ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 35' 5.258"
13.5847939
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 13' 53.4904"
100.2315251
เลขที่ : 197361
ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบของชาวมอญน้ำเค็มสมุทรสาคร
เสนอโดย สมุทรสาคร วันที่ 14 กันยายน 2565
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 18 เมษายน 2567
จังหวัด : สมุทรสาคร
1 260
รายละเอียด

ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ จัดขึ้นตรงกับเทศกาลสงกรานต์ของชาวพุทธ ประเพณีแห่หงส์ธงตะขาบ ที่วัดเกาะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร จะจัดขึ้นทุกวันที่ ๑๕ เมษายน ในทุก ๆ ปี ในตอนเช้าจะนำธงตะขาบใส่พานนำมาถวายให้แก่เจ้าอาวาส หลังจากนั้นก็ทำบุญตักบาตร ตามประเพณี ก่อนเริ่มแห่จะไปที่ศาลศักดิ์สิทธิ์เพื่อบอกกล่าวการจัดงานประเพณีแห่หงส์-ธงตะขาบ ไม่ว่าลูกหลานในชุมชนจะบวชก็ต้องมีการบอกกล่าวศาลศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนก่อน เพื่อบ่งบอกถึงความเคารพบรรพบุรุษของคนในชุมชน เมื่อถวายเรียบร้อยแล้วจึงนำมาออกมาแห่รอบโบสถ์ จำนวน ๓ รอบ ทั้งยังมีกลองยาวเพื่อสร้างความรื่นเริงให้กับคนในชุมชน คนในชุมชนจะแต่งกายเป็นชุดประจำชาติมอญอีกด้วย เมื่อแห่ครบ ๓ รอบ หลังจากนั้นนำธงตะขาบไปขึ้นเสาหงส์หน้าโบสถ์ ในเวลา ๑๐.๐๐ น.

ลักษณะธงตะขาบ ของชาวมอญ กล่าวว่า ทางธรรม กล่าวว่าทุกส่วนของ ตัวตะขาบนั้น คนมอญตีความออกมาเป็นปริศนาทั้งสิ้นกล่าว

๑. หนวด ๒ เส้น ได้แก่ ธรรมที่มีอุปการะมาก ๒ อย่าง ดังนี้

- สติ คือ ความระลึกได้

- สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว

๒. เขี้ยว ๒ เขี้ยว ได้แก่

- หิริ คือ ความละอายแก่ใจเมื่อทำความเชื่อ

- โอตัปปะ คือ ความเกรงกลัวเมื่อทำบาป

๓. ตา ๒ ข้าง หมายถึง บุคคลที่หาได้ยาก ๒ ประเภท คือ

- บุพการี คือ บุคคลที่ให้อุปการะมาก่อน

- กตัญญูกตเวที คือ บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำมาแล้ว และทำตอบแทนท่าน

๔. ลำตัว ๒๒ ปล้อง ได้แก่

- สติปัฏฐาน ๔ คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

- สัมมัปปทาน ๔ (ปทาน) คือ ความเพียร ความเพียรที่ชอบ

- อิทธิบาท ๔ คือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จคือ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย

- อินทรีย์ ร คือ ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พละ

- พละ ๕ คือ เพราะหมายถึงเป็นพลังทำให้เกิดความมั่นคง ซึ่งความไร้ศรัทธา แต่ละอย่าง จะเข้าครอบงำไม่ได้

๕. ช่องลม ๔๕ ช่อง หมายถึง จำนวนพรรษาที่พระพุทธเจ้าประกาศธรรม

๖. ช่วงช่องลม ๙ ช่อง ได้แก่

- มรรด ๔ คือ การปฏิบัติที่คำเนินไปถูกต้องจนถึงขีดสูงสุดในขณะที่จะตัดกิเลสได้

- ผล ๔ (สามัญผล) คือ ภาวะแห่งจิต ที่เกิดขึ้นหลังจาก มรรดจิต ได้ทำหน้าที่ตัด สังโยชน์แล้ว

- นิพพาน 1 (อสังขตธาตุ) คือ สภาวะที่สิ้นกิเลสและทุกข์ทั้งปวง สภาวะที่ปราศจาก ตัณหา

๗. ขาตะขาบ ๔๐ ขา ได้แก่

- กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ทางแห่งการกระทำอันเป็นอกุศล ทางแห่งการกระทำชั่ว

- บุญกริยาวัตถุ ๑๐ คือ ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ทางทำความดี

- นารถกรณะธรรม ๑๐ คือ ธรรมอันกระทำที่พึ่ง ธรรมสร้างที่พึ่ง

- อนุสติ ๑๐ คือ ความระลึกถึง อารมณ์อันควรระลึกถึงเนื่อง ๆ

๘. หาง ๒ หาง ได้แก่

- ขันติ คือ ความอดกลั้น

- โสรัจจะ คือ ความสงบเสงี่ยมเจียมตัว

๙. ภู่หาง เป็นเครื่องแสดงถึงความคารพและศรัทธาสูงสุด

จากการที่ชาวมอญเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอย่างเคร่งครัด สิ่งใดที่เป็นการกระทำเพื่อพุทธศาสนาแล้ว ชาวมอญจะต้อนรับเสมอดังเช่นธงตะขาบที่มีตำนานเล่าขานกันมาละเมื่อทำธงตะขาบ แล้วก็จะนำขึ้นแขวนบนเสาหงส์ เพื่อบูชาและเฉลิมฉลองเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากดาวดึงส์เทวโลก ในงานฉลองงานบุญ การกุศลชาวรามัญจะใช้เสาหงส์และธงตะขาบคู่กัน

ประเพณีแห่ธงตะขาบเป็นกุศโลบายที่แสดงออกถึงความเชื่อในเรื่องชีวิตหลังความตายและความกตัญญูต่อบรรพบุรุษโดยมีศาสนาเป็นตัวเชื่อมประสานความเชื่อ อีกทั้งเป็นเป็นประเพณีที่รวบรวมคนในชุมชน มาร่วมแรงร่วมใจกันทำธงตะขาบและสร้างความสามัคคี ทั้งยังสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในชุมชน เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการจัดประเพณีฯ แล้วจะนำเงินที่เหลือทำบุญเข้าวัด เพื่อให้ทางวัดนำไปสร้างประโยชน์ต่อไป

สถานที่ตั้ง
วัดเกาะ
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล บ้านเกาะ อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง กมลลักษณ์ เหลืองขมิ้น
เลขที่ 1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ตำบล บ้านเกาะ อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000
โทรศัพท์ 0899211283
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่