๑.ชื่อลายผ้า “ลายอุทัยสุพรรณิการ์” เอกลักษณ์ของจังหวัดอุทัยธานี มีคุณลักษณะ ดังนี้
(๑) ช่องกราฟขนาด ๑๒๑ คูณ ๑๒๑ ช่อง
(๒) ประกอบด้วยลายหลัก/แม่ลายหลัก จำนวน ๗ ลาย ดังนี้
- ลายกาบ ขนาด ๔ คูณ ๔ ช่อง
- ลายขอ ขนาด ๗ คูณ ๑๓ ช่อง
- ลายตุ้ม ขนาด ๕ คูณ ๕ ช่อง
- ลายดอกแก้ว ขนาด ๗ คูณ ๗ ช่อง
- ลายอ้อแอ้ ขนาด ๓ คูณ ๑๓ ช่อง
- ลายมะเขือผ่าโผ่ง ขนาด ๒๐ คูณ ๒๐ ช่อง
- ลายคลอง ขนาด ๔ คูณ ๕ ช่อง
(๓) ประกอบด้วยสีหลัก จำนวน ๖ สี ได้แก่ สีแดง สีดำ สีขาว สีเหลือง สีสิ้ว หรือ สีเขียว สีส้ม หรือ สีแสด
๒. ประวัติความเป็นมา/ความหมายของลาย/แนวคิดการคัดเลือก
๒.๑ จังหวัดอุทัยธานี ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการสืบสาน อนุรักษ์ศิลปะผ้าถิ่น ดำรงไว้ในแผ่นดินอุทัยธานี “อุทัยธานี ของดีอยู่ที่ผ้า” จังหวัดอุทัยธานี ประจำปี ๒๕๖๓ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในเรื่องการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยให้คงอยู่คู่แผ่นดินตลอดไป และเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน พัฒนาต่อยอดลายผ้าทอของจังหวัดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ตลอดจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
จังหวัดอุทัยธานี โดยคณะกรรมการชุดการค้นหาลายผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดอุทัยธานีได้ร่วมกันพิจารณาค้นหาลายหลัก/แม่ลายหลักที่เป็นอัตลักษณ์ของผ้าทอมือจังหวัดอุทัยธานี มาปรับปรุงออกแบบสร้างสรรค์ลายผ้าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุทัยธานีจึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าลาย “สุพรรณิการ์”เป็นลายประจำจังหวัดอุทัยธานี เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
ลายสุพรรณิการ์ ออกแบบลาย โดย คุณวรินทร์อร จันทร