ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 28' 35.2826"
8.4764674
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 36' 40.819"
98.6113386
เลขที่ : 197236
การทำน้ำตาลเหนา
เสนอโดย พังงา วันที่ 11 กันยายน 2565
อนุมัติโดย พังงา วันที่ 11 กันยายน 2565
จังหวัด : พังงา
0 572
รายละเอียด

ข้อมูลทั่วไปของ "ต้นเหนา"

“ต้นเหนา”หรือ“ต้นชก”เป็นต้นไม้พื้นถิ่นที่พบได้ในจังหวัดพังงา มีลักษณะคล้ายต้นปาล์ม มักขึ้นตามแนวภูเขาหิน มีลำต้นตรง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าต้นตาล สูงประมาณ ๒๐ - ๒๕ เมตร ใบยาวประมาณ ๓ เมตร มีลักษณะคล้ายใบมะพร้าวแต่ใหญ่กว่าและแข็งแรงกว่า ก้านใบ ทางใบ เหยียดตรงกว่ามะพร้าว มีรกสีดำตามกาบใบหนาแน่น ต้นเหนาแต่ละต้นใช้เวลาถึง ๒๕ ปี ถึงจะสามารถให้คนเก็บลูกเหนา หรือ ลูกชก ไปกินได้ ซึ่งกล่าวได้ว่า“ปลูกรุ่นพ่อ ได้เกินรุ่นลูก”

ผลิตภัณฑ์ลูกเหนา

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เนื่องจากหากินได้ยาก เป็นพืชตามฤดูกาล และไม่ได้มีปริมาณเยอะ ชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา นำลูกเหนามาแปรรูปโดยการต้มเพื่อทำเป็นของหวาน หรือนำไปประกอบเป็นอาหารต่อไป

ต้นเหนาเป็นไม้ที่มีความสูงทำให้การปีนขึ้นไปเก็บน้ำตาลดูค่อนข้างเป็นเรื่องที่น่าหวาดเสียวสำหรับคนทั่วไป สมัยก่อนชาวบ้านจะใช้เถาวัลย์หรือเชือกมาพาดตัวเพื่อปีนขึ้นไปบนต้นเหนา ปัจจุบันชาวบ้านจะทำกระบอกไม้ใผ่แล้วค่อยปีนขึ้นไปเก็บ

ต้นเหนาจะมี “พวงดอก” ที่แยกออกมาจาก “ทลายลูกเหนา” โดยปกติลูกเหนาจะออกมาก่อน แล้วถึงจะมีพวงดอกออกตามมาทีหลัง การที่จะรู้ว่าต้นเหนาสามารถเก็บน้ำตาลได้หรือไม่ คนเก็บต้องปีนขึ้นไปเพื่อปาดก้านช่อดอก ถ้ามีน้ำไหลออกมาเยอะ แสดงว่าเก็บได้ จากนั้นชาวบ้านก็จะนำกระบอกไม้ไผ่หรือถังน้ำมารับน้ำหวาน

ช่วงเวลาการเก็บน้ำตาลจากต้นเหนา

ชาวบ้านจะเก็บเกี่ยวน้ำหวานจากต้นเหนา วันละ ๒ ครั้ง คือ ช่วงเช้า - เย็น (ช่วงเช้า เวลาประมาณ ๖.๓๐ น. และช่วงเย็น เวลาประมาณ ๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น.) โดยสามารถเก็บได้ทุกวันในช่วงระยะเวลาประมาณ ๑ เดือน

ขั้นตอนการทำน้ำตาลเหนา

๑. เก็บน้ำตาลเหนาจากต้นเหนา

๒. นำน้ำตาลเหนามากรองเพื่อไม่ให้เศษไม้หรือแมลงลงไปในกระทะ

๓. ตั้งกระทะบนเตาไป

๔. เมื่อน้ำเหนาเดือดแล้วจะเกิดฟอง ใช้ที่กรองตักฟองออก

๕. เมื่อน้ำเหนาที่ต้นเริ่มเปลี่ยนสี นำไม้กวนมากวนเพื่อไม่ให้น้ำตาลไหม้

๖. ทำแว่นใส่น้ำตาลเหนา

๗. จัดเรียงแว่นสำหรับหยอดน้ำตาลเหนา

๘. ตักน้ำตาลเหนาใส่ภาชนะจากกะลามะพร้าว

๙. หยอดน้ำตาลเหนาใส่ในแว่นที่จัดเรียงไว้

๑๐. เมื่อหยอดเสร็จแล้ว รอให้น้ำตาลเหนาแห้ง

๑๑. เมื่อน้ำตาลเหนาแห้งแล้ว นำมาเรียงเพื่อบรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ต่อไป

วิธีแปรรูปน้ำตาลจากต้นเหนา

น้ำตาลจากต้นเหนาสามารถกินได้แบบสด ๆ นอกจากนั้นน้ำตาลสดที่ผ่านการเคี่ยว ประมาณ ๓ ชั่วโมง สามารถนำไปทำเป็นน้ำตาลผง ไว้สำหรับทำอาหาร หรือได้เป็นน้ำหวานเพื่อมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป

การนำไปประกอบอาหาร

อาหารหวาน

- ขนมครกลูกเหนา

- บัวลอย

- น้ำแข็งใส

- นมเย็น

- น้ำเฉาก๊วย

- กาแฟสด

อาหารคาว

- แกงส้มลูกเหนา

- ฯลฯ

สถานที่ตั้ง
ชุมชนบ้านคลองบ่อแสน
หมู่ที่/หมู่บ้าน 3
ตำบล บ่อแสน อำเภอ ทับปุด จังหวัด พังงา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายยอดชาย เทพสุวรรณ์
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา อีเมล์ phangngaculture@hotmail.com
ถนน เพชรเกษม
ตำบล ท้ายช้าง อำเภอ เมืองพังงา จังหวัด พังงา รหัสไปรษณีย์ 82000
โทรศัพท์ 0 7648 1596 โทรสาร 0 7648 1595
เว็บไซต์ https://www.m-culture.go.th/phangnga
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่