ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 55' 24.7303"
13.9235362
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 23' 40.9618"
100.3947116
เลขที่ : 196687
แกงส้มมะตาด
เสนอโดย นนทบุรี วันที่ 9 มิถุนายน 2565
อนุมัติโดย นนทบุรี วันที่ 13 มิถุนายน 2565
จังหวัด : นนทบุรี
0 299
รายละเอียด
"ฟะฮะเปร๊า" หรือแกงส้มมะตาด
แกงส้มรสจัด หนักเปรี้ยว เพราะใช้ผิวมะตาดสับ ปรุงรวมกับฟักทอง แตงโมอ่อน มะเขือเปราะ และใบแมงลัก ไม่เพียงเป็นเมนูแทบไร้ไขมัน แต่ภูมิปัญญามอญยังรู้จักใช้ผลมะตาดปรุงอาหาร เพราะเป็นพืชมีเมือกเหนียวเหมือนวุ้น ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้

"มะตาดใบจักหยิกหยิก พลิ้วพลิกลมพัดสะบัดไหว ดอกขาวหอมหวนยวนใจ กลีบใหญ่แตกพวงร่วงพรู" กลิ่นหอมและรูปร่างของมะตาดบรรยายในนิราศพระประธม ของสุนทรภู่ แสดงให้เห็นว่าคนไทยรู้จักมะตาดมาตั้งแต่อดีต แต่ไม่ค่อยมีการนำมาประกอบอาหาร ขณะที่ชาวมอญนิยมนำมะตาดมาปรุงจนเป็นเอกลักษณ์ ทำให้มะตาดถูกเรียกอีกชื่อว่า "แอปเปิ้ลมอญ" สะท้อนนิสัยหาอยู่หากินง่ายจากธรรมชาติรอบตัว เพราะเดิมมะตาดเป็นพืชป่าพบได้ในทุกภาคของประเทศ
มะตาดเป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายชื่อเรียกตามกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น กลุ่มกะเหรี่ยงแดงเรียก "ตึครือเหมาะ", ไทใหญ่เรียก "ไม้ส้านหลวง" ขณะที่อีสานบ้านเราเรียก "บักสั้นใหญ่" ภูมิปัญญามอญในการประกอบอาหารที่สืบต่อกันมายาวนาน ยังทำให้ครัวมอญรู้จักเลือกรับประทาน "มะตาดข้าวเหนียว" ที่มีเนื้อนุ่มกว่า "มะตาดข้าวเจ้า" ซึ่งทุกวันนี้หลายบ้านเริ่มปลูกมากขึ้น
ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/251238
หมวดหมู่
ชาติพันธุ์
สถานที่ตั้ง
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี
จังหวัด นนทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
https://news.thaipbs.or.th/content/251238
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด นนทบุรี อีเมล์ nontculture@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี
จังหวัด นนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000
โทรศัพท์ 025801348 โทรสาร 025802764
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/nonthaburi
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่