ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 52' 31.6617"
14.87546157836914
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 27' 48.9606"
103.4636001586914
เลขที่ : 196195
ผ้าโฮลสุรินทร์
เสนอโดย สุรินทร์ วันที่ 15 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย mculture วันที่ 8 เมษายน 2565
จังหวัด : สุรินทร์
0 1372
รายละเอียด

ผ้าโฮลสุรินทร์

ประวัติของผ้าโฮล

ผ้าไหมเมืองสุรินทร์ มีความโดดเด่นทั้งด้านคุณภาพ คือ ความคงทน ความเป็นเงางามของเส้นไหมเนื้อผ้าละเอียดนุ่ม ทอด้วยฝีมือประณีต สีไม่ตก และด้านสุนทรียภาพ คือ ความงามจากลวดลายที่มีการจัดวางองค์ประกอบที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างโครงสร้างสีที่กลมกลืนกับลวดลายธรรมชาติ มีการ
ตัดทอนอย่างลงตัวสอดคล้องกับรูปแบบของผ้า ความลงตัวเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาที่ผ่านการกลั่นกรอง
มาหลายชั่วอายุคนและมีการสืบทอดต่อกันมาจนเป็นองค์ความรู้ของชุมชนในการมองเห็นความงามร่วมกัน

ผ้าไหมสุรินทร์มีความหลากหลายในด้านลวดลาย เพราะจังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัด
ที่ประกอบด้วยคนหลากหลายชาติพันธุ์ ซึ่งแต่ละชาติพันธุ์ได้สืบสานประเพณีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมของตน
มาแต่ครั้งบรรพกาล ดังปรากฎข้อมูลด้านวิธีการทอผ้าไหมและลวดลายบนผืนผ้าไหมของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ ดังนี้

กลุ่มคนเชื้อสายลาว คนกลุ่มนี้นิยมทอผ้าด้วยวิธีการมัดหมี่ และขิด

กลุ่มคนเชื้อสายเขมร ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นคนกลุ่มใหญ่ของจังหวัดและยังคงผลิตผ้าไหมอยู่ในปัจจุบันคนกลุ่มนี้นิยมทอผ้าไหมมัดหมี่ หรือที่ชาวสุรินทร์เรียกว่า "ผ้าโฮล" นั่นเอง

ผ้าโฮลเป็นผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ผ้ามัดหมี่โฮลถือเป็นลายเอกลักษณ์ของลายผ้าไหมมัดหมี่จังหวัดสุรินทร์ "โฮล" เป็นคำในภาษาเขมรเป็นชื่อเรียก กรรมวิธีการผลิตผ้าไหมประเภทหนึ่งที่สร้างลวดลายขึ้นมาจากกระบวนการมัดย้อมเส้นไหมให้เกิดสีสันและลวดลายต่าง ๆ ก่อนแล้วนำมาทอเป็นผืนผ้า

ผ้าโฮลเป็นผ้าไหมมัดหมี่ที่มีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่น นิยมใช้เส้นไหมน้อยในการทอ มีการมัดย้อมเส้นพุ่งด้วยวิธีการเฉพาะเรียกว่า จองโฮล โดยการมัดหมี่ผ้าโฮล นิยมมัดหมี่ ๒๑ ลำ ซึ่งการมัดหมี่เพียงหนึ่งลาย สามารถทอได้ถึง ๔ แบบด้วยกัน ได้แก่

๑. โฮลบรรทัด (โฮลบันเตือด) ผ้ามัดหมี่โฮลบรรทัด นับว่าเป็นผ้ามัดหมี่โบราณ ชาวสุรินทร์นิยม ใช้กันมานาน ผู้ใดที่ใช้ผ้ามัดหมี่โฮลชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นผู้มีฐานะ เพราะราคาซื้อขายการมัดหมี่ ตลอดจนการย้อมสียุ่งยากกว่าโฮลปะน๊ะ

๒. โฮลปะน๊ะ เป็นการย้อมอย่างเดียวกับโฮลบรรทัด แต่ในขั้นตอนการทอจะต้องดึงเส้นไหม ให้ “ปะน๊ะ คือเฉียงติดต่อกันเป็นเส้นตรง คือเฉียงขึ้นเป็นลายใบไผ่ บางครั้งเรียกว่ามัดหมี่ลายไผ่ เพราะถ้าไม่ใช้เทคนิคการทอโดยการดึงหรือปะน๊ะแล้ว จะไม่เกิดลาย

๓. โฮลเกียด เป็นผ้ามัดหมี่ที่มัดย้อมอย่างเดียวกับโฮลบรรทัดทุกอย่าง แต่การทอจะทอเฉพาะมัดหมี่เท่านั้น ไม่ทอสั้นขั้นระหว่างลาย ดังนั้น ลายปรากฏออกมาจะคล้าย ๆ กับซี่เลื่อยทั้งผืน สวยงามมาก ซึ่งการทอผ้ามัดหมี่โฮลเกียดจะใช้ไหมมัดหมี่มาก

๔. โฮลเปราะฮ์ คือผ้ามัดหมี่ของผู้ชาย เป็นผ้ามัดหมี่ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรจังหวัดสุรินทร์มีลวดลายและสีสันต่าง ๆ กัน ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบนของผู้ชาย ในสมัยโบราณเรียกว่า “ผ้าปูมเขมร”ผ้าโฮลเปราะฮ์จะมีลายหลากหลายออกไป เช่นผ้าโบราณโฮลเปราะฮ์ ปะกากะตึง (คือลายท้องผ้า) ผ้าโฮลเปราะฮ์ จะมีผ้าหน้านางหรือเรียกว่าผ้าปูม สมปักปูม สมัยโบราณเรียกเป็นทางการว่า สมปักปูม

กรรมวิธีการผลิต

ขั้นตอนการมัดโฮลเปราะฮ์

ในการมัดย้อมโฮลเปราะฮ์ (ผ้าโฮลผู้ชาย) จะมีการมัดย้อมแบบโฮลแสร็ย์ (โฮลผู้หญิง)
จากการสัมภาษณ์นางกฤษติกา ภักดีรัตน์ อายุ ๕๔ ปี และนายพีระพัฒน์ พามา อายุ ๑๙ ปีอยู่ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านไหมทองสระเร็น บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ได้อธิบายการทอผ้าโฮลเปราะฮ์ ดังนี้

(๑) การเตรียมเส้นไหมสีขาว นำมากวักใส่อัก และนำมาตวงให้เป็นลำ จำนวน ๒๑ ลำ

(๒) การมัดเส้นไหม เมื่อตวงเป็นลำเสร็จแล้วนำไหมในแต่ละลำมามัดด้วยเชือกกล้วยหรือเชือกฟางให้แน่น ความห่างของแต่ละมัดจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับช่างต้องการมัดแบบไหน โดยมีการมัดแต่ละลำดังนี้

ลำที่ ๑ มัดเล็ก ๑ เว้น๒ ข้อ มัดเล็ก๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑

ลำที่ ๒ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑

ลำที่ ๓ มัดเล็ก ๒ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓

เว้น ๒ ข้อ มัดเลข ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๒

ลำที่ ๔ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑

ลำที่ ๕ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ

ลำที่ ๖ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อมัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑

ลำที่ ๗ มัดเล็ก ๒ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๒

ลำที่ ๘ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ

ลำที่๙ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑

ลำที่ ๑๐ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อมัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ

ลำที่ ๑๑ มัดเล็ก ๒ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๒

ลำที่ ๑๒ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑

ลำที่ ๑๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเลข ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ

ลำที่ ๑๔ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑

ลำที่ ๑๕ มัดเล็ก ๒ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๓ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๒

ลำที่ ๑๖ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๓ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ มัดเล็ก ๑ เว้น ๒ ข้อ

ขั้นตอนการย้อมเส้นไหม

ผ้าโฮลมี ๕ สี ได้แก่ สีดำ, แดง,เหลือง,น้ำเงิน และเขียว สีเหล่านี้ได้จากการย้อมด้วยสีธรรมชาติ เนื้อผ้ามักมี ๒ สี ด้านหน้าเป็นสีอ่อน อีกด้านหนึ่งเป็นสีเข้มกว่า

(๑) การย้อมครั้งที่ ๑ เริ่มจากการย้อมสีแดง ซึ่งสีแดงได้มาจากใช้ครั้งในการย้อมหลังจากต้มย้อมเสร็จแล้ว จะนำไหมขึ้นมาตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาตัดเชือกฟางที่มัดออกและมัดทับสีแดงที่ย้อมแล้ว

(๒) การย้อมครั้งที่ ๒ ให้แกะเชือกมัดออกตรงที่อยากได้เป็นสีเหลือง ส่วนสีขาวและน้ำเงินไม่ต้องแกะเชือกออก เมื่อแกะเชือกออกตามจุดที่ต้องการแล้วให้นำมาต้มกับเปลือกประหูดหรือเข หลังจากนั้นจึงนำไหมตากแดดให้แห้งแล้วมาโอบหรือมัดตรงที่อยากได้เหลืองเก็บไว้ ในส่วนของสีเขียวไม่ต้องโอบหรือ
มัดเหลือง ให้ปล่อยเหลืองไว้

(๓) การย้อมครั้งที่ ๓ จะย้อมสีครามหรือสีน้ำเงิน วัสดุที่ต้องใช้ในการย้อมได้จากครามให้แกะมัดเชือกออกตรงสีขาวที่อยากได้สีนำเงินหรือคราม แล้วนำไหมลงย้อมก็จะได้สีน้ำเงินหรือครามตามที่ต้องการ

สีเขียว การย้อมสีเขียว เมื่อไหมสีเหลืองนำมาย้อมกับคราม ก็จะออกมาเป็นสีเขียว สีดำ การย้อมสีดำ เมื่อหมสีแดงนำมาย้อมกับคราม จะได้เป็นสีดำ

(๔) การล้างไหม เมื่อได้ไหมที่ย้อมเสร็จแล้ว นำมาตัดเชือกกล้วยหรือเชื่อกฟางออกทั้งหมด แล้วเอาไปตากแดดให้แห้ง หลับจากนั้นนำไหมไปล้างในสารส้มประมาณ ๑ นาที แล้วจึงนำไปตากให้แห้งกับราวไม้

(๕) นำเส้นไหมมากวักใส่อัก เมื่อนำเส้นไหมที่ตากแห้งแล้วมาจึงเข้ากับระวิ่ง แล้วนำมากวักใส่อักจากนั้นจึงนำมากรอใส่หลอด เพื่อเตรียมไว้ทอต่อไป

ผ้าโฮลสุรินทร์ ได้รับการประกาศเป็นรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒

ขั้นตอนและเทคนิคการทอ

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้ามัดหมี่ มีอุปกรณ์ดังนี้

๑.กี่ทอผ้าแบบพื้นบ้าน

๒.ไนและระวิง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกรอด้ายจากใจ ด้ายเข้า เป็นหลอดเพื่อนำไปค้น

๓.หลักค้นหมี่ ทำหน้าที่จัดเส้นด้ายพุ่งจากหลอดให้เลียงตามลายที่ได้ออกแบบไว้ ตามรูป เป็นแบบพัฒนาใช้มือหมุน ซึ่งประหยัดเวลาในการค้นหลายเท่า ใช้ในโรงงานทอผ้าส่วนใหญ่และบางหมู่บ้าน

๔.หลักมัดหมี่ เป็นหลักที่ใช้สำหรับขึงปอยหที่ที่ค้นเสร็จแล้วให้เรียงตามลำดับเพื่อจะได้ทำการมัดลาย

๑. วิธีมัดหมี่และย้อมสีโฮลบรรทัด

๑. เส้นพุ่ง

๑.๑ การเตรียมเส้นพุ่งมัดหมี่ในการทอโฮลบรรทัด การมัดหมี่โฮลบรรทัด (โฮลบันเตือด) จะมัดตามต้นแบบดั้งเดิม

การมัดหมี่เพื่อให้ได้ผ้า ๑ ผืน (กว้างประมาณ ๒ เมตร) จะต้องใช้ไหมเส้นพุ่ง ๑ ลำ ๆ ละ ๑๐๐ เส้น การมัดคล้ายกันทุกลำ ซึ่งมีขั้นตอนการมัดดังนี้

๑. การใช้เชือกฟางมัดเป็นข้อ ๆ ห่างกันข้อละ ½ซม. จนกระทั่งได้ ๑๔๐ ข้อ (เว้น หัว – ท้าย) ข้างละ ๑ นิ้ว ก่อนมัดข้อที่ ๑ และข้อสุดท้าย)

ยกเว้น ก. ข้อ ๑-๒, ๕-๖, ๑๑-๑๒, ๙๙-๑๐๐, ๑๑๖-๑๑๗, ๑๒๐-๑๒๑ ห่างกัน ข้อละ ½นิ้ว ๑๓๗-๑๓๘

ข. มัดเชื่อมระหว่างข้อ ๒-๓, ๑๓-๑๔, ๖๒-๖๓, ๙๙-๑๐๐, ๑๒๖-๑๒๗, ๑๓๗-๑๓๘

๒. นำไปย้อมสีแดงครั่ง

๓. ตัดเชือกฟางตามที่มัดในข้อที่ ๑ ออกให้หมด ยกเว้น ข้อที่ ๑๕, ๑๖, ๑๗, ๑๒๓, ๑๒๔, ๑๒๕

๔. นำไปย้อมสีเหลืองเข

การติดสี

๑. ตรงข้อที่เป็นรอยมัดเดิมจะต้องติดสีเหลือง

๒. ข้อ ๒-๓, ๑๓-๑๔, ๖๒-๖๓,๙๙-๑๐๐, ๑๒๖-๑๒๗, ๑๓๗-๑๓๘,

ติดสีเหลือง

๓. ช่วงระหว่างข้ออื่น ๆ ติดสีน้ำตาล

๔. มัดเชือกฟางเชื่อมข้อต่าง ๆ ดังนี้

ข้อที่ ๓-๖, ๗-๘, ๙-๑๐, ๑๑-๑๓, ๑๔-๒๐, ๒๑-๒๓,๒๔-๒๕, ๒๖-๒๗, ๒๙-๓๐, ๓๑-๓๒

ข้อที่ ๓๓-๓๔, ๓๕-๓๖, ๓๗-๔๑, ๔๒-๔๔, ๔๕-๔๖, ๔๗-๔๙, ๕๐-๕๒, ๕๓-๕๕,๕๖-๕๘

ข้อที่ ๕๙-๖๒, ๖๔-๖๖,๖๘-๗๐, ๗๑-๗๓, ๗๔-๗๖, ๗๗-๗๙, ๘๐-๘๒,๘๔-๘๖, ๘๗-๘๘, ๘๙-๙๑

ข้อที่ ๙๓-๙๔, ๙๕-๙๗, ๑๐๐-๑๐๒, ๑๐๓-๑๐๕, ๑๐๖-๑๐๘, ๑๐๙-๑๑๑, ๑๑๒-๑๑๔, ๑๑๕-๑๑๗, ๑๑๘-๑๑๙,

ข้อที่ ๑๒๐-๑๒๕, ๑๒๗-๑๒๙, ๑๓๐-๑๓๑, ๑๓๒-๑๓๓,๑๓๔-๑๓๕, ๑๓๖-๑๓๗

๕. ย้อมสีน้ำเงิน (เทา :น้ำเงิน = ๑ : ๑)

๖. นำไหมมาตัดเชือกฟางออกให้หมดจะติดสี ดังนี้

สีขาว : ข้อที่ ๑๕, ๑๖, ๑๗, ๑๒๓, ๑๒๔, และ ๑๒๕

สีเขียว : ข้อที่ ๘, ๓, ๓๙, ๔๕, ๘๓, ๙๑, ๙๗, ๑๐๐, ๑๒๐, ๑๒๙, ๑๓๑,๑๓๕ ระหว่างข้อที่ ๒-๓, ๑๓-๑๔, ๖๒-๖๓, ๙๙-๑๐๐, ๑๒๖,๑๒๗, ๑๓๗,๑๓๘

สีน้ำตาล : ระหว่างข้อที่ ๑-๒, ๘-๙, ๑๐-๑๑, ๒๐-๒๑, ๒๓-๒๔, ๒๕-๒๖

ข้อที่ ๒๗-๒๘, ๓๐-๓๑, ๓๒-๓๓

ข้อที่ ๓๔-๓๕, ๔๑-๔๒, ๔๖-๔๗

ข้อที่ ๔๙-๕๐, ๕๒-๕๓, ๕๕-๕๖

ข้อที่ ๕๘-๕๙, ๖๖-๖๗, ๖๙-๗๐, ๗๖-๗๗, ๗๙-๘๐, ๘๖-๘๗, ๙๓-๙๔

ข้อที่ ๑๐๒-๑๐๓, ๑๐๕-๑๐๖, ๑๐๘-๑๐๙

ข้อที่ ๑๑๑-๑๑๒, ๑๑๔-๑๑๕, ๑๑๗-๑๑๘, ๑๑๙-๑๒๐, ๑๒๕-๑๒๖, ๑๒๙-๑๓๐

ข้อที่ ๑๓๑-๑๓๒, ๑๓๓-๑๓๔, ๑๓๕-๑๓๖, ๑๓๗-๑๓๘, ๑๓๙-๑๔๐

สีเหลือง : ระหว่างข้อที่ ๕-๑๒, ๑๘-๒๗, ๒๙-๓๒, ๓๔-๓๘, ๔๐-๔๔, ๔๖-๖๒

ข้อที่ ๖๔-๘๒, ๘๔-๙๒, ๙๔-๙๙, ๑๐๐-๑๑๙, ๑๒๑-๑๒๒, ๑๒๘-๑๓๖

๑.๒ เส้นพุ่งย้อมด้วยสีต่างๆ ๖ สี ดังนี้

สีแดง, เขียว, ม่วง, ดำ. น้ำเงิน, เหลือง

๒. เส้นยืน

ใช้เส้นไหม ๒ สี คือ เส้นไหมสีดำ และเส้นไหมสีแดง ใช้เส้นไหมทั้ง ๒ สี สอดไปในของฟืม (การใช้ฟืมขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ทอ ฟืมมีขนาดตั้งแต่ ๔๐-๕๐ ) ยกตัวอย่าง การใช้ฟืม ๕๐ ซึ่งจะมีช่องทั้งหมด ๒,๐๐๐ ช่อง โดยสอดไหมสีแดงเข้าไปในช่องฟืมด้านข้างทั้ง ๒ ด้าน ด้านละ ๔๐ เส้น ช่วงกลางฟืมสอดไหมสีดำให้เต็มทุกช่องโดยสอดช่องละ ๒ เส้น จากนั้นก็นำเส้นไหมเหล่านี้สอดเข้าตะกอต่อไป โดยจะต้องใช้ ๓ ตะกอ (๓ เขา)

๒.๑ การทอ

-เริ่มด้วยกรอไหมเส้นพุ่งที่ย้อมด้วยสีเคมีหรือสีธรรมชาติต่าง ๆ ใส่หลอดแยกไว้แล้วนำไปใส่ในกระสวย ๖ กระสวย

-เริ่มกรอไหมมัดหมี่ ๑ ลำ ใส่กระสวย ๑ กระสวย ทั้งหมด ๒๑ กระสวย ใช้ชุดละ ๓ กระสวย จนหมดจึงเริ่มชุดที่ ๒ และชุดต่อๆ ไป

ขั้นตอนการทอจะทอเรียงลำดับ ดังนี้

๑. ทอสีเขียว ไป-กลับ ให้ได้ความกว้างประมาณ ๑ นิ้ว

๒. ทอสีแดงไป – กลับ

๓. ทอสีม่วงไป –กลับ

๔. ทอสีดำไป – กลับ

๕. ทอสีเหลืองไป – กลับ

๖. ทอสีน้ำเงินไป – กลับ

๗. ทอมัดหมี่กระสวยที่ ๑ ไปกลับ ๑๐ ครั้ง (๒๐ เส้น) โดยเวลาทอจะต้องดึงเส้นไหมให้เหลื่อมกันเป็นชั้นๆใช้ตำแหน่งที่ติดสีเขียวตำแหน่งแรกเป็นหลัก ก็จะทำให้สีอื่นๆ อยู่เหลื่อมตามกันไปด้วย หรือถ้าจะให้สังเกตง่ายก็ใช้จุดที่ตัดสีเหลือง สีเหลือง ๑ จุดคือ ๑ ปะน๊ะ (ปะน๊ะหมายถึงการเรียงลำดับให้เป็นขั้นเหลื่อมกันไปคล้ายบันได) การทอต้องทำให้เต็มลาย ถึง ๕ ปะน๊ะ แต่ละปะน๊ะจะเรียงเหลื่อมกันไป ๑ ปะน๊ะ ใช้ไหม ๔ เส้น ดังนั้น ๕ ปะน๊ะ ต้องทอด้วยไหม ๒๐ เส้น นอกจากปะน๊ะที่เกิดจากสีเหลืองแล้วยังปะน๊ะที่เกิดจากสิ่งอื่นๆ เช่นสีขาว สีเขียวเป็นต้น โดยแต่ละปะน๊ะจะเรียงระเบียบในแถวเฉียงเดียวกัน (ผู้ทอบางคนจะใช้ไหม ๖ เส้น ดังนั้นถ้า ๕ ปะน๊ะ ต้องทอด้วยไหม ๓๐ เส้น)

๘. ทอจากข้อที่ ๖-๒

๙. เริ่มทอมัดหมี่ กระสวยที่ ๒ คล้ายข้อ ๗ แต่ดึงเส้นไหมให้ลายปะน๊ะทุกปะน๊ะ ทำมุมกับปะน๊ะในข้อ ๗

๑๐. ทอจากข้อ ๒ -๖

๑๑. เริ่มทอมัดหมี่กระสวยที่ ๓ คล้ายข้อ ๗ ทุกประการ

๑๒.ทอ จากข้อ ๖ – ๒

๑๓. ทอซ้ำจากข้อ ๒ - ๒๑ จนหมดไหมมัดหมี่ทั้ง ๓ กระสวย จึงเริ่มโดยมัดหมี่ ชุดที่ ๒ และชุดอื่นๆ จนครบทั้ง ๗ ชุดจะได้ผ้า ๑ ผืน

๑๔. ทอด้วยสีเขียวไป – กลับ ความกว้างประมาณ ๑ นิ้ว

. โฮลปะน๊ะ

เป็นการย้อมอย่างเดียวกับโฮลบรรทัด แต่ในขั้นตอนการทอจะต้องดึงเส้นไหมให้ “ปะน๊ะ คือเฉียงติดต่อกันเป็นเส้นตรง คือเฉียงขึ้นเป็นลายใบไผ่ บางครั้งเรียกว่ามัดหมี่ลายไผ่ เพราะถ้าไม่ใช้เทคนิคการทอโดยการดึงหรือปะน๊ะแล้ว จะไม่เกิดลาย

การมัดหมี่โฮลปะน๊ะ มีแบบแผนไม่แน่นอนแล้วแต่จินตนาการของช่างนึกอยากจะมัดอย่างไรก็ได้ใน ๒๑ ลำ จะไม่เหมือนกันทุกลำหรือแตกต่างกันเป็นชุดก็ได้ สำคัญที่การทอจะต้องดึงเส้นไหมให้ปะน๊ะ แต่ละ ปะน๊ะ อยู่เฉียงติดต่อกันเป็นเส้นตรง ซึ่งถ้าไม่ช่วยดึงแล้วก็จะไม่เกิดลาย

วิธีการมัดหมี่และย้อมสี

๑.๑ เส้นพุ่งมัดหมี่

ผ้า ๑ ผืนจะใช้ไหมเพื่อมัดมีจำนวน ๑๐ ลำๆ ละ ๑๒ เส้นแต่ละลำมีวิธีการมัดและย้อมสีดังนี้

๑. มัดด้วยเชือกฟางยาวขนาด ๑ นิ้ว เว้นช่วงห่าง ๒ นิ้ว แล้วมัดด้วยเชือกฟางเล็กๆอีก ๒ ข้อห่างกันข้อละ ½เซนติเมตร มัดซ้ำไปจนจบลำ จะได้ช่วงที่มีขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๘ แห่ง

๒. นำไหมไปย้อมสีเหลือง

๓. ตัดเชือกฟางยาว ๑ นิ้ว ตำแหน่งที่ ๑,๕,๖,๘ ออก

๔. แต้มสีดังนี้

-สีชมพู ตำแหน่งที่ ๑ ,๕ ,๘

-สีม่วง ตำแหน่งที่ ๖

๕. มัดหุ้มตำแหน่งที่ ๑, ๕, ๖ และ ๘

๖. มัดด้วยเชือกฟางเป็นข้อๆ ห่างกันข้อละ ½ซม. ตลอดความยาวของลำ

๗. ย้อมด้วยสีแดงครั่ง

๘. ตัดเชือกฟางออกให้หมด

๙. แต้มสีดังนี้

- สีเขียว ตำแหน่งที่ ๒

- สีดำ ตำแหน่งที่ ๓

- สีเหลือง ตำแหน่งที่ ๔

- สีน้ำเงิน ตำแหน่งที่ ๗

การติดสี

เมื่อตัดเชือกฟางที่มัดออกทั้งหมดแล้วจะติดสีจะได้สีดังนี้

๑.ช่วงที่มัดหุ้มด้วยเชือกฟางที่วัดความยาว ๑ นิ้วรวม ๘ แห่ง

-ตำแหน่งที่ ๑-๘ ติดสีชมพู

-ตำแหน่งที่ ๒ ติดสีเขียว

-ตำแหน่งที่ ๓ ติดสีดำ

-ตำแหน่งที่ ๔ ติดสีเหลือง

-ตำแหน่งที่ ๖ ติดสีสีม่วง

๒. ตรงข้อที่มัดห่างกันข้อละ ½ซม. ติดสีเหลือง

๓. ช่วงระหว่างข้อในข้อ ๒ ติดสีน้ำตาล

๑.๒ เส้นพุ่งย้อมด้วยสีดังนี้

๑. สีน้ำเงินแก่

๒. สีเขียวหัวเป็ด

๓. สีแดง

๔. สีเขียวฝรั่ง

๕. สีม่วงแก่

๖. ชมพู

๗. สีเหลือง

๑.๓ เส้นยืน

การเตรียมเส้นยืนในการทอมัดหมี่โฮลปะน๊ะคล้ายกับหมี่โฮลบรรทัด คือใช้ไหมย้อมสีดำและสีแดงสอดในฟืม ๕๐ ซึ่งมีช่องทั้งหมด ๒,๐๐๐ ช่อง โดยสอดใหม่สีแดงเข้าในฟืมด้านข้าง ทั้งสองด้าน ด้านละ ๔๐ เส้น ช่วงกลางเป็นไหมสีดำ ไหมเหล่านี้สอดใส่ตะกอ ๓ ตะกอ (๓ เขา)

๑.๔ การทอ

ขั้นตอนในการทอหมี่โฮลปะน๊ะคล้ายกับโฮลบรรทัดแตกต่างตรงเส้นพุ่งสีเท่านั้น

. โฮลเกียด

เป็นผ้ามัดหมี่ที่มัดย้อมอย่างเดียวกับโฮลบรรทัดทุกอย่าง แต่การทอจะทอเฉพาะมัดหมี่เท่านั้น ไม่ทอสั้นขั้นระหว่างลาย ดังนั้น ลายปรากฏออกมาจะคล้าย ๆ กับซี่เลื่อยทั้งผืน สวยงามมาก ซึ่งการทอผ้ามัดหมี่โฮลเกียดจะใช้ไหมมัดหมี่มาก

วิธีมัดและย้อมสีโฮเกียรติ

๑.เส้นพุ่ง

๑.๑ การเตรียมเส้นพุ่งมัดหมี่ในการทอโฮลเกียด จะต้องใช้เส้นไหมพุ่ง ๒๑ ลำๆ ละ ๑๐๐ เส้น (จะได้ผ้ามัดหมี่กว้างประมาณ ๒ เมตร) การมัดคล้ายกันทุกลำ ขั้นตอนการมัดเหมือนกับโฮลรรทัด

๑.๒ การติดสี หลังจากที่มัดย้อมเรียบร้อยแล้ว จะได้สีต่างๆออกมา ๖ สีดังนี้

สีแดง สีเขียว สีม่วง สีดำ สีน้ำเงิน สีเหลือง สีที่ย้อมได้เรียบร้อยแล้วมากรอใส่หลอดใช้เชือกร้อยเรียงตามลำดับไว้ตามลำดับไว้ ๑ ลำ ใส่กระสวย ๑ กระสวย ทั้งหมด ๒๑ กระสวย

๒. เส้นยืน

๒.๑ การเตรียมเส้นยืน โดยนำเส้นไหมมาย้อมสีแดงและสีดำ เมื่อได้เส้นไหมที่ย้อมเรียบร้อยแล้วจึงนำมาตวง หรือผ่านขั้นตอนในการเตรียมเส้นยืน

๒.๒ นำไหมทั้ง ๒ สี มาสืบหูก คือ สอดเข้า

๒.๓ นำเส้นไหมสอดเข้าตะกอ โดยใช้ ๓ ตะกอ

๓. การทอไหมมัดหมี่โฮลเกียด

ขั้นตอนในการทอผ้าไหมมัดหมี่เกียริ จะใช้ไหมเส้นพุ่งที่กรอใส่หลอดไว้แล้ว ซึ่งเป็นมัดหมี่ทั้งหมดมาทอโดยไม่ทอเส้นคั่นระหว่างลาย โดยทอมัดหมี่กระสวยที่ ๑ ถึงกระสวยที่ ๒๑ จึงเริ่มทอชุดที่ ๒ และชุดอื่นๆ จนครบความกว้างของผ้า เมื่อทอเสร็จจะปรากฏลายเป็นหยักๆ คล้ายกับซี่เลื่อย ดูละเอียดสวยงาม

๔ผ้าโฮลเปราะฮ์

คือผ้ามัดหมี่ของผู้ชาย เป็นผ้ามัดหมี่ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรจังหวัดสุรินทร์ มีลวดลายและสีสันต่าง ๆ กัน ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบนของผู้ชาย ในสมัยโบราณเรียกว่า “ผ้าปูมเขมร” ผ้าโฮลเปราะฮ์ จะมีลายหลากหลายออกไป เช่นผ้าโบราณโฮลเปราะฮ์ ปะกากะตึง (คือลายท้องผ้า) ผ้าโฮลเปราะฮ์ จะมีผ้าหน้านางหรือเรียกว่าผ้าปูม สมปักปูม สมัยโบราณเรียกเป็นทางการว่า สมปักปูม ในสมัยโบราณผ้าโฮลเปราะฮ์ มีไว้สำหรับผู้ชายนุ่ง ผู้หญิงนุ่งไม่ได้ ใช้ในพิธีแต่งงานสำหรับไว้สวมให้เจ้าบ่าวนุ่ง ก่อนพิธีแต่งงาน ใช้นุ่งในพิธีบวชนาค และห่มบายศรี ปัจจุบันมีการพัฒนาลายประยุกต์ขึ้นมาใหม่ แต่ก็เป็น ลายโฮลเปราะฮ์อยู่ เป็นลายผ้าลายเดียวกันแต่ทอขึ้นมาใหม่ ซึ่งขนาดความยาวของผ้า ๓ เมตรครึ่ง กว้าง ๙๐ เซนติเมตร (ผศ.เครือจิต
ศรีบุญนาค และคณะ. ๒๕๔๐:๑๑๒-๑๒๐)

- ๑๒ -

การนำไปใช้ประโยชน์

นิยมใช้เป็นผ้านุ่งในพิธีสำคัญ งานพิธีมงคลต่างๆ และใช้เป็นผ้านุ่งในโอกาสพิเศษ

มาตรการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอื่นๆ ที่คาดว่าจะดำเนินการในอนาคต

๑. การมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคล ชุมชน องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ มีความยินยอมพร้อมใจกันที่จะร่วมกันดำเนินงานส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไหมพื้นเมืองให้คงอยู่และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตลอดเวลา

๒. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น ด้านผ้าไหมพื้นเมืองสุรินทร์

๓. ภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมมือกันกับชุมชนผลักดันวัฒนธรรมนี้ให้อยู่คู่กับสังคมไทยมีการเปิดพื้นที่สำหรับการแสดงขึ้นเพื่ออนุรักษ์ และสืบทอดให้อยู่คู่คนรุ่นหลัง

๔. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประถมศึกษาสุรินทร์ ทั้งเขต ๑ - ๓ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๓ กำหนดให้โรงเรียนในสังกัดจัดหลักสูตรการเรียนรู้ด้าน การอนุรักษ์วัฒนธรรมการแสดงท้องถิ่นหมวดสาระเพิ่มเติม และขยายผลสู่ชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดสุรินทร์

นิยามคำศัพท์เฉพาะ

ซัมป๊วต เป็นภาษาเขมร หมายถึง ผ้านุ่งของสตรีชาวไทยเขมรสุรินทร์

โซ๊ต หมายถึง เส้นไหม

ชาวไทยเขมรสุรินทร์ หมายถึง กลุ่มชาวไทยในจังหวัดสุรินทร์ ที่ใช้ภาษา เขมรถิ่นไทยเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน

เทคนิคการทอ หมายถึง กระบวนการทอผ้ามัดหมี่โฮล ซึ่งมีลักษณะ พิเศษเฉพาะ

ผ้ามัดหมี่ หมายถึง การมัดกลุ่มเส้นไหมเป็นลวดลายต่าง ๆ แล้วนำไปย้อมสี

ผ้าลายโครงสร้าง หมายถึง การทอผ้าไหมทั้งใช้เส้นด้ายพุ่งและเส้น ด้ายยืนหลายสี

ผ้าโฮลเปราะฮ์ เป็นภาษาเขมร หมายถึง ผ้ามัดหมี่โฮลสำหรับผู้ชายนุ่งในงานพิธี ต่าง ๆ เช่นงานบวชนาค และงานมงคล

ผ้าโฮลแสร็ย์ เป็นภาษาเขมร หมายถึง ผ้ามัดหมี่โฮลที่ทอสำหรับให้ผู้หญิงนุ่ง

โฮลเกียด เป็นภาษาเขมร หมายถึง ผ้ามัดหมี่โฮลที่ทอเฉพาะลายมัดหมี่

จองซิ่น หมายถึง ผ้ามัดหมี่ลวดลายต่าง ๆ ทั่วไป

จองโฮล หมายถึง ผ้ามัดหมี่ลายใบผ่ามีลักษณะเป็นลาบ ริ้วสลับลายมัดหมี่ มีความยาวประมาณ ½นิ้ว สลับกันไป

จองกรา หมายถึง การมัดหมี่เป็นสีกระหรือสีขาว ซึ่งมัด เล็กในระวึงก่อนย้อมสี

(ผศ.เครือจิต ศรีบุญนาค และคณะ. ๒๕๔๐: ๔)

สถานะการขึ้นทะเบียน

ผ้าโฮลสุรินทร์ ได้รับการประกาศเป็นรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒

รายชื่อผู้สืบทอดหลัก/ผู้ให้ข้อมูล

รายชื่อบุคคล/หัวหน้าคณะ/กลุ่ม/สมาคม/ชุมชน

อายุ/อาชีพ

องค์ความรู้ด้านที่ได้รับ
การสืบทอด/จำนวนปีที่
สืบทอดปฏิบัติ

สถานที่ติดต่อ/โทรศัพท์

นางประนอม ขาวงาม

อายุ๖๗ ปี

อาชีพเกษรกร

ผู้สืบทอดการทอผ้าพื้นเมือง

บ้านนาตัง
ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

นางประยม แสงตะวัน

อายุ ๕๔ ปี

อาชีพเกษตรกร

ผู้สืบทอดการทอผ้าพื้นเมือง

จำนวนปีที่สืบทอด ๔๐ ปี

บ้านเลขที่ ๒๙๙
หมู่ที่ ๗ ตำบลไพลขา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

เบอร์โทร.๐๘๐๗๙๙๕๗๑๗

นายวินัย บุญโสดากร

อายุ ๖๔ ปี

อาชีพอิสระ

ผู้สืบทอดการทอผ้าพื้นเมือง

จำนวนปีที่สืบทอด ๔๐ ปี

บ้านเลขที่ ๙๓ หมู่ที่ ๕ ตำบลตั้งใจ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

นายบันเทิง ว่องไว

อายุ ๔๔ ปี

อาชีพทอผ้า และวิทยากร

ผู้สืบทอดการทอผ้าพื้นเมือง ผ้าโบราณ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี ๒๕๖๒ ประเภทเครื่องทอ ผ้าไหมมัดหมี่ โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)

จำนวนปีที่สืบทอด ๒๔ ปี

บ้านด่านเจริญ หมู่ที่ ๑๙ ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูล เบอร์โทร.๐๖๔๐๙๔๕๑๕๕๒

นางกฤษติกา ภักดีรัตน์

อายุ ๕๔ ปี

อาชีพทอผ้าไหมและวิทยากร

ผู้สืบทอดการทอผ้าพื้นเมือง ผ้าโบราณและเป็นศูนย์เรียนรู้การทอผ้าไหมโบราณ บ้านไหมทองสะเร็น

จำนวนปีที่สืบทอด ๔๐ ปี

บ้านเลขที่ ๖/๑ หมู่ที่ ๘ บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

นายพีระพัฒน์ พามา

อายุ ๑๙ ปี

อาชีพ นักศึกษาและทอผ้าไหม วิทยากร

สืบทอดการทอผ้าพื้นเมือง ผ้าโบราณ

จำนวนปีที่สืบทอด ๑๐ ปี

บ้านเลขที่ ๖/๑ หมู่ที่ ๘ บ้านกระทม ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เบอร์โทร.๐๙๘๙๘๒๑๔๒๕๓

สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
เลขที่ 796 หมู่ที่/หมู่บ้าน 20
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรม สุรินทร์ อีเมล์ surin@m-culture.go.th
ชื่อที่ทำงาน admin
ตำบล นอกเมือง อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัด สุรินทร์ รหัสไปรษณีย์ 32000
โทรศัพท์ 044511963
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่