ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 37' 23.9999"
6.6233333
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 4' 0.0001"
100.0666667
เลขที่ : 196411
หอนาฬิกาสตูล
เสนอโดย สตูล วันที่ 6 เมษายน 2565
อนุมัติโดย สตูล วันที่ 7 เมษายน 2565
จังหวัด : สตูล
0 776
รายละเอียด

หอนาฬิกาสตูล

หอนาฬิกาสตูลสร้างขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี 2497มุ่งหมายให้คนไทยผูกติดกับเวลา รู้เวลา ตรงต่อเวลา ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของเวลา ตามวิถีชีวิตสมัยใหม่ ณ.เวลานั้น

รัฐบาลมีนโยบายให้เทศบาลทุกแห่งทั่วประเทศสร้างหอนาฬิกาขึ้นด้วยเหตุผลดังกล่าว แต่ไม่ได้ให้เม็ดเงินงบประมาณลงมา เทศบาลแต่ละแห่งจึงเริ่มลงมือก่อสร้างและเสร็จไม่พร้อมกัน เทศบาล 6แห่งที่สร้างเสร็จในต้นปีรุ่งขึ้นคือ เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา, เทศบาลเมืองแพร่, เทศบาลเมืองอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม, เทศบาลเมืองสมุทรปราการ, เทศบาลเมืองพัทลุง และเทศบาลนครธนบุรี ซึ่งขณะนั้นยังไม่รวมกับกรุงเทพ

ส่วนที่กำลังสร้างแต่ยังไม่เสร็จ ได้แก่ เทศบาลเมืองราชบุรี, หาดใหญ่, ลำปาง, สระบุรี, สิงห์บุรี, ตาก, สุโขทัย, สุราษฎร์ธานี, เทศบาลตำบลนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี, เทศบาลตำบลศรีราชา จ.ชลบุรี, เทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี และเทศบาลเมืองพระประแดง จ.สมุทรปราการ

ซึ่งหอนาฬิกาของเทศบาลต่างๆเหล่านี้ ทะยอยเสร็จกันทั้งหมดก่อนสิ้นปี2498

ส่วนหอนาฬิกาสตูล สร้างในปื 2500ผู้หางบประมาณมาสร้างคือ ฯพณฯเจ๊ะอับดุลลาห์ หลังปูเต๊ะ อดีต สส.5สมัยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข ขณะที่สร้างท่านเป็น ส.ส.สมัยที่4จุดที่ตั้งของหอนาฬิกาคือจุดใกล้มุมรั้วมัสยิดมำบังหลังเก่า ซึ่งขณะนั้นมีชื่อว่ามัสยิดอากีบี มุมรั้วมัสยิดคือจุดที่ถนนบุรีวานิชตัดกับถนนสตูลธานี ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลสตูล หรือจุดที่อยู่หลังป้ายมัสยิดในปัจจุบัน

ผู้ออกแบบหอนาฬิกาคือนายทองจูน สิงหกุล หัวหน้าฝ่ายออกแบบ กรมโยธาธิการ งบประมาณตามแบบราว 180,000บาท ความสูงเดิม 11เมตร แต่ถูกแก้แบบโดยลดความสูงลงมา เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่มี และปรับรายละเอียดของซุ้มโ้ค้งจตุรมุขให้ลดความเป็นศิลปไทยลงให้ดูเป็นแบบซุ้มโมกุล* เพื่อให้เข้ากับสถานที่ก่อสร้างและสิ่งแวดล้อมของเมือง

เมื่อแรกสร้าง ตัวหอนาฬิกาทาสีขาว ยอดโดมสีเขียวเข้ม ภายในเป็นบันไดเหล็ก วนไปจนถึงยอดโดมซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบกลไกนาฬิกา แบบของนายทองจูน สิงหกุลถูกเทศบาลหลายๆแห่งนำไปใช้ และปรับแก้ให้สอดคล้องกับงบประมาณของตน เช่นเทศบาลลำปาง เป็นต้น ส่วนเทศบาลที่มีงบประมาณทำได้ตามแบบ ได้แก่เทศบาลหาดใหญ่ บ้านโป่ง นนทบุรี

หอนาฬิการุ่นที่สร้างตามนโยบายของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม หลายแห่งที่ได้รับการดูแลบำรุงรักษาอยู่คูเมืองมาจนถึงปัจจุบัน เป็นแลนด์มาร์คหรือเป็นหมายสังเกตุที่สง่างามของเมืองมาจนถึงทุกวันนี้ เช่นหอนาฬิกาเบตง หาดใหญ่ ตรัง ลำปาง นนทบุรี และบ้านโป่ง เป็นต้น หอนาฬิกาหลายแห่งเป็นคู่แฝดกับหอนาฬิกาสตูล เพราะใช้แบบของนายทองจูน สิงหกุล เหมือนๆกัน เพียงแต่แก้แบบกันไปคนละเล็กละน้อย

แต่หอนาฬิกาสตูลถูกรื้อทิ้งประมาณปี2522 โครงการรื้อถอนมีตั้งแต่ พ.ศ.2517. พร้อมๆกับการรื้อถอนมัสยิดมำบังหลังเก่า ตามนโยบายของคณะกรรมการก่อสร้างมัสยิดกลางจังหวัดสตูล เหตุที่ไม่ได้รื้อถอนพร้อมมัสยิดเพราะท่านเจ้ะอับดุลลาห์พยายามที่จะรักษาหอนาฬิกาเก่าแก่แห่งนี้ไว้จึงยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล เพื่อให้ศาลออกคำสั่งห้ามรื้อถอน ระหว่างที่ศาลพิจารณาคำร้อง สร้างมัสยิดก็ดำเนินไป จนเสร็จสมบูรณ์ ศาลก็ยกคำร้องของท่านเจ้ะอับดุลลาห์ การรื้อถอนหอนาฬิกาจึงเกิดตามมา

หากพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่า ตัวหอนาฬิกาตั้งอยู่ในจุดที่ ไม่ได้กีดขวางการก่อสร้างมัสยิดหลังใหม่และไม่ได้ชำรุดจนเป็นอันตรายแต่อย่างใด ข้อรังเกียจของฝ่ายที่อยากรื้อคือ นาฬิกาเสีย ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรแล้ว หอนาฬิกาเก่าจึงถูกรื้อทิ้งด้วยเหตุผลนั้น

_____________________________

*โมกุล ศิลปะอิสลาม ได้ชื่อมาจากราชวงศ์โมกุลที่ครองอำนาจปกครองอินเดียและเอเชียกลางในคริสต์ศตวรรษที่16-18

คำสำคัญ
หอนาฬิกาสตูล
สถานที่ตั้ง
มัสยิดมำบังสตูล
ตำบล พิมาน อำเภอ เมืองสตูล จังหวัด สตูล
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สาวศุภณิจ พัฒภูมิ อีเมล์ patapoom01@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่