ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 5' 41.573"
14.0948814
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 10' 19.6514"
101.1721254
เลขที่ : 197255
ศิลปะการแสดงลำตัด
เสนอโดย นครนายก วันที่ 12 กันยายน 2565
อนุมัติโดย mculture วันที่ 30 กันยายน 2565
จังหวัด : นครนายก
2 2016
รายละเอียด

ศิลปะการแสดงลำตัด การศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่ปรากฏอยู่ใน ตำบลศรีจุฬา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก คณะลำตัด ส.รวมสิงห์ เป็นคณะลำตัด ในพื้นที่ตำบลศรีจุฬา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยได้มีการเริ่มการละเล่น มาตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๐๐ โดยมีผู้ก่อตั้งคณะคือ ผู้ใหญ่สำเนียง แม่สะอิ้ง พ่อสมัย พ่อสนั่น โดยชื่อรวมส. นั้นมาจากชื่ออักษรตัวแรกของผู้ก่อตั้ง จนกลายเป็นชื่อ ส.รวมสิงห์ ซึ่งมีนายอำเภอสมัยนั้นเป็นผู้ตั้งให้ และมีผู้เล่นมาจากชาวบ้านหลายหมู่บ้าน ในตำบลศรีจุฬามาร่วมเล่นด้วย โดยการแสดงลำตัดในตำบลศรีจุฬานั้นนั้น จะนิยมเล่นกันในงานบวช งานครบรอบ งานศพ แต่จะนิยมเล่นกันมากที่สุดในงานร้อยวัน

ลำตัด เป็นศิลปะการแสดง ที่มาจากลิเกบันตนของมลายู คำว่าลำตัดนั้น คำว่าลำ มีความหมายว่าเพลงส่วนคำว่าตัด ก็คือแยก ดังนั้น คำว่าลำตัด จึงหมายถึงการนำเพลงประเภทต่าง ๆ เป็นบางตอนจากบทเพลงมาร้องต่อกันเรื่อย ๆ เช่น ว่าเพลงอีแซว แล้วต่อด้วยเพลงฉ่อย ลำตัดจะมีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับริมฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง ซึ่งจะมีทั้ง บทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ความบันเทิงกัน สำนวนกลอนจะมีนัยยะออกเป็นสองแง่ เนื้อร้องมักจะปรับใช้ให้เข้ากับโอกาสและลักษณะของงานแสดง โดยเวลาแสดงลำตัดจะรำและโยกตัวไปมาขณะรำมะนาตี ลักษณะของกลอนลำตัดมีปะปนกันหลายชนิด กลอนเพลงที่ใช้อาจจะมีการแต่งขึ้นในขณะที่เล่นหรือเตรียมการมาก่อน ในบางครั้งอาจนำเอาความสามารถพิเศษต่าง ๆ ของผู้แสดงมาแสดงแทรกเข้าไปด้วยเล็กน้อยเพื่อความสนุกสนานมากขึ้น เครื่องดนตรีที่ใช้คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง และ กรับ วิธีการแสดงนั้นจะเริ่มการแสดงด้วยโหมโรงก่อน โดยการโหมโรงจะใช้กลองรำมะนาในการให้จังหวะ ไม่มีเนื้อร้อง โดยจังหวะของกลองนั้นจะโหมโรงทั้ง ๑๒ ภาษา จะเรียงไปตั้งแต่ทำนองเรียบ ทำนองจำปาเทศ ทำนองปรบไก่ ทำนองพม่า ทำนองลาว ทำนองมอญ ทำนองเขมร ทำนองญวน ทำนองเจ๊ก ทำนองโยน ทำนองฝรั่ง ทำนองแขกและลงกลอง โดยความยาวของทำนองรำมะนาจะยาวเท่าไหร่นั้น แล้วแต่ความพึงพอใจของผู้เล่น โดยจะใช้กลองรำมะนาจำนวน ๔-๕ ใบ และจะใช้ ๑ ใบในการเป็นลูกขัดจังหวะ จากนั้นจึงค่อยส่งสร้อยให้ลูกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความว่า เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้ากับจังหวะการร้องรับ ซึ่งก่อนจะจบการแสดงก็จะร้องอำลาแก่เจ้าภาพ ผู้ชม ผู้ฟัง โดยการอำลานั้นจะใช้เพลงอะไรก็ได้ ลำตัดนั้นเป็นศิลปะการแสดงที่สามารถพบเห็นได้ในภาคกลาง โดยการแสดงนั้นมีจุดประสงค์เพื่อความสนุกสนาน เฮฮา ใช้แสดงในงานรื่นเริงทุกชนิด จนกระทั่งงานศพ หรืองานพิธีบนบานศาลกล่าว ในสมัย โบราณนั้น ลำตัดนอกจากจะเป็นศิลปะการแสดงเพื่อความสนุกแล้ว คนโบราณยังมีความเชื่อว่าการเล่นลำตัดสามารถขจัดสิ่งไม่ดีได้ด้วย เนื่องจากเมื่อมีการบนบานศาลเกล่าเกิดขึ้น ก็มักจะใช้การเล่นลำตัดใน การแก้บนถวาย

การเล่นลำตัดจึงมิใช่เพียงแค่การแสดงแค่ความสนุกสนานเท่านั้น แต่ยังแฝงไปด้วยการแสดงถึงวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ความสามัคคีของคนในชุมชน และได้สะท้อนถึงตัวตนและการดำเนินชีวิตของคน ในพื้นที่นั้น ๆ ส่งผ่านเป็นบทเพลง บทกลอน จังหวะดนตรีและท่วงท่าในการร่ายรำได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ
ลำตัด
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 21 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 บ้านศรีจุฬา
ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสนั่น โชติสวัสดิ์
เลขที่ 21 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2 บ้านศรีจุฬา
ตำบล ศรีจุฬา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000
โทรศัพท์ 0869910764
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่