ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 50' 47.1066"
6.8464185
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 16.5252"
100.0712570
เลขที่ : 196193
กาหลอ
เสนอโดย สตูล วันที่ 11 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย สตูล วันที่ 11 มีนาคม 2565
จังหวัด : สตูล
0 431
รายละเอียด

กาหลอเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ที่แฝงด้วยความเชื่อดังเช่น การละเล่นชนิดอื่น ๆ แต่มิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชม ในทางตรงกันข้ามกาหลอเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้เพื่อประกอบพิธีศพซึ่งเป็นงานอวมงคล แม้ว่าในอดีตกาหลอจะเคยนิยมบรรเลงในงานอวมงคลแต่เมื่อเวลาผันผ่านไปก็ไม่อาจเป็นที่นิยมนัก ในปัจจุบัน (Binson, 2011) คำว่ากาหลอ น่าจะมาจากคำว่า กาลา ซึ่งถ้าออกเสียงตามสำเนียงภาษาถิ่นใต้จะออกเป็นกาหลา ในพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้หมายถึงเจ้าป่าช้า เหตุที่สันนิษฐานเช่นนี้เพราะมีความเห็นว่า กาหลอ อาจจะมาจาก กาหลา ซึ่งเป็นเจ้าแห่งป่าช้าและเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของวงที่บรรเลงในงานศพ (Chanthiraht, 1996)

กาหลอ เป็นดนตรีที่ใช้ประโคมในงานศพ ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยนำดวงวิญญาณของผู้วายชนม์ให้ไปสักการะพระอิศวร (หรือพระกาฬ) สันนิษฐานว่ามีต้นแบบทางวัฒนธรรมจากอินเดียใต้เข้ามาแพร่หลายในมลายู ก่อนที่จะเข้ามาในภาคใต้ของประเทศไทย จากนั้นได้เกิดผสมผสานกับตำนานท้องถิ่นและเรื่องพุทธประวัติในความรู้ความเข้าใจของชาวใต้ (Thung Song Municipality, 2016) จนทำให้กาหลอกลายเป็นดนตรีพื้นเมืองที่มีความเป็นมาและความเชื่อที่ซับซ้อนและแตกต่างกันไป เมื่อครั้งอดีตพิธีการศพยังไม่มีมหรสพมากนัก กาหลอซึ่งใช้เล่นในงานศพจึงมีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของผู้คน ต่อมาเมื่อมีความเจริญทางเทคโนโลยีมีสื่อบันเทิงเพิ่มมากขึ้นทำให้งานศพนำสื่อบันเทิงต่าง ๆ เข้ามาแสดงในงาน กาหลอจึงถูกลดบทบาทลงไม่เป็นที่นิยมเหมือนอย่างที่เป็นมา ภายหลังเหลือเพียงประโคมในงานศพของผู้สูงอายุเท่านั้น กาหลอเป็นเครื่องประโคมดนตรีที่เก่าแก่มีความหมายลึกซึ้งน่าเลื่อมใส มีความหมายกินใจ นับเป็นประเพณีอันดีงามของชาวภาคใต้ เป็นวัฒนธรรมที่ควรช่วยกันบำรุงส่งเสริมไว้มิให้สูญหาย (Chumpengpan, 2001)

ในปัจจุบันนี้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนทำให้ผู้คนรุ่นใหม่หลงลืมวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามของตนเอง จนกำลังสูญเสียสิ่งมีค่าที่บรรพบุรุษของเราได้ร่วมกันสืบทอดต่อกันมาช้านาน ซึ่งกาหลอเป็นศิลปะวัฒนธรรมทางดนตรีพื้นบ้านของผู้คนภาคใต้ สามารถใช้เป็นตัวอย่างของศิลปะวัฒนธรรมที่กำลังถูกหลงลืม

สถานที่ตั้ง
ตำบล ควนกาหลง อำเภอ ควนกาหลง จังหวัด สตูล
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สาวศุภณิจ พัฒภูมิ อีเมล์ patapoom01@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่