ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 6' 0.9655"
14.1002682
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 24' 57.4891"
99.4159692
เลขที่ : 196388
วัดขุนแผน
เสนอโดย กาญจนบุรี วันที่ 31 มีนาคม 2565
อนุมัติโดย กาญจนบุรี วันที่ 7 พฤศจิกายน 2565
จังหวัด : กาญจนบุรี
0 985
รายละเอียด

วัดขุนแผน จากคำบอกเล่าของชาวบ้านท้องถิ่นได้ความว่า เมื่อราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พระครูจวนเดินทางมาจำพรรษาที่วัดนี้ ได้ชักชวนชาวบ้านสำรวจวัดโบราณและเป็นผู้เรียกชื่อวัดเหล่านี้ว่าวัดขุนแผน วัดนางพิม วัดแม่หม้าย วัดขุนไกร ฯลฯ สันนิษฐานว่าสาเหตุที่ตั้งชื่อเช่นนี้อาจมาจากชื่อเมืองกาญจนบุรีปรากฏในหนังสือเสภาเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ซึ่งเป็นนิทานท้องถิ่นของจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี ดังนั้น จึงตั้งชื่อสถานที่ต่าง ๆ ตามชื่อตัวละครในเสภาเรื่องนี้ (กรมศิลปากร, ๒๕๖๕)

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม

วัดขุนแผน เป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี มีอาณาเขตกว้างขวาง มีซากพระปรางค์องค์ใหญ่ รูปคล้ายปรางค์ในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ใกล้สระน้ำโบราณ ซึ่งมีน้ำขังตลอดปี มีปลาชุมมาก ไม่มีใครกล้าทำอันตราย เรียกกันว่าสระระฆัง ถัดจากปรางค์ไปทางทิศเหนือประมาณ ๒๐๐ เมตร มีฐานอุโบสถ เจดีย์ มณฑปตั้งอยู่ติดต่อกัน มีแนวกำแพงยาวล้อมอยู่บางส่วน(ฟ้อน เปรมพันธุ์และ สมชาย แสงชัยศรียากุล, ม.ป.ป. หน้า ๒๐) ข้อมูลจากแผ่นป้ายแสดงรายละเอียด “วัดขุนแผน”ของสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร ระบุว่าโบราณสถานวัดขุนแผน หันหน้า
ไปทิศตะวันตกสู่ลำตะเพิน ประกอบด้วย อุโบสถทางด้านหน้า เจดีย์รายและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ
ทางด้านหลัง และล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว โบราณสถานแห่งนี้มีเจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธานของวัดอยู่ด้านหน้า และมีแนวกำแพงแก้วกั้นแบ่งส่วนพื้นที่แยกออกมาต่างหาก ซึ่งปัจจุบันปรางค์ประธานยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ โดยการสร้างมุมตรงกลางมีขนาดใหญ่ขนาบด้วยมุมขนาดเล็กเป็นที่นิยม
ในสมัยอยุธยาตอนต้นลงมา แต่ปรางค์วัดขุนแผนมีขนาดเล็กกว่ามาก สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้น
ในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑) ลงมา หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อยพร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของเมืองกาญจนบุรีเก่าในฐานะที่เป็นวัดศูนย์กลางของชุมชน

ทั้งนี้ กรมศิลปากรดำเนินการขุดศึกษาทางโบราณคดีครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ และต่อมา
ได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ปัจจุบันโบราณสถานอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาแล้ว

สถานที่ตั้ง
ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
ตำบล ลาดหญ้า อำเภอ เมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ๑๗/๑ ม. ๔ ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 เบอร์โทร 0 3544 0944
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่