ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 19° 3' 31.9424"
19.058872885080763
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 15' 34.1537"
98.25948715209961
เลขที่ : 196136
วัดห้วยบง อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
เสนอโดย เชียงใหม่ วันที่ 5 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย เชียงใหม่ วันที่ 5 มีนาคม 2565
จังหวัด : เชียงใหม่
0 347
รายละเอียด

วัดห้วยบง ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ ครั้งแรกมีสถานะเป็นอาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยบง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๕๕ ไร่ โดยมี พระผัด สุจิตฺโต และชาวบ้านที่ต้องการให้อาศรมพระธรรมจาริกตั้งอยู่ในชุมชน พร้อมทั้งมีพระธรรมจาริกมาจำพรรษา เผยแผ่พระพุทธศาสนา และอบรมปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรมแก่ชาวบ้านและเยาวชน โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานบริหารโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค ภาคเหนือ วัดศรีโสดา

ในอดีต ตำบลบ้านจันทร์มีเพียง “วัดจันทร์” เพียงวัดเดียว ที่เหลือเป็น “อาศรมพระธรรมจาริก” ซึ่งทำหน้าที่ควบรวมเป็นพระ-ครู-หมอ ให้กับชุมชน ซึ่งในแง่ของการปกครองแบบคณะสงฆ์ จะมีแค่วัดแห่งเดียวไม่ได้ สำนักพระพุทธศาสนา เจ้าคณะอำเภอแม่แจ่ม รวมทั้ง พระเทพโกศล เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะผู้ดูแลโครงการพระธรรมจาริกส่วนภูมิภาค วัดศรีโสดา พระอารามหลวง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) จึงมอบหมายให้รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ในสมัยนั้นคือ พระเทพปริยัติ เป็นประธานดูแลสร้างวัดทั้ง ๙ วัด ซึ่งพัฒนาและยกฐานะขึ้นมาจากอาศรม๙ แห่ง ใน ๓ ตำบล ๒๑ หมู่บ้าน ที่มีความพร้อม

วัดห้วยบง มีศาสนสถานโบราณวัตถุเก่าแก่ คือก้อนอิฐและซากของพระพุทธรูป สันนิษฐานว่าการสร้างวัดร้างวัดห้วยบง คงเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างวัดจันทร์ สังเกตได้ว่า ในบริเวณพื้นที่อำเภอกัลยาณิวัฒนา มีวัดร้างและสถานที่โบราณมากมาย ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาชาวบ้านจะนำเอาดอกไม้ ธูปเทียน มาสักการบูชา เพื่อเป็นการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาปกป้องคุ้มครองให้ชาวบ้านมีความร่มเย็นเป็นสุข

บ้านห้วยบง เดิมที่มีความเชื่อทางบรรพบุรุษ เมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วยมีการบูชาโดยการเลี้ยงผีตามความเชื่อที่ว่า การเจ็บไข้เพราะมีดวงวิญญาณของบุรุษมาเบียดเบียน เพื่อขอส่วนบุญจากพี่น้อง แต่ต่อมาพระธรรมจาริกเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาและตั้งอาศรมในชุมชน ทำให้ชาวบ้านที่เห็นว่าการประกอบพิธีการเลี้ยงผีเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ยิ่งนานไปทำให้การเลี้ยงผียิ่งยากมากขึ้นเพราะการเลี้ยงผีต้องมีคนในครอบครัวอยู่อย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน จึงจะทำให้การเลี้ยงผีแต่ละครั้งมีความสมบูรณ์ แต่เมื่อขาดคนในครอบครัวคนใดคนหนึ่งไป ทำให้การเลี้ยงผีไม่สมบูรณ์ ปัจจุบันลูกหลานอพยพออกจากชุมชนทั้งในการเข้ามาศึกษาและออกมาขายแรงงานในเมือง ทำให้การที่จะอยู่พร้อมหน้าพร้อมตาเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก

ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านห้วยบงจำนวนไม่น้อยที่หันมาเปลี่ยนความเชื่อหันมานับถือพระพุทธศาสนา โดยการให้พระสงฆ์ไปประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามะ ยึดถือพระรัตนตรัย โดยพึ่งพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ตลอดชีวิต ควบคู่กับการบูรณาการตามความเชื่อและวิถีชนที่ยึดถือมาช้านาน ปัจจุบันบ้านห้วยบงมีชาวบ้านบางส่วนไปนับถือศาสนาคริสต์ เหตุผลอย่างเดียวกันว่ามีความเบื่อหน่ายในการประกอบพิธีเลี้ยงผี และเชื่อว่าเมื่อนับถือคริสต์ศาสนาแล้วดวงวิญญาณไม่สามารถที่มาเบียดเบียนครอบครัวได้ เพราะเมื่อนับถือศาสนาคริสต์แล้วต้องละทิ้งความเชื่อเดิมๆ ทั้งหมด ตลอดถึงประเพณี วัฒนธรรม ของตนอย่างสิ้นเชิง

“อาศรมพระธรรมจาริกบ้านห้วยบง” ได้รับเลือกเป็นศูนย์ประสานงานของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง เป็นหนึ่งในโครงการตามพันธกิจการให้บริการวิชาการแก่สังคมของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่) ทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันมีใน ๔ จังหวัดภาคเหนือ รวม ๓๖ อาศรม โดยพระครูปลัดสุชาติ สุวฑฺฒโก (ชิหมื่นแป) เป็นผู้ประสานงานการก่อสร้างและพัฒนาขึ้นเป็น “วัดห้วยบง” ในปัจจุบัน มีพระครูปลัดสุชาติ สุวฑฺฒโก เป็นเจ้าอาวาส

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
บ้านห้วยบง หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านห้วยบง
ตำบล บ้านจันทร์ อำเภอ กัลยาณิวัฒนา จังหวัด เชียงใหม่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ อีเมล์ mueangcmct@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
ตำบล ช้างเผือก อำเภอ เมืองเชียงใหม่ จังหวัด เชียงใหม่
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่