นางสาวบุณยนุช สุทธิอาจ ชื่อเล่น แป๋ว ชื่อในวงการเพลง ปอ ปริชาต เกิดที่บ้านห้วยบาง
อ.วาริชภูมิจ.สกลนคร มีเชื้อสายเป็นคนภูไทแท้ๆ พ่อมีอาชีพรับราชการ และมีอาชีพเสริมเป็นนักดนตรีส่วนแม่เป็นแม่บ้าน และร้องเพลงในวงดนตรีน้องชายจบปริญญาตรีทางด้านดนตรีแต่ ปัจจุบันรับราชการตํารวจ จึงทําให้การร้องเพลงฝังอยู่ในสายเลือด และชีวิตจิตใจ การที่ครอบครัวมีญาติที่มี
วงดนตรีเล็กๆ ออกรับจ้างแสดงตามงานรื่นเริงในละแวกใกล้เคียง ทําให้ปอ ปริชาต ซึมซับเรื่องของจังหวะดนตรีมาตั้งแต่เด็ก โดยแม่เป็นครูคนแรกที่สอนร้องเพลงปอ ปริชาต เข้าร่วมประกวดร้องเพลงตามงานเล็กๆ ละแวกบ้าน รวมถึงเข้าร่วมการประกวดอ่านทํานองเสนาะ ขับร้องเพลงพระราชนิพนธ์ขับร้องเพลงไทยเดิม และขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งมาตั้งแต่อายุยังน้อย ถึงแม้จะชนะบ้าง แพ้บ้าง แต่ก็มีความสุขที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม
เมื่อเติบโตขึ้นจึงได้มีโอกาสร้องเพลงในวงดนตรีของเครือญาติเพื่อเป็นรายได้พิเศษระหว่างเรียน
ขณะที่ ปอ ปริชาต เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้มีนักแต่งเพลง ชื่อครูไพโรจน์ แก้วมงคล
มีโอกาสได้ฟังเสียงของ ปอ ปริชาต ในงานๆหนึ่ง ท่านชื่นชอบในน้ําเสียง และชักชวนเข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่ง แต่ขณะนั้นยังอยู่ในวัยเรียนจึงยังไม่ได้ตัดสินใจก้าวเข้าสู่วงการเพลง จนในที่สุดเมื่อ ปอ ปริชาต เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครูไพโรจน์ก็เริ่มนําผลงานเพลงที่แต่งขึ้นมาให้ฝึกฝนการร้องเพลงอยู่เสมอ หลังจากนั้นได้ชักนําเข้ามาเป็นนักร้องในสังกัด บริษัทมาสเตอร์เทป ค่ายเพลงแนวอีสานชื่อดังค่ายเดียวกับ จินตหรา พูนลาภ นก พรพนา และคู่แฝดโอเอ ได้ผลิตผลงานชุดแรกในชีวิต นั่นก็คืออัลบั้ม คนมีแฟนเนาะ ซึ่งบันทึกเสียงแล้วเสร็จในช่วงที่ ปอ ปริชาต จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พอดีหลังจากนั้นจึงได้เข้ามาศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และเริ่มผลิตผลงานเพลงอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา บริษัท มาสเตอร์เทป ได้หยุดผลิตผลงานเพลงใหม่และปิดตัวลง ปอ ปริชาต
จึงได้ย้ายมาอยู่สังกัดค่ายเพลงอาร์สยาม ในเครือบริษัท อาร์เอส จํากัด (มหาชน) ตามคําแนะนําของผู้ใหญ่ โดยผลิตผลงานชุดแรกกับค่ายเพลงอาร์สยาม ชื่ออัลบั้ม อารมณ์เหงา...สาว ตจว. ซึ่งเพลงที่ถูกนําออกมาโปรโมทเพลงแรกคือ เพลงเห็นฉันเหงา...อย่าเหมาว่าง่าย จากนั้นก็มีผลงานออกมาเรื่อย ๆ อาทิ เพลงอย่าหวังล่วงเกิน ถ้าไม่คิดเดินร่วมทาง เพลงศูนย์พักพิงหัวใจ และเพลงคนที่ขอแยกทาง
ในปี พ.ศ. 2555 ค่ายเพลงอาร์สยามได้มีโปรเจคทําอัลบั้มพิเศษ เป็นการรวมศิลปินอีสานและผลิตผลงานเพลงใหม่ ในชื่ออัลบั้ม อีสานตลาดแตก โดยปอ ปริชาต ได้มีโอกาสทําผลงานเพลงใหม่ คือเพลง ชู้ทางกาย และประสบความสําเร็จจนได้รับรางวัล “เพชรในเพลง” จากกระทรวงวัฒนธรรม โดยสํานักงานวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร สาขาศิลปินที่ ใช้ภาษาไทยดีเด่น ปี2556 และในอัลบั้มเดียวกันมีผลงานเพลงเด็กในโอวาท เป็นเพลงหมอลําประยุกต์อีก 1 ผลงานเพลงออกมาในช่วงเวลาเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2556 ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ของวงการเพลงลูกทุ่งอีสาน โดยค่ายเพลงอาร์สยาม ได้มีแนวคิดที่จะรวมกลุ่มศิลปินสาวอีสานยุคใหม่ ผลิตแนวเพลงสนุกสนานเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิตอล
จึงทําให้เกิดเป็น “กลุ่มศิลปินสาวส่า อาร์สยาม” นําโดย ปอ ปริชาต อาร์สยาม, นุช วิลาวัลย์อาร์สยาม, เบญจา อาร์สยาม และฝ้าย อาร์สยาม โดยได้เปิดตัวซิงเกิลแรกของสาวส่า เป็นเพลงพอจนตรอกอ้ายก็บอกขอโทษ (เซ็งเป็ด) รวมอยู่ในอัลบั้มอีสานตลาดแตก 2 และในอัลบั้มเดียวกัน ปอ ปริชาต ก็ได้มีโอกาสร้องเพลงเดี่ยวในทํานองลําคอนสวรรค์อีก 1 เพลง คือ เพลง เสียดายอ้ายตอแหล สืบสานวัฒนธรรมอีสานตามแบบฉบับของ ปอ ปริชาต
ในปีพ.ศ. 2557 ค่ายเพลงอาร์สยาม ได้ผลิตอัลบั้ม อีสานตลาดแตก 3 ออกมาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งปอ ปริชาต ได้มีโอกาสถ่ายทอดผลงานเพลงวัฒนธรรมลําตังหวาย นั่นคือเพลงเสียดายฮัก และเพลงกลุ่มของสาวส่า อาร์สยาม ในสไตล์อีสานป๊อบทันสมัย คือเพลง เว็บไซต์หัวใจโสด ถือว่าผลตอบรับป็นที่น่าพอใจจนทําให้มีอัลบั้มต่อมาปี พ.ศ. 2558 เกิดโปรเจคพิเศษ ชื่ออัลบั้มหมอลําตลาดแตก เป็นอัลบั้มที่รวมเพลงหมอลํา โดยปอ ปริชาต ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งในอัลบั้มชุดนี้ด้วย โดยได้รับมอบหมายให้เป็น ผู้ถ่ายทอดกลอนลํา “เป็นแฟนเขาไปเหงานที่อื่น” และผลงานเพลงของกลุ่มศิลปินสาวส่า อาร์สยาม อีก 1 ผลงานเพลง คือ “เพลงนักเลงขี้ตั๋ว”
หลังจากปี พ.ศ. 2559 ได้เริ่มทํางานในตําแหน่ง นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และได้มีการร่วมมือกับชุมชนเพื่อสร้างสรรค์ ผลงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน โดยได้บันทึกเสียงเพลงประวัติภูไทกระป๋อง เพลงปูมเมิงเก่าเว้าเลิ่งเมิงวาริด และเพลงฮีตเก่าเฮาญาลืม ใช้ในการประชาสัมพันธ์และใช้ประกอบการแสดงพิธีเปิดงานผู้ไทโลก นอกจากนี้ยังเป็นผู้นําฝึกซ้อม และร่วมแสดงการฟ้อนประกอบเพลง ในพิธีเปิดงานผู้ไทโลกเท่อที่ 8 อําเภอวาริชภูมิจังหวัดสกลนคร
ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ได้เริ่มทํางานสายวิชาการ ตําแหน่งอาจารย์ประจําสาขาวิชานิเทศศาสตร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ปี พ.ศ.2565 (ปัจจุบัน) ดํารงตําแหน่งผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี