ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 24' 41.4306"
8.411508497062389
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 58.1633"
99.96615645893696
เลขที่ : 196545
วิหารศรีธรรมโศกราช วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร
เสนอโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 5 พฤษภาคม 2565
อนุมัติโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 5 พฤษภาคม 2565
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
0 236
รายละเอียด

วิหารศรีธรรมโศกราช หรือ วิหารสามจอมเป็นวิหารขนาดเล็ก อยู่บนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๗.๒๙ เมตร ยาว ๙.๔๕ เมตร อยู่ใกล้กับวิหารพระแอด ในวงล้อมของวิหารพระด้าน (วิหารคด) เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน ทรงเครื่องลำยองไม้แกะสลัก หลังคาทรงจั่วสองตับ หน้าวิหารมีประตูทรงบันแถลงปูนปั้นสีขาวสองประตู ด้านข้างวิหารมีหน้าต่างทรงบันแถลงปูนปั้น ด้านละสองบาน (รวมสี่บาน) ส่วนท้ายวิหารทำเป็นมุขไปเชื่อมกับเจดีย์ทรงระฆังขนาดย่อม ซึ่งจำลองรูปแบบมาจากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานยกสูง มีบันไดเดินขึ้นลงอยู่ทางด้านทิศใต้ ชั้นบนมีลานสำหรับเดินเวียนได้ มุมลานทั้งสี่มีครุฑประดับอยู่ด้วยเหตุที่ได้ประดิษฐานพระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จึงเรียกอีกชื่อว่า“วิหารศรีธรรมาโศกราช”

ประวัติการสร้าง

วิหารสามจอมสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๙ โดย “นายสามจอม”ซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานฝ่ายอาลักษณ์ผู้ถือบัญชีกัลปนาที่ดิน กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (เป็นหัวหน้าของจอมที่ จอมนาและจอมคลัง) ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงกัลปนาให้แก่วัดต่าง ๆ จึงเรียกชื่อวิหารนี้ว่า“วิหารสามจอม”ประกอบกับมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องไว้ ซึ่งสมมติเป็นพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ผู้เป็นกำลังหลักในการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ที่หาดทรายแก้ว

พื้นที่ของวิหารสามจอมประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนหน้าและส่วนหลัง พื้นที่ส่วนหน้าประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ทรงเครื่องต้นบริบูรณ์อย่างกษัตริย์โบราณ สวมชฎายอดสูง เป็นฝีมือช่างสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จารึกชื่อพระพุทธรูปว่า“พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช” พื้นที่ส่วนหลัง ทำเป็นซุ้มเรือนแก้วประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยและเป็นที่เก็บอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และอัฐิเจ้านายในสกุล ณ นคร เช่น กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ พระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์ พระองค์เจ้าปัทมราช เจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่ เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็กและเจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม) เป็นต้น

ความสำคัญและคุณค่า

ซุ้มประติมากรรมประดับวิหารสามจอมมีสามซุ้ม ซุ้มด้านในเป็นซุ้มเรือนแก้วซึ่งมีภาพปูนปั้นพระพุทธประวัติ ตอนพระสิทธัตถะทรงตัดเมาฬีเพื่อออกบรรพชา อันเป็นสัญลักษณ์ของการก้าวออกจากเพศฆราวาส ในซุ้มนี้มีรูปปั้นพระพรหมอยู่ข้างขวา มีรูปปั้นม้ากัณฐกะอยู่ข้างซ้าย ส่วนซุ้มนอกซึ่งอยู่ด้านหน้าวิหาร (ระหว่างประตูซุ้มบันแถลงทั้งสอง) เป็นซุ้มรูปปั้นพระแม่ธรณีบีบมวยผม ซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติตอนพระสิทธัตถะประทับนั่งใต้ร่มพระศรีมหาโพธิที่พุทธคยา มีท้าววัสวดีมารพาไพร่พลมาขัดขวางการตรัสรู้ พระแม่ธรณีจึงมาบีบมวยผมจนน้ำท่วม เป็นเหตุให้ไพร่พลของพญามารส่วนหนึ่งล้มตายและส่วนหนึ่งหนีหายไป

คำสำคัญ
วิหารสามจอม
สถานที่ตั้ง
วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร
ถนน ราชดำเนิน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นครศรีธรรมราช
บุคคลอ้างอิง ผศ.ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ อีเมล์ ns-culture2009@hotmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่