วัดจุฬาวิเวก
หมู่ที่ ๒ บ้านซ่ง ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคาชะอี จังหวัดมุกดาหาร
๑. ชื่อข้อมูลวัดจุฬาวิเวก
๒. รายละเอียดข้อมูล
๒.๑ ประวัติความเป็นมา/สภาพทั่วไปประวัติความเป็นมาพระอธิการพรชัย จันฺทวังโส เจ้าอาวาสวัดจุฬาวิเวก ได้ให้ข้อมูลว่า เดิมทีบ้านซ่งตั้งอยู่ที่บริเวณทุ่งนาห่างจากวัดจุฬาวิเวกออกไป ประมาณ ๕๐๐ เมตร แต่ด้วยตอนนั้นเกิดโรคระบาด จึงได้ย้ายมาอยู่ในพื้นที่ปัจจุบันพร้อมกับสร้างวัดจุฬาวิเวกขึ้น ซึ่งตั้งชื่อตามผู้นำสร้างวัด คือ พระจุฬา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๑๙ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือจรดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้ จรดที่นา นายคำผล รัตนวงค์ ทิศตะวันออก จรดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตก จรดทางสาธารณประโยชน์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐ บ้านซ่ง หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหารการบริหารการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม ดังนี้
รูปที่ ๑ พระจุฬา พ.ศ. ๒๓๐๑ - ๒๓๒๐
รูปที่ ๒ พระบุญมา พ.ศ. ๒๓๒๑ - ๒๓๔๕
รูปที่ ๓ พระสาร พ.ศ. ๒๓๔๕ - ๒๓๗๐
รูปที่ ๔ พระอ่อน พ.ศ. ๒๓๗๐ - ๒๓๙๕
รูปที่ ๖ พระโกฏิ พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๕๕
รูปที่ ๗ พระพา พ.ศ. ๒๔๕๕ - ๒๔๗๕
รูปที่ ๘ พระบัว พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๐๐
รูปที่ ๙ พระอธิการลม ปญฺญาวีโร พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๓๒
รูปที่ ๑๐ พระอธิการพรชัย จันฺทวังโส พ.ศ. ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน
สภาพทั่วไปวัดจุฬาวิเวกบ้านซ่ง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านภายในบริเวณวัดประกอบด้วยเสนาสนะต่างๆ ได้แก่ อุโบสถหลังใหม่ อุโบสถหลังเก่า ศาลาอเนกประสงค์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ หอกลอง หอระฆัง และมีศูนย์เด็กเล็ก อยู่ภายในบริเวณวัดด้วย
๒.๒ เส้นทางเข้าถึงออกเดินทางจากอำเภอคำชะอี ตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๔๒ (อำเภอคำชะอี-อำเภอเมืองมุกดาหาร) ประมาณ ๒ กิโลเมตร จะพบทางแยกทางขวามือ เลี้ยวขวาเข้าสู่บ้านซ่ง วัดจุฬาวิเวกบ้านซ่งจะอยู่ทางขวามือของถนนหลักเข้าสู่หมู่บ้าน
๒.๓ เสนาสนะที่สาคัญอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ภายในวัดทางทิศตะวันออก ตัวอุโบสถหันไปทางทิศใต้ ตัวอุโบสถเป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูนขนาด ๔ ห้อง บนชุดฐานบัวลูกแก้ว โดยห้องแรกเป็นโถงมีราวระเบียงโดยรอบ ราวระเบียงทำเป็นช่องวงโค้งขนาดเล็กเป็นช่วงๆโดยตลอด ด้านหน้าห้องแรกทำเป็น ๓ ช่วงเสา ช่วงเสากึ่งกลางเป็นช่องบันไดทางขึ้น บันไดทางขึ้นด้านหน้ามีราวบันไดเป็นรูปพญานาคทอดตัวตามราวบันได หัวพญานาคอยู่ราวบันไดชั้นแรก ส่วนหางพญานาคอยู่ราวบันไดชั้นบน ส่วนบนของแต่ละช่วงเสาทำเป็นซุ้มรูปปีกกา เหนือซุ้มปีกกาเขียนศักราชที่สร้างไว้ว่า "พ.ศ. ๒๔๙๒” หน้าบันด้านหน้ากึ่งกลางทำเป็นรูปธรรมจักร ทาสีเหลืองภายในกรอบห้าเหลี่ยม สองฝากข้างทำเป็นดอกไม้สี่กลีบทาสีประดับกระจก ผนังโถงห้องแรกก่อนเข้าสู่ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างท้องถิ่น ทางซ้ายวาดเป็นภาพพระพุทธประวัติตอนปฐมเทศนา ใต้ภาพเขียนรายนามผู้บริจาค ซ่อมอุโบสถหลังเก่า และระบุศักราชซ่อมไว้ว่า "พ.ศ. ๒๕๔๙” ทางขวามือเป็นภาพเวสสันดรชาดก ประตูทางเข้าเป็นไม้แบบ ๒ บานเปิดออก เหนือกรอบประตูทาเป็นรูปบุคคลยืนไขว้ขาอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว ภายในอุโบสถมีขนาด ๓ ห้อง ๒ ห้องแรกมีหน้าต่างไม้แบบ ๒ บานเปิดออกทั้งสองข้าง ห้องสุดท้ายไม่ทำหน้าต่าง แต่ทำเป็นช่องลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านละ ๓ ช่อง ภายในกรอบสี่เหลี่ยม ภายในมีพระประธานปูนปั้นบนฐานชุกชี ผนังด้านหลังปิดทึบ ส่วนกึ่งกลางหน้าบันด้านหลังทำเป็นรูป หยิน - หยาง มีดอกไม้ ๔ กลีบ ประดับกระจก ประดับทั้งสองฝากข้าง เครื่องหลังคาซ่อมแซมใหม่มุงด้วยกระเบื้องดินขอ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ รูปแบบการก่อสร้างได้รับอิทธิพลตะวันตก
๓. คาสาคัญวัดจุฬาวิเวกบ้านซ่ง
๔. สถานที่ตั้งวัดจุฬาวิเวก อยู่หมู่ ๒ บ้านซ่ง ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
๕. ผู้ให้ข้อมูลพระอธิการพรชัย จันฺทวังโส เจ้าอาวาสวัดจุฬาวิเวก ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
๖. หนังสืออ้างอิงหนังสือรายงานสำรวจแหล่งโบราณคดีและโบราณสถานในจังหวัดมุกดาหาร โครงการสำรวจและขุดค้นโบราณคดีเพื่อศึกษาแหล่งผลิตกองมโหระทึกในพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงตอนกลาง ปี พ.ศ.๒๕๕๖ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม