ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 14° 52' 7.6699"
14.8687972
Longitude : E 103° 30' 45.2282"
103.5125634
No. : 196202
รำตร๊ด
Proposed by. สุรินทร์ Date 15 March 2022
Approved by. mculture Date 15 March 2022
Province : Surin
0 1740
Description

รำตร๊ด

ประวัติความเป็นมา

"รำตร๊ด" บางท้องถิ่นเรียกว่า "เรือมตรด" คือ "รำตรุษสงกรานต์" เป็นการละเล่นพื้นบ้านในพื้นที่อีสานใต้มาตั้งแต่โบราณ มีความเชื่อว่าเป็นการละเล่นเพื่อความสนุกสนานในวันขึ้นปีใหม่สมัยก่อนที่ใช้ เดือนเมษายนของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายเขมร ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูล มอญ- เขมรที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๘ อีกทั้งรำตร๊ด ยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวของกับพระพุทธศาสนา โดยมีพุทธตำนานเล่าว่าสมัยที่พระพุทธเจ้าเมื่อยังคงเป็นพระโพธิสัตว์ พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงออกผนวช แต่มีมารแปลงกายเป็นกวางทองมาขัดขวางทางเสด็จพระองค์ เพื่อไม่ให้เดินทางออกผนวช พระโพธิสัตว์ทรงอธิษฐานขึ้น ทำให้สวรรค์ชั้นเทโลกบังเกิดความร้อน เทวดาทั้งหลายจึงขากันแปลงกายเป็นนายพรานลงมาฆ่ากวางได้แล้วร่วมขบวนแห่พระโพธิสัตว์ไปทรงออกผนวชได้สำเร็จตามความประสงค์ จึงทำให้มีการจัดแสดงรำตร๊ดขึ้นจนกลายเป็นมรดกสีบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

รำตร๊ด นิยมเล่นเฉพาะเดือนเมษายนของทุกปีเท่านั้น เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการตรากตรำทำงานหนักมาเป็นเวลานาน การรำตร๊ดนี้จะร้องรำไปตามหมู่บ้านทุกหลังคาเรือน เมื่อถึงบ้านใคร
เป็นธรรมเนียมเจ้าของบ้านจะออกมาต้อนรับและมอบจตุปัจจัย เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ ให้แก่ผู้เล่นรำตร๊ด
เพื่อรวบรวมนำไปถวายวัดต่อไป

ลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยให้มีรายละเอียดครอบคลุมสาระ ดังต่อไปนี้

ศิลปะการแสดงประกอบด้วย ลักษณะการแสดง ประเภท พัฒนาการ ขนบ ความเชื่อ

ลำดับขั้นตอน การแสดง รูปแบบการจัดการแสดง โน้ตเพลง บทเพลง บทละคร อุปกรณ์ และกระบวนท่าการละเล่นรำตร๊ดในเขตอำเภอลำดวนจังหวัดสุรินทร์ เป็นการแสดงที่ยึดเอกลักษณ์ของการละเล่นรำตร๊ดในอดีต มีองค์ประกอบและกระบวนการขั้นตอนของการละเล่นที่ชัดเจน ผู้แสดงประกอบด้วย

๑) ตังเคา (เฒ่าแก่), ผู้ถือกันแชร

๒) ผู้ถือจังกร็อง

๓) ผู้ถือบาตรพระ

๔) ผู้ถือพานขันห้า

๕) นางรำ

๖) เจ้าบ้าน

(ชาวบ้าน) ขั้นตอนการรำแบ่งตามกระบวนการ

(ขั้นตอน) ของการละเล่นรำตร๊ด ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-เขมรในเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ ๑ พิธีไหว้ครู

ขั้นตอนที่ ๒ การขออนุญาตเจ้าบ้านเพื่อเข้าไปเล่นตร๊ดภายในบ้าน

ขั้นตอนที่ ๓ การกล่าวการร้องขอให้เจ้าบ้านดูแลต้อนรับคณะตร๊ดและร่วมบริจาคทำบุญ

ขั้นตอนที่ ๔ การอวยพรให้เจ้าบ้าน (เจ้าบ้านรดน้ำให้พร)

ขั้นตอนที่ ๕ การอำลาเจ้าบ้าน

รูปแบบของการแสดงรำตร๊ดในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 7 บ้านสัมพันธ์ ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ดังนี้

๑. ผู้แสดงรำตร๊ด

๑.๑ คณะ(ผู้แสดง)รำตร๊ด ไม่จำกัดจำนวน ไม่จำกัดเพศและวัย

๑.๒ เครื่องดนตรีหลัก คือ กลอง (โทนพื้นเมือง), กันแชร ๑ อัน, ฉิ่ง ,ฉาบ ,กรับ และอาจมี
ซอพื้นเมืองประกอบด้วยก็เป็นได้

๑.๓ มียตรด (แม่เพลงโตร็จ) ๑ – ๒ คน สำหรับผลัดเปลี่ยนกัน เป็นชายหรือหญิงก็ได้

๑.๔ ตังเคา (เฒ่าแก่) ๑ คน

๑.๕ เจ้าบัญชี (เหรัญญิก) ๑ คน

๑.๖ ผู้ติดตามสำหรับช่วยถือสิ่งของที่ขอได้ ๒ – ๓ คน

๑.๗ พานหรือขัน ๑ ใบ สำหรับใส่กรวยดอกไม้ ๕ ดอก เทียน ๑ คู่ หมากพลู ๕ คำ

1.๘ บาตรพระ สำหรับเรี่ยไรบริจาคเงิน

๑.๙ คันเบ็ด(ซันตูจ)พร้อมถุงเล็กๆ ไว้ที่ปลายเบ็ดเพื่อรับบริจาคเงินหรือสิ่งของที่มีขนาดเล็ก

๒. เจ้าของบ้านสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องเตรียมคือ

๒.๑ เสื่อ (สำหรับปูให้เฒ่าแก่และเจ้าบัญชีนั่ง)

๒.๒ ขันพร้อมน้ำดื่ม

๒.๓ ขันน้ำผสมแป้ง พร้อมใบไม้สำหรับประพรม

๒.๔ ด้ายขวัญผูกข้อมือ ไม่จำกัดจำนวนเส้น แช่ไว้ในขันน้ำที่ผสมขมิ้น

๒.๕ สิ่งของทำบุญที่จะมอบให้คณะรำโตร็จ

๒.๖ เงินจำนวนเล็กน้อย สำหรับใส่ถุงขันเบ็ด (ซันตูจ)

3. การไหว้ครู

ก่อนออกแสดง ต้องมีการไหว้ครูทุกครั้ง ซึ่งพิธีไหว้ครูก็จะต้องเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ ดังนี้

๓.๑ ขันห้า

๓.๒ ธูป ๓ ดอก

๓.๓ เทียน ๑ คู่

๓.๔ ผ้าขาวยาว ๕ ศอก ๑ พับ

๓.๕ ไก่ ๑ ตัว

๓.๖ สุราขาว ๒ ขวด

๓.๗ เงิน ๒๒ บาท

ขั้นตอนการประกอบพิธีไหว้ครู นักดนตรีนำดนตรีทุกชิ้นมาวางรวมกัน หัวหน้าคณะ
นักดนตรีและทุกคนในคณะนำเครื่องไหว้ครูใส่ถาดหรือพานมาวางไว้ข้างเครื่องดนตรี หัวหน้าคณะหรือผู้อาวุโสเป็นผู้ประกอบพิธี โดยเริ่มจากการจุดธูปเทียนและสวดบทไหว้ครู เมื่อจบบทแล้วนำสุราขาวเทใส่เครื่องดนตรีทุกชิ้น และเทลงพื้นดินบอกกล่าว ครู อาจารย์ เทวดาอารักษ์ ขอให้เล่นดนตรีด้วยความราบรื่นไพเราะไม่มี
สิ่งใดติดขัด

เมื่อพิธีไหว้ครูเสร็จสิ้นลง ก็จะเริ่มทำการแสดง มีรูปแบบและวิธีการขั้นตอนต่าง ๆ คือ
ผู้แสดงจะจัดแถวตอนเรียงคู่ มีหัวหน้าคณะถือกันแชรนำขบวน เมื่อเริ่มตีกลอง “มียตรด” (พ่อเพลง/แม่เพลง)ก็จะเริ่มขับร้อง จากนั้นลูกคู่ (ผู้ร้องตาม) หรือผู้แสดงก็จะร้องรับพร้อมกัน และร่ายรำโยกไปทางซ้าย - ขวา โดยไม่มีท่ารำที่เป็นแบบแผนแน่ชัด ตามจังหวะกลองโทนกันตรึม และไม้ผูกกระพรวน(กันแชร) ซึ่งเจ้าของบ้านจะได้ยินเสียงกลองนี้ดังแว่วมาแต่ไกล เมื่อคณะรำตร๊ดไปถึงบ้านใคร ก็จะหยุดขบวนอยู่ที่หน้าบ้านและมีการร้องบทเพลงขออนุญาตเจ้าของบ้าน โดยเฒ่าแก่และเจ้าบัญชีจะเข้าไปหาเจ้าของบ้าน ยกพานดอกไม้ทูนหัวไหว้เจ้าบ้านขออนุญาตและบอกเหตุผล จุดประสงค์ในการเล่น เจ้าบ้านจะรับไหว้และบอกอนุญาตให้เข้ามาเล่นได้ เมื่อเจ้าของบ้านอนุญาตแล้ว คณะรำก็จะร่ายรำเข้าไปในบริเวณบ้าน พ่อเพลงก็จะขับร้องบทเพลงเชิญชวนให้เจ้าของบ้านบริจาคเงินทองหรือร่วมถวายของใช้ตลอดจนข้าวปลาอาหารต่าง ๆ แล้วแต่ศรัทธา โดยเจ้าของบ้านก็จะจัดหาน้ำดื่ม สุรา พร้อมกับมอบจตุปัจจัยหรือข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆเพื่อร่วมทำบุญให้กับคณะตร็f จากนั้นพ่อเพลงและคณะรำตร๊ดก็จะขับร้องบทเพลงอวยพรให้กับเจ้าของบ้านและอาจมีการร่ายรำเป็นวงกลม โดยมีพ่อเพลง/แม่เพลงอยู่ตรงกลางวงล้อม จากนั้นก็จะขับร้องบทเพลงอำลาเจ้าของบ้านและออกเดินทางไปยังบ้านถัดไป เมื่อไปถึงยังบ้านถัดไปคณะรำตร๊ดก็จะดำเนินการแสดง
ตามขั้นตอนเดิมอีกครั้ง

การแต่งกายรำตร๊ด

การแต่งกายในการละเล่นรำตร๊ดในอดีตนั้น นิยมแต่งกายนุ่งให้สวยงามตามประเพณี ผู้แสดงจะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองสุรินทร์ คือ ผู้ชายสวมเสื้อคอกลมโสร่งไหม ใช้ผ้าขาวม้าโพกศีรษะ ผู้หญิงสวมเสื้อแขนกระบอกใช้ผ้าขาวม้าพาดไหล่เฉียง นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่พื้นเมืองสุรินทร์ เช่น ลายโฮล์ ลายสมอ หรืออัมปรม เป็นต้น

คณะรำตร๊ดในปัจจุบันจะเป็นกลุ่มแม่บ้าน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มรำตร๊ดมีการกำหนดการแต่งกายในการแสดงรำตร๊ดให้เป็นแบบเดียวกัน เพื่อความเรียบร้อยเป็นระเบียบแลดูสวยงาม โดยผู้ชายจะสวมใส่เสื้อแขนยาว หรือแขนสั้นสีสันสดใสจะมีลวดลายหรือไม่ก็ได้ นุ่งโสร่ง ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ ผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนสั้นหรือแขนยาวก็ได้ ให้มีสีสันสดใส นุ่งซิ่นไหมหรือโสร่งก็ได้ คาดผ้า(ขาวม้า)สไบเฉียง และอาจมีผ้าโพกศีรษะหรือสวมหมวก การรำตร๊ดในปัจจุบันนี้ ผู้แสดงชาย-หญิง นิยมใส่เสื้อแขนยาวสีขาวเพราะว่าอากาศร้อน และอาจสวมใส่แว่นตาดำ ทัดดอกไม้ ปะพรมแป้งหอมที่ใบหน้า เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่สดใส
รื่นเริง

เนื้อร้องรำตร๊ดเริ่มจากบทขออนุญาตเจ้าของบ้านต่อด้วยบทอื่นๆตามที่เห็นสมควรถึงการขอรับบริจาคบทเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ตอนท้ายเป็นบทให้ศีลให้พรเจ้าของบ้าน และบทร้องลาแล้วจึงย้ายคณะรำตร๊ดไปยังบ้านอื่นต่อไป จังหวะการตีกลองกันตรึมในการละเล่นรำตร๊ด

/- - - โจ๊ะ/ - โจ๊ะ -ครึม/ --ครึม โจ๊ะ/ โจ๊ะ - ครึม หรือ

/- - - โจ๊ะ/ - โจ๊ะ -ครึม/ ครึม - ครึมโจ๊ะ/- โจ๊ะกันครึม

ด้านศิลปวัฒนธรรม การแสดงรำตร๊ดในแต่ละขั้นตอนจะมีท่ารำและดนตรีประกอบที่มีศิลปะเฉพาะตัวทำให้มีบทร้องที่ไม่แน่นอน เพราะเป็นการดันกลอนสดประกอบการบรรเลงดนตรีตามสถานการณ์ และขั้นตอนของการแสดง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมที่ภูมิปัญญาได้สั่งสมและถ่ายทอดในการแสดงรำตร๊ดไว้ให้ลูกหลานได้สืบสานต่อไป

ด้านจิตใจ ความเชื่อในสังคมจะปรากฎในเพลงพื้นบ้านหรือเพลงของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง รำตร๊ดเป็นที่รู้จักกันดีในแถบอีสานใต้ สีลาการขับร้องหรือการฟ้อนรำจึงมีอิสระทั้งในต้านรูปแบบและเนื้อหา จึงเป็นที่นิยมของชาวบ้าน ด้วยสาเหตุที่เพลงพื้นบ้านใช้ภาษาถิ่น ใช้ทำนองสนุก จังหวะเร้าใจ เนื้อหาถ่ายทอด

ความรู้สึกนึกคิด อุดมการณ์ ความเป็นอยู่และภูมิปัญญาชาวบ้าน การได้ร่ายรำร่วมกันถือเป็นเครื่องให้ความบันเทิงและความเพลิดเพลินแก่ชาวบ้านอย่างหนึ่ง รำตร๊ดจึงมีคุณค่าทางด้านจิตใจของคนในชุมชน ส่งผลให้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านรำตร๊ดยังคงอยู่คู่กับสังคมชาวไทยเชื้อสายเขมรอย่างมั่นคง

สถานะการขึ้นทะเบียน

รำตร๊ด ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒

Location
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์
No. 796
Tambon นอกเมือง Amphoe Mueang Surin Province Surin
Details of access
Reference สำนักงานวัฒนธรรม สุรินทร์ Email surin@m-culture.go.th
Organization admin
Tambon นอกเมือง Amphoe Mueang Surin Province Surin ZIP code 32000
Tel. 044511963
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่