ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 44' 49.0052"
13.7469459
Longitude : E 100° 16' 35.8367"
100.2766213
No. : 197036
หมอนเตย (สินค้าทางวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม)
Proposed by. นครปฐม Date 20 July 2022
Approved by. นครปฐม Date 20 July 2022
Province : Nakhon Pathom
0 340
Description

พื้นที่ในอำเภอสามพรานริมแม่น้ำลำคลอง มีเตยหนามขึ้นเป็นจำนวนมากคนส่วนใหญ่ มักคิด ว่าเตยหนามไม่สามารถนำมาทำประโยชน์ได้ แต่เตยหนามมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะมีความโดดเด่นใน รูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่สามารถสานให้เป็นหมอนหนุนนอนได้ และคุณสมบัติที่เหนียว อ่อนนุ่ม และแข็งแรง ทนทาน เย็นสบาย มีความยืดหยุ่น ของใบตองแห้ง ช่วยในการปรับสมดุลรองรับศีรษะได้ดี และเตยสามารถ ซึมซับเหงื่อได้ดี นำไปผึ่งแดดช่วยให้ไม่อับชื้น หมอนเตยมีอายุการใช้งานได้นานปี มากน้อยขึ้นอยู่กับอายุ การใช้งาน

หมอนเตยมีลักษณะพิเศษคือวัสดุที่ใช้หาได้ตามท้องถิ่น เป็นวัสดุธรรมชาติ ที่มีเส้นใย อ่อนนุ่ม ด้วยสีสันของสีเตยแห้ง จึงทำให้หมอนเตยมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนหมอนที่สานจากเส้นใยสังเคราะห์ หมอนเตย มีอายุการใช้งานได้นานเนื่องจากลักษณะของเตยมีความเหนียว และแข็งแรง อีกทั้งยังใช้วัสดุธรรมชาติ คือใบตอง แห้งบรรจุใส่ไว้ในหมอน ภูมิปัญญาในการจักสานที่ละเอียด ประณีต ทำให้หมอนเตยเป็นเสน่ห์ของงานหัตถกรรม ของคนไทย ซึ่งยากยิ่งที่ชาติใด ๆ ในโลกจะลอกเลียนแบบได้

ด้วยคุณสมบัติหมอนเตย ที่เหนียว อ่อนนุ่ม และแข็งแรง ทนทาน เย็นสบาย มีความยืดหยุ่น นำไปผึ่งแดดช่วยให้ไม่อับชื้น หมอนเตยมีอายุการใช้งานได้นานปี มากน้อยขึ้นอยู่กับการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามามาก และหลากหลาย จึงทำให้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ชินตา ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาจึง เป็นที่สนใจของคนในปัจจุบันมากขึ้น เพราะนับวันชีวิตประจำวันเริ่มจะห่างไกลจากธรรมชาติ จึงได้มีการพัฒนา ทำหมอนให้ใบใหญ่ขึ้น และใช้ไม้ไผ่ครูดให้ใบมีผิวมันและนุ่มและนำไปตากแดดให้แห้งสนิทโดยใช้ความร้อนจาก แสงแดดของพระอาทิตย์ เมื่อตากแดดแห้งแล้วนำมาครูดอีกครั้งหนึ่งให้ใบเตยหนามแห้งนุ่ม และมีผิวมัน เพื่อให้ เกิดความมันของหมอนเตยโดยไม่ต้องใช้สารสังเคราะห์ใด

ขั้นตอนการสาน

๑. นำใบเตยที่ชักหนามออกจากใบ ใช้มีดกรีดแบ่งแต่ละใบเป็นสี่ส่วน ( ๔ เส้น)

๒. นำไม้ไผ่ (เหลาแบน) ครูดใบเตยตามยาวให้อ่อนตัวหรือนิ่มลง นำไปตากแดดให้แห้ง ๒ แดด

๓. ก่อนสานให้นำเส้นใบเตยผึ่งน้ำค้าง ๑ คืน หรือจะใช้ผ้าชุบน้ำพอหมาดคลุม ทิ้งไว้เพื่อให้ใบนิ่ม

๔. ขูดเส้นใบเตยให้อ่อนตัวอีกครั้งก่อนสาน

๕. นำเส้นเตยมาวางตามด้านกว้างจำนวน ๗ เส้น ตามด้านยาว ๑๑ เส้น สานเป็นลายขัดธรรมดา

๖. สานได้สัดส่วนตามต้องการให้หักมุมเตยที่สานขึ้นเป็นโครง ๔ ด้าน สานต่อให้ได้ความสูงพอประมาณ

๗. ใช้กาบหมากที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีขนาดเล็กกว่าพื้นที่ด้านยาวเล็กน้อยจำนวน ๒ ชิ้น และขนาดเล็กกว่าด้านกว้างเล็กน้อยจำนวน ๒ ชิ้น ใช้วางเป็นโครง ๓ ด้านก่อนสานต่อ

๘. เอาใบตองแห้งใส่ให้เต็มพอแน่น เอากาบหมากชิ้นที่ ๔ วางปิดและสานเตยต่อปิดให้เต็มใบ

ชื่อกลุ่ม ภูมิปัญญาท้องถิ่น (สานหมอนเตย)นางกลุ่ม จันทร์บำรุง
อยู่บ้านเลขที่ ๘ หมู่ ๑๑ ชุมชนบ้านท่าเกวียน ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๗๓๒๑๐

โทร. ๐๘ ๔๘๙๓ ๐๒๖๖

Location
กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่น (สานหมอนเตย) นางกลุ่ม จันทร์บำรุง
No. 8 Moo 11 ชุมชนบ้านท่าเกวียน
Tambon ไร่ขิง Amphoe Sam Phran Province Nakhon Pathom
Details of access
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม
Tambon ถนนขาด Amphoe Mueang Nakhon Pathom Province Nakhon Pathom ZIP code 73000
Tel. 0 34034 0351
Website www.m-culture.go.th/nakhonpathom
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่