ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการทอเสื่อกก
การทอเสื่อกกมีการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งกกเป็นพืชชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาแปรรูปเป็น
ผลิตภัณฑ์ได้มากมายหลายแบบหลายชนิด ชาวบ้านคลองข่อยได้มีการปลูกต้นกกไว้เกือบจะทุกครัวเรือน
โดยอาศัยที่ว่างในบริเวณบ้าน และนำกกที่ปลูกไว้มาทอเป็นเสื่อกกไว้ปูนอน จากทอใช้เองก็เริ่มมีการรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อทอเสื่อ และผลิตภัณฑ์จากสื่อกก จำหน่ายหารายได้ให้ครอบครัว ซึ่งเดิมการทอเสื่อนั้นจะทอเสื่อแบบลายโบราณคือลายกระจับเพียงลายเดียว และลักษณะของเสื่อเป็นเสื่อผืนใหญ่ซึ่งประชาชนในชุมชนบ้านคลองข่อย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยอีสานจะมีวัฒนธรรมความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายคือช่วยเหลือตนเอง พึ่งพาอาศัยกัน
และจะมีการทำสิ่งของไว้ใช้เอง ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้าไหม ผ้าพื้นเมือง หรือการทอเสื่อ นอกจากไว้ใช้เองแล้ว ยังเก็บไว้สำหรับมอบให้เป็นของที่ระลึกกับนักท่กท่องเที่ยว หรือแขกที่มาเยือนอีกด้วยในสมัยก่อนการทอเสื่อกกนิยมใช้กกเหลี่ยม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าผือนา มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ไม่มีความเหนียวหรือวาวมากนัก แต่ต่อมาตามห้วย หนอง คลองบึง ได้เกิดพืชชนิดหนึ่งลักษณะคล้ายกับผือนา ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า “ไหล” จึงมีคนลองเอามาทอเป็นเสื่อ และมีคุณสมบัติดีกว่าผือนา กล่าวคือ ลำต้นกลม ผิวอ่อนนุ่มเหนียว ไม่กรอบ เมื่อทอเสื่อแล้วนิ่มน่าใช้ ขัดถูจะมันน่าดู ในสมัยก่อนยังไม่นิยมย้อมสี เพราะวัตถุประสงค์ทอใช้ในครัวเรือนเท่านั้น แต่ปัจจุบันเมื่อต้นกกกลมมีมากในท้องถิ่น และสามารถปลูกได้ในทั่วทุกภาคของประเทศไทย จึงได้พัฒนาดัดแปลงลวดลาย สีสันให้สวยงาม จนกลายเป็นสินค้าในการจำหน่ายได้การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนา และความเชื่อ เสื่อกกเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต
ดังนั้น การทอเสื่อกก หมายถึง การนำต้นกกที่เกิดขึ้นตามแหล่งต่าง ๆ เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามที่ชาวบ้านปลูก มาสอยตากแห้งและนำมาทอเป็นผืนเสื่อใช้ประโยชน์สำหรับปูนอน ปูพื้นสำหรับรับแขกปูลาดตามพื้นในโบสถ์ ศาลาวัด หรืองานในชุมชนต่าง ๆ
ประวัติของกลุ่มทอเสื่อกก
กลุ่มทอเสื่อกกบ้านคลองข่อย เกิดขึ้นจาการทอใช้เองในครัวเรือนแต่ละบ้านส่วนใหญ่ทอเสื่อเพื่อใช้สอยในครัวเรือนสำหรับแลกเปลี่ยนกับสิ่งของเครื่องใช้ภายในครัวเรือนกันเองในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงโดย ต่อมามีการจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพทอเสื่อกกบ้านคลองข่อยขึ้น
เครื่องมือและวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ทอเสื่อ
เครื่องมือในการทอเสื่อกก มีดังนี้
1.โฮงทอ 2. ไม้ขื่อ 3. ฟืม 4.ด้ายไนล่อน 5. ไม้สอด 6. ไม้หัวเสื่อ 7. กรรไกร 8. ต้นกกตากแห้ง 9. ถังน้ำ 10. ผ้าสำหรับห่อต้นกก
ขั้นตอนการแปรรูปต้นกก
ขั้นตอนแรก
ตัดต้นกกที่มีอยู่ในนาจากโคนต้นโดยเลือกต้นที่มีขนาดลำต้นประมาณนิ้วก้อยขึ้นไปและมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร จากนั้นเลือกเอาต้นที่ค่อนข้างแก่ซึ่งลำต้นจะมีสีเขียวเข้มเนื่องจากต้นแก่นั้นจะมีความเหนียวแน่น คงทน ไม่ขาดง่าย
ขั้นตอนที่สอง
เมื่อได้ต้นกกมาแล้วก็จะทำการแยกขนาดของต้นกกตามความยาวของแต่ล่ะต้นและตัดใบออกให้เหลือแต่ลำต้นเท่านั้นโดยต้นที่มีความยาวก็จะใช้ทำเสื่อที่มีขนาดผืนใหญ่ ส่วนต้นที่มีขนาดสั้นนั้นก็จะใช้ทำเสื่อที่มีขนาดผืนเล็กหรือทำเป็นสื่อพับโดยการทอแล้วนำมาต่อกัน
ขั้นตอนที่สาม
นำต้นกกที่ได้จากการคัดแยกมากรีดออกเป็นเส้นๆโดยจะได้ประมาณต้นล่ะ 3-4 เส้น ในการกรีดนั้นจะเอาส่วนที่เป็นแกนกลางของลำต้นออกหรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า ไส้ของต้นกก เนื่องจากไส้ของต้นกกจะเปราะขาดง่ายไม่แข็งแรง เมื่อกรีดต้นกกออกเป็นเส้นๆ
ขั้นตอนที่สี่
นำต้นกกที่กรีดเป็นเส้นมามัดรวมกัน แล้วนำมาตากแดดประมาณ 1สัปดาห์ โดยสังเกตจากสีของต้นกกที่ตากแดดไว้จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง หรือสีขาวนั่นเองแสดงว่าสามารถนำไปใช้ได้แล้ว
ขั้นตอนที่ห้า
นำต้นกกที่แห้งดีแล้วก็จะนำมาย้อมสีเพื่อที่จะให้ได้ลวดลายของเสื่อนั้นออกมาสวยงามตามความต้องการหลังจากย้อมสีเสร็จก็นำมาจากไว้ในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทไว้ได้ดีเพื่อให้เสด็จน้ำและแห้งสนิทเพื่อรอการถักทอต่อไป