ ๒๓ น้ำตาลหวาน (อาร์ สยาม ๒๕๔๘)
ชุดที่ ๒๔ คืนพี่คอย (อาร์ สยาม ๒๕๔๙)
ชุดที่ ๒๕ หัวใจเรียกหา (อาร์ สยาม ๒๕๕๐)
ชุดพิเศษ ๒ ทศวรรษเจ้าพ่อเพลงหวาน นางลอยนางลืม (อาร์ สยาม ๒๕๕๓)
ชุดพิเศษ ๒ ทศวรรษเจ้าพ่อเพลงหวาน ๒ หวานไม่เป็น (อาร์ สยาม ๒๕๕๓)
สถานที่ตั้งขององค์ความรู้
๗.สถานที่ตั้งขอหมู่ที่ ๖ ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
คุณค่าและบทบาทของวิถีชุมชนที่มีต่อองค์ความรู้เรื่องนี้
๑) คุณค่าขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
สันติ ดวงสว่าง ( นายจเร ภู่ทอง) เป็นนักร้องลูกทุ่งชื่อดัง และถือเป็นเจ้าพ่อเพลงหวานในวงการลูกทุ่งมีผลงานหลายอัลบั้มถือเป็นนักร้องชาวพิจิตรคนสุดท้ายที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดและวงการเพลงลูกทุ่ง
.๒) บทบาทของชุมชนในการสืบสาน รักษา ต่อยอด ขององค์ความรู้ทางวัฒนธรรม
ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจทั่วไปได้ค้นหาข้อมูลเพื่อใช้เป็นประโยชน์ทางการศึกษา
การส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน
หรือภาคประชาสังคม
-
สถานภาพปัจจุบัน
๑. สถานะการคงอยู่ขององค์ความรู้
ไม่มีการปฏิบัติอยู่แล้วแต่มีความสำคัญต่อวิถีชุมชนที่ต้องได้รับการฟื้นฟู
๒. สถานภาพปัจจุบันของการถ่ายทอดความรู้และปัจจัยคุกคาม
-
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในการศึกษา เรียนรู้ บุคคลสำคัญของท้องถิ่น
ข้อมูลอ้างอิงบุคคล
ชื่อ-นามสกุล นางกนกพร ภู่ทอง
ตำแหน่ง ปราชญ์ชาวบ้าน (น้องสาวคนสุดท้องของ สันติ ดวงสว่าง)
ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๙ หมู่ที่ ๖ ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร
รหัสไปรษณีย์ ๖๖๑๑๐ เบอร์โทรศัพท์ ๐๙๗-๓๐๒๕๗๑๔
ข้อมูลอ้างอิงอื่นๆเช่นเอกสารงานวิจัย, แผ่นพับ, เว็บไซต์, ฯลฯ
- เปิดชีวิตสันติ ดวงสว่าง เป็นเด็กรับจ้างร้องเพลง ๕-๑๐ บาท
- http://oknation.nationtv.tv/blog/political๗๙-๒-๑/๒๐๖๑/๑๑/๐๔/entry-๒
- สันติ ดวงสว่าง สมองหยุดทำงานอาการยังน่าห่วง
- ๔ พ.ย. ๒๕๕๙ ไวไปนะฟ้า สันติ ดวงสว่าง ลาโลกกลับดาว
- ปิดตำนานเจ้าพ่อเพลงหวาน "สันติ ดวงสว่าง" เสียชีวิตแล้วด้วยวัย ๔๘ ปี
- "สันติ ดวงสว่าง" เสียชีวิตแล้วอย่างสงบ
- มิตรรักแฟนเพลง ล้นหลาม ร่วมส่งวิญญาณ "สันติ ดวงสว่าง" เจ้าพ่อเพลงหวาน
ข้อมูลเจ้าของเรื่อง (ผู้สัมภาษณ์)
ชื่อ-นามสกุล นางสุรีย์พร ผดุงฉัตร
ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
หน่วยงาน/องค์กร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
ที่อยู่หน่วยงาน/องค์กร ศาลากลางจังหวัดพิจิตร (หลังเดิม) ถนนบุษบา ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
เบอร์โทรสำนักงาน ๐ ๕๖๖๑ ๒๖๗๕
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๗๔๒๘๙๐
สถานที่ต