ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 2' 21.0955"
17.0391932
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 38' 46.7711"
99.6463253
เลขที่ : 196426
นิทานพระร่วง
เสนอโดย สวจ.สุโขทัย วันที่ 8 เมษายน 2565
อนุมัติโดย สวจ.สุโขทัย วันที่ 8 เมษายน 2565
จังหวัด : สุโขทัย
0 1612
รายละเอียด

พระร่วงเป็นนามสามัญที่ใช้เรียกกษัตริย์ผู้ครองแควนสุโขทัยและยังเป็นชื่อวีรบุรุษในนิทานประจำถิ่นของชาวบ้านแถบจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์และตาก

นิทานพระร่วงเกี่ยวกับพระร่วงมีทั้งที่เป็นมุขปาฐะและลายลักษณ์ เรื่องเล่าแบบลายลักษณ์บันทึกไว้ในพงศาวดารฉบับต่างๆ

เรื่องพระร่วงที่เป็นมุขปาฐะ เป็นนิทานประจำถิ่น แบ่งเป็น 2 แบบ

แบบที่ 1 คือ เรื่องพระร่วงลูกนาค เน้นที่กำเนิดพระร่วงและการขึ้นครองเมือง

แบบที่ 2 ไม่ได้เน้นชาติกำเนิดแต่เน้นให้เห็นอิทธิฤทธื้ของพระร่วงว่าเป็นที่มาของสัตว? สิ่งของ และภูมินามสถานที่ต่างๆ

เรื่องพระร่วงตามที่ปรกฎในพงศาวดารแตกเป็นหลายสำนวน แต่ส่วนใหญ่มีโครงเรื่องและอนุภาคเหตุการณ์บางอย่างคล้ายกัน แบ่งเป็น3 ตามกำเนิดของพระร่วง ดังนี้

1. พระร่วงเป็นกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัย มีแม่เป็นคนพื้นเมืองเดิม มีพ่อเป็นกษัตริย์หรือคนต่างถิ่น (โครงเรื่องเหมือนมุขปาฐะแบบที่ ๑)

2.พระร่วงเป็นเชื่อสายกษัตริย์ขอม ต่อมาได้เป็นใหญ่ในหมู่ไทยเมืองใต้ (โครงเรื่องเหมือนมุขปาฐะแบบที่ ๑)

3.พระร่วงเป็นชาวละโว้ที่แข็งข้อกับขอมซึ่งเป็นชนชั้ปกครอง ภายหลังได้กษัตริย์เมืองสุโขทัย มีโครงเรื่อง ดังนี้
พระร่วงเป็นคนส่งส่วยน้ำให้ขอม---พระร่วงใช้วาจาสิทธิ์แก้ปัญหาการส่งส่วยน้ำ---กษัตริย์ขอมต้องการฆ่าพระร่วงผู้มีอิทธิฤทธิ์---พระร่วงจึงหนีไปบวช---พระร่วง-ใช้วาจาสิทธิ์กำจัดทหารขอม---พระร่วงได้เป็นเจ้าเมือง

นิทานชาวบ้านเรื่องพระร่วงจำลองลักษณะของวีรบุรุษแบบชาวบ้านไทยที่มีทั้งความเป็นมนุษย์ปุถุชนและทั้งความเป็นผู้มีอภินิหาร ส่วนพระร่วงในพงศาวดารแสดงร่องรอยที่มาและความสัมพันธ์ของกลุ่มชนชั้นปกครองในดินแดนแถบนี้ในยุคก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย พระร่วงมีฐานอำนาจอยู่ทางเมืองใต้เป็นเครือญาติกับขอม เมืองนครศรีธรรมราชและอยุธยาซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับไทยล้านนา นอกจากนี้นิทานที่เล่าว่าพระร่วงเป็นชาวละโว้ ปลดแอกจากขอม ยังเป็นที่มาของ “บทละครเรื่องพระร่วง” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และละครร้องเรื่อง “อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง” ของหลวงวิจิตรวาทการ

ประวัติของพระร่วง
เรื่องของพระร่วง เป็นที่รู้จักกล่าวขานอยู่ในเรื่องที่เป็นตำนานและปรัมปราคติ ทั้งที่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเล่าต่อหากต่อคำกันมา โดยคนไทยในภาคเหนือตั้งแต่เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และคนไทยในภาคกลาง ไปจนถึงนครศรีธรรมราช

พระร่วงเป็นเรื่องราวของคนไทย ซึ่งได้สะท้อนภาพคุณลักษณะการเป็นวีรบุรุษ ซึ่งเล่นลือแพร่กระจายจนเป็นที่รับรู้ของคนไทย อย่างกว้างขวางที่สุดมากกว่าเรื่องวีรบุรุษใดในปรัมปราคติของไทยสมัยโบราณ เชื่อกันว่า พระร่วงนั้นมีวาจาสิทธิ์ รอบรู้ศิลปวิทยา สามารถคิดวิธีขนถ่ายน้ำไปยังที่ไกลๆ ได้สะดวก เป็นผู้มีบุญญาธิการ รูปงาม กล้าหาญ สามารถนำเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีนได้ธิดา พระเจ้ากรุงจีนเป็นมเหสี และนำช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่สุโขทัย

ตามตำนานเล่าว่า พระร่วง เป็นพี่ พระลือเป็นน้อง พระร่วงนั้นได้ครองเมืองศรีสัชนาลัย มีช้างเผือกงาดำกับเขี้ยวงูเป็นของคู่บารมี ถึงคราวสิ้นบุญก่อนจะเสด็จลงอาบน้ำในแก่งหลวงแล้วหายไป ได้ตรัสสั่งให้น้องครองราชสมบัติแทน ส่วนอีกเรื่องหนึ่งเล่าว่าพระร่วง เมืองสุโขทัย เมื่อปราบขอมดำดินที่สุโขทัยสำเร็จแล้วได้ครองกรุงสุโขทัยและเดินทางไปเมืองเชลียง เอาช้างเผือกงาดำมาแกะเป็นรูปพระร่วง

ต่อมา พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำไปไว้ ณ กรุงศรีอยุธยาและสูญหาย ต่อมาชาวบ้านได้หล่อจำลอง ไว้ด้วยทองสัมฤทธิ์ยืนตรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระทั้งสองข้าง เหมือนกันทั้งสององค์ ทรงพระมาลาแบบที่เรียกกันว่า หมวกขีโบ และต่อมาจังหวัดสุโขทัยได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ภูมิภาคที่ 3 สุโขทัย จนถึงปัจจุบัน

พระร่วง เป็นชื่อบุคคลผู้เป็นวีรบุรุษ เป็นผู้นำของสังคม สังคมไทยโบราณนิยมสืบต่อเรื่องราวเก่าทำนองตำนาน นิทานปรัมปรา นิทานพื้นบ้าน เป็นแบบมุขปาฐะ เล่ากันปากต่อปาก (oral history) ต่อมาจึงมีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในบรรดาเรื่องราวเกี่ยวกับผู้นำทางวัฒนธรรม เรื่อง "พระร่วง" เป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาเล่าขานทั้งในฐานะผู้นำทางวัฒนธรรมตามตำนาน ฐานะวีรบุรุษผู้มีตัวตนจริงของประวัติศาสตร์ และในฐานะสัญลักษณ์ของผู้รู้ และความเป็นปราชญ์

เรื่องของพระร่วงมีตำนานเล่ากันมาหลายเรื่อง ซึ่งมิได้ระบุว่าเป็นกษัตริย์สมัยสุโขทัยพระองค์ใด พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในกรุงสุโขทัยก็เรียกว่า "ราชวงศ์พระร่วง" ทำให้คนทั้งหลายเข้าใจว่า พระร่วงคงจะเริ่มตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นต้นมา พ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่เรียกนามในภาษาบาลีว่า "โรจนราช" กล่าวกันว่าเป็นพระสหายกับพระเจ้าเม็งรายมหาราชที่นครเชียงใหม่ และพ่อขุนงำเมืองแห่งนครพะเยา พระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ในหนังสือเก่าเรียกตามภาษามคธว่า "รามราช" แต่ยังมีคำที่คนทั้งหลายเรียกพระนามกษัตริย์สุโขทัยอีกคำหนึ่งว่า พระร่วง ในพงศาวดารบางฉบับกล่าวว่า พระร่วงนี้มีบุญญาภินิหาร และฤทธิเดชเลิศล้ำ แม้ในพงศาวดารของประเทศใกล้เคียง เช่น ในพงศาวดารมอญ พงศาวดารลานนาไทย ก็ยังได้กล่าวถึงพระร่วงเมืองสุโขทัย ทุกวันนี้ยังมีสิ่งที่ออกพระนามพระร่วงด้วยหลายสิ่ง เช่น ข้าวตอกพระร่วง ปลาพระร่วง ทำนบพระร่วง หนังสือไตรภูมิพระร่วง สุภาษิตพระร่วง ปากพระร่วง (ผู้มีวาจาสิทธิ์ว่าอะไรเป็นอย่างนั้น) และที่สุดเรือรบของไทยลำหนึ่งก็ชื่อ เรือพระร่วง ล้วนเป็นคำที่ประกอบกับคำที่เล่าเรื่องพระร่วงสืบกันมา

สถานที่ตั้ง
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ตำบล เมืองเก่า อำเภอ เมืองสุโขทัย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
http://www.thaigoodview.com/node/166659
บุคคลอ้างอิง ดวงพร เจริญวงษ์ อีเมล์ st0031.culture@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย
เลขที่ 55 หมู่ที่/หมู่บ้าน 10
จังหวัด สุโขทัย รหัสไปรษณีย์ 64000
โทรศัพท์ 055-615-598-9 โทรสาร 055-615-598
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/sukhothai/main.php?filename=index
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่